ทุกสายการบินจะมีข้อมูลการเดินทางของแต่ละช่วงเวลา ในแต่ละเส้นทางอยู่ในมือ นั่นคือสายการบินจะรู้ว่า ในแต่ละช่วงเวลาของปี แต่ละเส้นทางควรจะเปิดที่นั่งขายประมาณเท่าไร พอจะโอเวอร์บุ๊คได้กี่ที่นั่ง ที่ผ่านมามีคนแคนเซิลหรือโนโชว์ หรือแม้แต่โกโชว์ ขนาดไหน มีสัดส่วนตั๋วราคาเต็มที่เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขได้ง่าย ๆ ได้มากน้อยขนาดไหน คนที่จองเป็น Individual กรุ๊ปทัวร์ หรือ Corporate ที่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงการเดินทางมากน้อยขนาดไหน ........... ทุกวันนี้สายการบินถึงบังคับให้เราต้องออกตั๋วและจ่ายเงินก่อนวันเดินทาง 7-10 วัน เพื่อทื่จะได้มา manage ตรงนี้ได้ง่ายขึ้น อย่างน้อยเงินเข้ากระเป๋ามาแล้ว ที่เหลือค่อยไปว่ากันอีกที
คนที่ปล่อยที่นั่ง Overbook ตรงนี้ออกมาคือ Reservation และ Space Control ซึ่งก็มักจะต้องตบตีกับฝ่ายปฎิบัติการที่สนามบินเป็นประจำแหละครับ ว่าทำไม ปล่อยที่นั่งเกินมาเยอะขนาดนี้ ถ้าเครื่องรับไหว อัพเกรดได้ ก็ดีไป แต่ถ้าไม่ไหว พนักงานสนามบินก็จะมีวิธีแก้ไขดังนี้ครับ
1. โอนให้สายการบินอื่น
2. อัพเกรด
3. หา Volunteer ที่พร้อมจะไปไฟลทต่อไป พร้อมเสนอโรงแรมและ Pocket Money ให้ หรือบางทีก็คอนเฟิร์มการอัพเกรดในไฟลท์ต่อไปให้เลย
จริง ๆ หลายคนชอบแบบที่สามนะครับ และพวกเดินทางบ่อยจะใช้มุกนี้ประจำ ไปช้า ๆ รอลุ้นโวลันเทียร์ พวกเส้นทางแน่น ๆ แถวๆ Transatlantic จะเห็นประจำ .. เพราะว่าถ้ามีตั๋วที่ระบุวันเดินทางนั้น ๆ อยู่ในมือ พร้อมกับการยืนยันสถานะ OK อยู่แล้ว แต่มีท่าทีว่าจะไม่ได้ขึ้นเครื่องเนี่ย อำนาจต่อรองอยู่ในมือแล้วครับ
.... ผมเคยไป Supervise Ground Handling ไฟลท์หนึ่งที่ดอนเมือง เครื่อง 757 ไปได้แค่ 150Y แต่มี Record มา 157 คน .... โผล่มาเช็คอิน 150 พอดี แต่ดันมีผู้โดยสารขาเข้าคนนึงเข้าประเทศไม่ได้เพราะมีปัญหาวีซ่า เลยต้องตีกลับทันที ผู้โดยสารเลยกลายเป็น 151 .... ไม่รู้จะทำไงดี ก็เลยจับคนที่จะถูกส่งกลับไปนั่งใน Cockpit ซะเลย 55555.... แล้วพอเครื่อง Pushback ออกไปปั๊บ มีผู้โดยสารวิ่งมาสองคน ถือตั๋ว OK มาซะด้วย แต่พอดีเครื่องสายการบินที่เค้านั่งเพื่อมาต่อไฟลท์นี้มันดีเลย์ เลยมาขึ้นไฟลท์นี้ไม่ทัน .... ผมก็รอดไป ...
ซึ่งเคสข้างต้นนี่ก็จะไปตอบประเด็นว่าแล้วสายการบินที่เป็นคนพาเข้ามาสายเนี่ย ต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง.... เคยเห็นถามกันในนี้หลายครั้งแล้ว .....คำตอบคือ ถ้าผู้โดยสารที่โดยสารมากับเที่ยวบินหนึ่ง ๆ แล้วพลาดเที่ยวบินต่อไปที่มีตั๋วอยู่ในคูปองเล่มเดียวกับไฟลท์ที่นั่งมา เพราะเกิดการดีเลย์ใน Sector ก่อนหน้านี้ สายการบินที่พามาถึงสายต้องรับผิดชอบครับ
เช่น
ผมบินไปแมนเชสเตอร์ ถือ ตั๋วการบินไทย นั่ง TG ไป แฟรงค์เฟิร์ต แล้วต่อ LH ไป แมนเชสเตอร์ โดยตั๋วทั้งสองใบมาจาก Booking เดียวกัน อยู่ในเล่มเดียวกัน ถ้าการบินไทยดีเลย์ จนผมไปขึ้น LH ไม่ทัน การบินไทยต้องรับผิดชอบ
แต่ถ้าผมซื้อตั่ว TG ไปแค่แฟรงค์เฟิร์ต แล้วมีตั๋วไปแมนเชสเตอร์อีกใบของโลว์คอสต์หรือสายการบินอื่น ๆ ซึ่งซื้อมาเองจากในเนตเพราะมันถูกกว่าแบบข้างต้นหรือเพราะอะไรก็ตาม แบบนี้ถ้าการบินไทยดีเลย์จนไปขึ้นไฟลท์ต่อไปแมนเชสเตอร์ไม่ทัน การบินไทยไม่ต้องรับผิดชอบนะครับ เพราะการบินไทยพาคุณไปถึงแฟรงค์เฟิร์ตแล้ว มันหมดหน้าที่เค้าแล้วครับ เค้าจะดูแลก็ที่กรุงเทพตอนแรกเท่านั้น ถ้าต้องดีเลย์ข้ามคืน ก็จะต้องหาที่อยู่ให้ หาอาหารให้ ถ้าวีซ่าขาดก็ต้องจ่ายเงินค่าต่อให้ แต่เมื่อไรที่ถึงจุดหมายปลายทาง แม้จะสาย ก็ถือว่าจบหน้าที่ครับ .... นี่คือตามทฤษฎีนะครับ แต่ในทางปฎิบัติ ส่วนใหญ่ก็จะช่วยเท่าที่ทำได้ ผมถึงไม่ค่อยแนะนำให้ใครซื้อตั๋วแยกหลาย ๆ ใบ ในการเดินทางแบบต่อเนื่อง เพราะโอกาสแจ๊คพอตมันมี ยิ่งถ้าสายการบินแรกไม่รับ Check Through ให้ ก็ยิ่งไปกันใหญ่
ปัญหาพวกนี้ ถ้าเกิดที่สถานีของตัวเองในเส้นทางยอดฮิตก็ไม่เท่าไร เพราะความสะดวกสบายมันเยอะ ไฟลท์ต่อไปก็มีให้เลือกมากมาย การที่มีพันธมิตรต่าง ๆ ก็เป็นช่องให้สายการบินโอเวอร์บุ๊คกันมากขึ้น เพราะสามารถถ่ายเทไปให้สายการบินพันธมิตรได้แบบมีเงื่อนไขน้อยมาก ๆ ก็ช่วย ๆ กันไป เพราะบางทีเราก็ต้องช่วยเค้าเหมือนกัน
ธุรกิจบริการ ส่วนมากมักจะเป็นแบบนี้แหละครับ ต้องมี Overbook ไว้บ้าง ไม่ใช่แค่สายการบิน โรงแรมนี่ก็ประจำเช่นกัน เพราะทุกไฟลท์ที่ออกและทุกคืนที่ผ่านไปคือโอกาสในการสร้างรายได้ของสายการบินและโรงแรม คนจะเต็มหรือไม่ต็ม ต้นทุนก็ไม่ต่างกันมาก ยังไงก็ต้องขอให้เต็มไว้ก่อน ถ้าเกิน ค่อยไปแก้ปัญหาอีกที.........
แก้ไขเมื่อ 24 ก.ค. 49 19:49:35
แก้ไขเมื่อ 24 ก.ค. 49 19:46:33
แก้ไขเมื่อ 24 ก.ค. 49 19:39:21
แก้ไขเมื่อ 24 ก.ค. 49 19:36:29
แก้ไขเมื่อ 24 ก.ค. 49 19:08:07