Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    ใครหยุดอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินของไทย หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

    ห็นและอ่านเรื่องราวการซื้อ การเช่าเครื่องบินโดยสาร เข้ามาใช้กับสายการบินในประเทศแล้ว
    ค่อนข้างหงุดหงิด อดสงสัยไม่ได้ ว่าเกิดอะไรขึ้น ในช่วงระหว่างสงครามอินโดจีน ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
    มาจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง และตั้งแต่นั้น เรื่อยมาจนถึงสงครามเวียตนาม และปัจจุบัน

    หลายคน คงจำได้ว่า ตามประวัติศาสตร์การรบทางอากาศ ระหว่างกองทัพไทย กับฝรั่งเศส ในยุคสงครามอินโดจีนนั้น
    ไทยส่งเครื่องบินรบ ขึ้นสู่ฟ้า ทำลายเครื่องบินฝรั่งเศสไปมากมาย รบจนเข้าไปถึงศรีโสภณ
    และญี่ปุ่นเข้ามาไกล่เกลี่ย ทำให้สงครามสงบลง ไทยยังคงมีดินแดนมากมายทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง

    แต่นั่นไม่ใช่เรื่องที่อยากจะพูดกันตรงนี้

    ผมเพียงแต่สงสัยว่า สมัยนั้น เครื่องบินสร้างกันง่ายง่าย ด้วยไม้ ผ้าใบ ทาโดป อันเป็นน้ำยาเคลือบผ้าใบให้ไม่มีช่องว่างระหว่างใยผ้า
    เครื่องยนต์เครื่องบิน ผมอยากเชื่อว่า ได้มาจากญี่ปุ่น มีมิตซูบิชิเป็นรายใหญ่ที่ผลิตเครื่องยนต์เครื่องบิน ตามด้วยแอร์โรซูบารุ
    เพราะเราคงไม่มีทางได้เครื่องยนต์เครื่องบินของฝรั่งมาได้ง่ายง่ายหรอก ไม่ว่าสมัยใด

    ขีดความสามารถของกรมช่างอากาศไทย สูงระดับสร้างเครื่องบินเองได้ ในสมัยนั้น
    และก็น่าจะพัฒนาต่อเนื่องกันมาจนถึงการผลิตเครื่องบินโดยสารเองได้ ไม่ยากเย็นอะไร
    เพราะเป็นการพัฒนาทีละขั้นทีละตอน แข่งกับบริษัทฝรั่ง ที่ก็ต้องค่อยค่อยเขยิบขึ้นไป

    และคนไทย ก็มีการศึกษาวิชา Aeronautical Engineering ในมหาวิทยาลัย อย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมานานต่อเนื่องกัน
    จนมาหยุดลงราวเมื่อสี่สิบปีนี่เอง

    แต่การชะงักงันของการผลิตเครื่องบิน มาหยุดลงได้อย่างไร
    ใคร ประเทศมหาอำนาจใด มาขวางกั้นความเจริญของการสร้างเครื่องบินในไทย เพราะกลัวอะไรเรา
    และนั่นเอง ทำให้ประเทศไทยหยุดพัฒนาการทางอุตสาหกรรม หันมาพัฒนาการเกษตรกรรม
    ทำให้เราก้าวหน้าไม่ทันโลกอุตสาหกรรม


    ไม่ทันแม้กระทั่งรถยนต์ ที่ไทยก็น่าจะทำได้ หากทำเครื่องบินขับไล่ได้เอง

    เป็นไปได้หรือไม่ ที่ไทยจะถูกสนธิสัญญาลับ หลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง ปิดกั้นความเจริญทางการผลิตอากาศยาน
    สัญญานั้น ร่าง และลงนามโดยประเทศใด ที่ถือว่า เป็นผู้ชนะสงคราม


    เพราะไม่น่าจะเป็นไปได้ ที่กรมช่างอากาศจะหยุดพัฒนาการด้วยตนเอง
    ในช่วงนั้น อุโมงค์ลมยังไม่จำเป็นต้องใช้ ทำไมเราหยุด และหากต้องใช้อุโมงค์ลม เราก็ควรจะทำได้

    ทำไมเราถึงเก่งแค่การซ่อมอากาศยาน

    ดูตัวอย่างจากการทำบริษัทซ่อมอากาศยาน ในช่วงสงครามเวียตนาม
    ที่ไทยโดยการบินไทย หรือ บ.ด.ท.เป็นหุ้นส่วนถึง 70% ส่วนอเมริกัน โดยบริษัทเอกชนภายใต้ความดูแลของ CIA เป็นหุ้น 30%
    แต่ฝรั่งมีสิทธิควบคุม ดำเนินการ ปฏิบัติการ รวมถึงเป็นผู้จัดการฝ่ายทั้งหมด ยกเว้นตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ และกรรมการผู้จัดการ ซึ่ง ก็แทบไม่มีอำนาจ
    มีแต่ดูและฝ่ายบุคคล ที่จ้างคนไทยเข้ามาเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ แต่เป็นตัวจริงในการทำงานทั้งหมด

    ใครรู้ความจริง เกี่ยวกับการหยุดชะงักของพัฒนาการด้านผลิตเครื่องบินของไทย
    ช่วยออกมาพูดกันหน่อยเถิด ผมก็มีชีวิตอยู่ในช่วงกลาง ที่ไม่รู้แน่ชัด แม้จะระแคะระคายอยู่บ้าง
    ก็เลือนรางเต็มทีแล้ว

    จะได้รู้กันไป ว่าชาติใด ชนไหน ทำให้อุตสาหกรรมไทย ต้วมเตี้ยมอยู่แค่นี้มานานปี
    ไปไหนไม่ไหวสักที เพราะค่าลงทุนที่เพิ่มขึ้นมากมาย ทั้งการผลิตเครื่องบิน และรถยนต์

    ที่ห้องท่องเที่ยวของเรา ต้องอาศัยเป็นพาหนะ ในการเดินทางท่องเที่ยวอยู่นี่แหละครับ

    จากคุณ : xebec - [ 15 มี.ค. 51 15:01:53 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom