Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    ------------แอร์บัสกับบทบาท Underdog-----------------

    เมื่ออาทิตย์ก่อนได้รับหลังไมค์มาจากคุณเด็กคนว่าเดี่ยวนี้ไม่ค่อยเข้ามาเล่นใน Blueplanet เลย วันนี้ก็เลยต้องขอแวะเข้่ามาเสนอมุมมองกันอีกสักคราครับ เรื่องสายการบินคงไม่มีข้อมูลมากเท่าคุณเด็กคน ก็คงขอเรื่องที่น่าจะถนัดกว่า คือฝั่งผู้ผลิตเหมือนเดิมครับ


    ----------------------------------------



    ในช่วงหลังปี 2000 เป็นต้นมา การแข่งขันระหว่างแอร์บัสกับโบอิ้งนั้นรุนแรงเหลือเกิน แอร์บัสโกยรายได้เป็นกอบเป็นกำจากการที่ A320 นั้นถูกใจเหล่าสายการบินต้นทุนต่ำมากมายไปหมด โดยหลายสายการบินที่ได้ชื่อว่าเคยเป็น All boeing fleet เช่น แอร์เบอร์ลิน อีซี่เจท หรือแม้แต่ แอร์เอเชียก็ตาม เลือกที่จะผสม Fleet โดยมีตระกูล A320 เข้ามาปะปนกับพวก 737 ที่ใช้อยู่ก่อนนี้ แต่ไม่เลือกที่จะซื้อ B737NG เช่น 738 เข้ามาเพิ่มเติมแต่อย่างใด ตรงนี้่น่าสนใจครับ  โบอิ้งนั้น "หยิ่งและทะนงตน" กับความสำเร็จในอดีตมากเกินไป โบอิ้งเชื่อว่าตนนั้นเป็นที่หนึ่งในอุตสากรรมการบินของโลก และไม่ได้มองว่าแอร์บัสคือคู่แข่งอย่างจริงจังที่แอบสะสมพลังมาอย่างเงียบ ๆ จุดหนึ่งที่มองเห็นได้ชัดเจนคือการที่โบอิ้งเว้นว่างจากการพัฒนาเครื่องบินใหม่ไปนานถึง 12 ปี ก่อนที่จะเริ่มผลักดัน 777 ออกมาสู่ตลาด

    โบอิ้งนั้นไม่ใช่แค่หยิ่ง แต่ระบบงานของโบอิ้งนั้นมีความเป็นฺ Bureaucracy มากเกินไป สิ่งที่โบอิ้งนั้นได้รับการบ่มมาตลอดจากอุตสหากรรมนั้นคือการที่ลูกค้าส่วนมากนั้นต้องมาง้อขอซื้อเครื่องบินจากโบอิ้งจนครั้งหนึ่ีงเคยเกือบ ๆ จะเป็นการผูกขาดโดยเฉพาะยุคเฟื่องฟูของ 737 และ 747 นั่นก็คือโบอิ้งโตมาด้วยแนวคิดแบบกึ่งผูกขาดและการบริหารแบบยุค 60s ครับ โบอิ้งไม่เคยคิดว่าตัวเองต้องการ Sales ที่เก่งกาจอะไรมากมายนัก ฝ่ายขายของโบอิ้งนั้นมีความ Junior มากเกินไปในยุคหลัง ๆ และขาดซึ่งประสบการณ์และความเขี้ยวในเรื่องการต่อรองรวมไปถึงไม่มีอำนาจในการตัดสินใจที่เพียงพอ อำนาจต่าง ๆ ถูกรวมศูนย์ไปบนยอดมากเกินไป

    ในทางกลับกัน แอร์บัสนั้นเกิดมาพร้อมกับ ประกาศนียบัตรแห่งความล้มเหลวของคองคอร์ดที่ถูกตีตรามาแต่แรกหรือจะบอกว่าแอร์บัสเกิดมาก็เป็น Underdog ในทันทีก็ได้ การ "ดิ้นรนและกระเสือกกระสน" ในการเอาตัวรอดจึงมีสูงกว่า มากถึงขนาดที่ต้องเอาเครื่องบิน A300 ไปให้เค้าลองใช้กันฟรีๆ ก่อน ฝ่ายขายของแอร์บัสมีตั้งแต่ระดับ Director CEO ไปจนถึงประธานาธิบดีฝรั่งเศส และถ้ามองให้ลึกกันจริง ๆ ผมเชื่อว่า การเจรจาต่อรองของคนยุโรปนั้นมีชั้นเชิงและศิลปะที่สูงกว่าแบบอเมริกันที่เน้นการตรงไปตรงมาเป็นหลักมากกว่า สายการบินหลายสายรู้สึกเชื่อมั่นมากกว่าที่่ได้พบกับระดับ CEO ของแอร์บัสในขณะที่โบอิ้งส่งแค่ Senior sales executive มาพบ

    ความเป็น Underdog ของแอร์บัสทำให้องค์กรแห่งนี้มีความดิ้นรนสูง ไม่เคยรู้ว่าหอคอยงาช้างหรือเสือนอนกินนั้นเป็นอย่างไร แต่แอร์บัสโชคดีมากกับ A320 A330 ที่ทำให้แอร์บัสเกิดอย่างจริงจัง โบอิ้งเองก็เริ่มรู้ปัญหาแล้วเช่นกันว่าในองค์กรของตนนั้นมีปัญหาอย่างไร โบอิ้งมีคนเก่งเยอะทั้งทางด้านวิศวกรและการบริหาร แต่คนเหล่านั้นโดยเฉพาะฝ่ายธุรกิจมักเป็นพวก "Business school type" คือทำงานตาม Principle เป็นหลักและมีความโอนอ่อนน้อยก็เป็นอุปสรรคที่โบอิ้งจะต้องก้าวข้ามไปให้ได้อย่างรวดเร็ว และนั่นอาจหมายถึงการถ่ายเลือดองค์กรใหม่ การปรับองค์กรให้มีขนาดเล็กลง ซึ่งตอนนี้โบอิ้งได้เริ่มทำแล้ว ผลงานที่ชัดเจนมากที่สุดคือ B787 ที่โบอิ้งได้เปลี่ยนบทบาทจากผู้ผลิตมาเป็นแค่ผู้ประกอบเท่านั้น เราอาจจะเรียก B787 ว่า Japanese plane ก็ยังได้ เพราะชิ้นส่วนหลัก ๆ ของ B787 นั้นมาจาก MItsubishi Fuji และ Kawasaki เป็นหลัก

    โดยส่วนตัวผม ผมมองว่าเมื่อห้าปีที่แล้วโบอิ้งเคยเรียกได้ว่าซวนเซไปเลยกับการโหมกระหน่ำของ Underdog อย่างแอร์บัส บวกไปกับการที่ตัวเองนั้นมี Product portfolio ที่ไม่สมดุลอย่างมาก 737 747 757 767 นั้นเก่าและอิงเทคโนโลยียุค 70s มากเกินไปที่จะต่อกรกับ Advanced airplane ของแอร์บัส   787 เป็นส่วนหนึ่งที่จะเข้ามาปรับช่องว่างบนเชลฟ์ของโบอิ้งให้สมดุลมากขึ้น เพราะจะเข้ามาอุดช่องว่างของ 767 ได้ ในขณะที่ 757 ก็จะถูกรับหน้าที่แทนโดย 737NG ทั้งหลายที่เรียกได้ว่ามีขนาดไม่ผิดกันมากนัก ตอนนี้ความได้เปรียบอาจจะกลับมาอยู่ที่โบอิ้งอีกครั้ง สิ่งที่โบอิ้งควรจะรีบทำอย่างยิ่งคือเมื่อ 787 ออกสู่ตลาดในปีหน้า แผนการพัฒนาตัวแทนของ 737 ต้องรีบทำออกมาในทันที เพราะ Fuselage อายุสามสิบปีของ 737 มันหมดสภาพในการแข่งขันแล้ว ไม่ว่าจะในเรื่องของ Comfort และ Functional ต่าง ๆ

    สำหรับแอร์บัส จากที่เคยยิ้มย่องเมื่อ 5 ปีที่แล้ว วันนี้แอร์บัสมีแนวโน้มสูงที่จะต้องกลับมาเป็น Underdog อีกครั้ง ด้วยปัญหาของ A380 และการเสื่อมถอยของ A330  แต่แอร์บัสในวันนี้ไม่เหมือนครั้งก่อน วันนี้แอร์บัสกลายเป็นบริษัทจดทะเบียนที่ต้องมีที่มาที่ไปชัดเจน ไม่สามารถรับเงินอุดหนุนได้ง่าย ๆ จากรัฐบาลอีกต่อไป ข้อตกลงในปี 1992 ระหว่าง EU และ US ก็ระบุไว้ชัดเจนว่าจะต้องมีการจำกัดการสนับสนุนทางการเงินให้กับธุรกิจการบิน เพื่อรักษาความเป็นธรรมในการแข่งขัน และวันนี้แอร์บัสเองก็มีบริษัทแม่เป็นรูปเป็นร่างอย่างชัดเจน ไม่ใช่แค่ต่างคนต่างทำแล้วขนมาประกอบอีกต่อไป เพราะทั้ง ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน ได้เปลี่ยนสภาพจาก Supplier เมื่อสามสิบปีก่อนมาเป็น Partner ที่มีผลประโยชน์มาเกี่ยวข้องมากขึ้น การเมืองภายในระหว่างเยอรมันกับฝรั่งเศสก็เริ่มรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่มีใครยอมใครง่าย ๆ อีกต่อไป

    ช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้และปีหน้าเป็นช่วงที่น่าจับตามองอย่างยิ่งครับสำหรับแอร์บัส

    แก้ไขเมื่อ 04 ส.ค. 51 00:42:11

    จากคุณ : shion - [ 3 ส.ค. 51 19:40:05 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom