Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
update เหตุการณ์ Tsunami ถล่ม ญี่ปุ่น{แตกประเด็นจาก E10349333} ติดต่อทีมงาน

http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E10330615/E10330615.html

http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E10331198/E10331198.html

http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E10332537/E10332537.html

http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E10333940/E10333940.html

http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E10339189/E10339189.html

http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E10347586/E10347586.html

http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E10349333/E10349333.html

เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจสำหรับเพื่อนๆ ที่ประสงค์จะเดินทางไปท่องเที่ยวญี่ปุ่นค่ะ

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์-สารกัมมันตรังสี: คำถาม คำตอบ และข้อสงสัย

credit: .matichon.co.th
ที่มา: ศูนย์สื่อมวลชนด้านวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่น (Science Media Centre of Japan)

ถาม: ระดับสารกัมมันตภาพรังสีที่รั่วไหลออกมาจากโรงไฟฟ้า มีปริมาณมากพอที่จะก่อให้เกิดอันตรายหรือไม่?

ตอบ: ระบบตรวจจับกัมมันตภาพรังสีของร่างกายมนุษย์ มีความสามารถเพียงพอในการตรวจสอบสารกัมมันภาพรังสี หากว่าคุณมีจำนวนอะตอมกัมมันตรังสีบนผิวหนังมากถึง 50 จนถึงหลายร้อยอะตอม หากว่าระดับสารรังสีอยู่ในระดับต่ำ ร่างกายก็สามารถป้องกันตนเองได้



ถาม: เราจำเป็นต้องกังวลต่ออันตรายที่เกิดจากสารกัมมันตรังสีทางอ้อมหรือไม่ เช่น การบริโภคอาหารทะเลจากพื้นที่ดังกล่าวมีความปลอดภัยหรือไม่?

ตอบ: หากว่ารายงานระดับสารกัมมันตรังสีมีความแม่นยำ ก็ไม่มีเหตุผลที่ต้องกังวล เนื่องจากสารกัมมันตรังสี สามารถพบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อมทั่วไป



ถาม: การอยู่ภายในอาคารปลอดภัยหรือไม่?

ตอบ: สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการอยู่ให้ห่างจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ เช่นเดียวกับที่รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศ การอยู่ห่างจากสถานที่ดังกล่าวประมาณ 20 กิโลเมตร ถือเป็นระยะที่ปลอดภัย นอกจากนั้น ยังช่วยหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับอากาศที่มีการปนเปื้อนของสารรังสี



ถาม: หากว่าระยะ 20 กม.มีความปลอดภัยจริง ประชาชนที่อาศัยในกรุงโตเกียวควรอาศัยอยู่ในแต่อาคาร และหลีกเลี่ยงที่โล่งแจ้งหรือไม่? หรือหากจำเป็นต้องเดินทางออกนอกอาคาร ไม่ควรให้ผิวหนังสัมผัสกับอากาศหรือไม่?

ตอบ: โตเกียวอยู่ห่างจากฟูกุชิมะมากกว่า 200 กม. กระแสลมอาจพัดพาสารกัมมันตรังสีและอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนได้ แต่เมื่อพิจารณาว่า ยิ่งสารรังสีต้องเดินทางเป็นระยะทางมากเท่าใด ระดับสารก็จะลดลงมากเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องกังวล



ถาม: ทำไมต้องอพยพห่างจากโรงไฟฟ้าถึง 20 กม.?

ตอบ: รัฐบาลไม่ได้แถลงว่าใช้หลักการใดในการพิจารณา แต่ในกรณีของการเกิดอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกาะทรี ไมล์ส ของสหรัฐฯ เมื่อปี 1979 ไม่พบว่ามีความเสียหายใดๆในระยะทางหลัง 16 กม. รัฐบาลจึงอาจปรับเปลี่ยนระยะทางโดยอาศัยจากการสังเกต



ถาม: หากว่ามีสารกัมมันตรังสีรั่วจริง มันสามารถเดินทางไกลได้แค่ไหน?

ตอบ: เป็นเรื่องยากที่จะทำนายโดยไม่ทราบว่าปริมาณไอโซโทปของสารรังสีที่รั่วออกมี จำนวนเท่าใด และสภาพอากาศในขณะนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระแสลมว่าเป็นอย่างไร เช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกาะทรี ไมล์ส ซึ่งสถานที่เก็บสารรังสีไม่ได้รับการกระทบกระเทือน และเป็นที่เข้าใจกันว่าไม่ส่งผลกระทบกระเทือนต่อพื้นที่นอกเหนือรัศมี 16 กม.



ถาม: การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไอโอดีนสามารถช่วยต่อต้านสารกัมมันตรังสีได้หรือไม่?

ตอบ: ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น นอกจากจะไม่ใช่ยาใช้ภายในแล้ว ยังมีสารอย่างอื่นที่เป็นอันตรายต่อร่างกายรวมอยู่ด้วย ในกรณีที่ร่างกายได้รับปริมาณไอโอดีนซึ่งเป็นสารกัมมันตภาพรังสีเข้าไป ปริมาณมาก ยาที่มีฤทธิ์ช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดต่อร่างกายคือ “ยาบรรเทาไอโอดีน” ซึ่งเป็นยาใช้ภายในและใช้เฉพาะภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น



ถาม: คำว่า "ระบบหล่อเย็นของเตาปฏิกรณ์ล้มเหลว" หมายความว่าอย่างไร?

ตอบ: หมายความว่า เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ไม่สามารถลดความร้อนลงได้เพียงพอ ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ความร้อนหรือพลังงานซึ่งถูกผลิตขึ้นโดยเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานโดยการหมุนเวียนน้ำ และหากว่าระบบน้ำหล่อเย็นไม่สามารถหมุนเวียนได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นเชื้อเพลิงดังกล่าวก็ไม่สามารถเย็นลงได้



ถาม: ปลอดภัยหรือไม่ ที่จะลดความร้อนของเตาปฏิกรณ์ด้วยน้ำทะเล แทนที่จะเป็นน้ำสะอาด?

ตอบ: โดยปกติแล้วมักจะใช้น้ำสะอาดในกระบวนการหล่อเย็น เพื่อยืดระยะเวลาการใช้งานของเตาปฏิกรณ์และลดค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ดี สถานการณ์ในปัจจุบันการหล่อเย็นเตาปฏิกรณ์ด้วยหนทางใดก็ได้เท่าที่จะเป็นไป ได้ มีความสำคัญยิ่งกว่า



ถาม: หากใช้น้ำทะเลแล้ว จะก่อให้เกิดปัญหาใดหรือไม่?

ตอบ: ก่อให้เกิดปัญหาแน่นอน เนื่องจากน้ำทะเลอาจก่อให้เกิดคราบเกลือด้านในท่อ และอาจกัดกร่อนท่อจนกระทั่งเกิดการรั่วไหลของสารรังสี ดังนั้นจึงมักนิยมใช้น้ำจืดเป็นตัวหล่อเย็นมากกว่า



ถาม: ทำไมจึงไม่สามารถปิดเตาปฏิกรณ์ลงในทันทีที่เกิดเหตุแผ่นดินไหว?

ตอบ: มีการปิดเตาปฏิกรณ์แล้ว ผลลูกโซ่ของการแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอมก็หยุดแล้วเช่นกัน อย่างไรก็ดี เตาปฏิกรณ์จำเป็นต้องถูกลดความร้อนลง เพื่อป้องกันการเกิดไอโซโทปที่มีกัมมันตรังสีในแท่งเชื้อเพลิงที่บรรจุอยู่ ในแกนปฏิกรณ์ และลดความร้อนที่ยังคงตกค้างจากการเพิ่มความร้อนให้แก่เตาปฏิกรณ์



ถาม: น้ำที่ผ่านกระบวนการหล่อเย็นในเตาปฏิกรณ์ จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่?

ตอบ: น้ำเสียที่มีระดับการปนเปื้อนกัมมันตรังสีต่ำ จะผ่านกระบวนการกรองก่อนที่จะปล่อยออกสู่สภาพแวดล้อม ส่วนน้ำเสียที่มีระดับการปนเปื้อนกัมมันตรังสีสูง จะผ่านกระบวนการต้มเสียก่อน ซึ่งจะเปลี่ยนสารกัมมันตรังสีให้เป็นของแข็ง ซึ่งสามารถถูกคัดออกก่อนที่จะปล่อยลงสู่สิ่งแวดล้อม



ถาม: การระเบิดของโรงไฟฟ้าปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟูกุชิมาหมายเลข 1 เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ตอบ: การระเบิดที่อาคารเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เกิดจากแรงดันของก๊าซไฮโดรเจนภายในสูงเกินไป แรงดันของก๊าซไฮโดรเจน เกิดจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้น้ำทำปฏิกิริยากับเซอโคเนียม ซึ่งเป็นธาตุโลหะหายาก ทำให้น้ำ หรือ H2O ถูกแยกเป็น H2 หรือ ไฮโดรเจน กับ O หรือ อ๊อกซิเจน และไปจับกับเซอโคเนียม ทำให้มีก๊าซไฮโดรเจนในปริมาณมาก ทำให้ความดันสูงจนดันอาคารปฏิกรณ์จนพังเสียหาย



ถาม: ถึงแม้ว่าจะมีการะเบิด แต่เครื่องปฏิกรณ์กลับไม่ได้รับความเสียหาย นั่นหมายความว่าการระเบิดของก๊าซไฮโดรเจน ไม่สามารถทำลายเครื่องปฏิกรณ์ได้หรือไม่?

ตอบ: ใช่ แม้ว่าอาคารภายนอกจะได้รับความเสียหาย แต่ห้องเก็บเครื่องปฏิกรณ์มีความแข็งแรงมาก และถือเป็นด่านสุดท้ายเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ตราบใดที่เครื่องปฏิกรณ์ไม่ได้รับความเสียหาย ตราบนั้นก็ไม่เกิดหายนะ



ถาม: สมมุติว่าก๊าวไฮโดรเจน บังเอิญรั่วออกจากเครื่องปฏิกรณ์ การระเบิดของไฮโดรเจนสามารถนำไปสู่การระเบิดภายในเครื่องปฏิกรณ์เองได้หรือ ไม่?

ตอบ: เครื่องปฏิกรณ์ถูกเติมด้วยก๊าซไนโตรเจน จึงไม่มีทางที่จะเกิดการระเบิดภายในเครื่องปฏิกรณ์



ถาม: ดังนั้น เครื่องปฏิกรณ์ก็ไม่ได้รับความเสียหาย?

ตอบ: ตราบเท่าที่ข้อมูลที่ได้รับการแถลงจากโรงไฟฟ้าเป็นจริง เราก็สามารถมั่นใจได้ว่าเตาปฏิกรณ์จะยังคงมีความปลอดภัย



ถาม: การระเบิดของก๊าซไฮโดรเจน มีลักษณะเดียวกับการระเบิดของระเบิดไฮโดรเจนหรือไม่?

ตอบ: การระเบิดของก๊าซไฮโดรเจน แตกต่างกับการระเบิดของระเบิดไฮโดรเจน นี่เป็นเพียงปฏิกิริยาทางเคมีที่ก๊าซไฮโดรเจนและอ็อกซิเจนถูกนำมารวมกัน จนกระทั่งเกิดพลังงานและน้ำ ปฏิกิริยาเช่นนี้ไม่ถือว่าแผ่รังสี แต่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อไฮโดรเจนได้ปล่อยสารรังสีที่เริ่มต้นด้วยการ ระเบิดเช่นเดียวกันนั้น จึงจะสร้างการแผ่รังสีที่สามารถตรวจจับได้


Stopped time: Japan tsunami hits school.....

 
 

จากคุณ : july 19
เขียนเมื่อ : 17 มี.ค. 54 16:54:15




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com