 |
ถ้าตอบเรื่องตำแหน่งผลิตภัณฑ์
Full Service --> การบินไทย, สิงคโปร์แอร์ฯ ฯลฯ (สายการบินใหญ่ๆ บินข้ามทวีป) Full Service (Regional) --> บางกอกแอร์ฯ, ซิลค์แอร์, ไทยสไมล์ Premium Low-Cost --> นกแอร์, โอเรียนท์ไทย (จริงๆ เค้าวางตัวเองเป็น Full Service แต่ภาพลักษณ์ก็คือโลว์คอสต์ที่มีบริการเต็มรูปแบบนั่นเอง), ไฟเออร์ฟลาย(ลูกMH) Ultra Low-Cost --> แอร์เอเชีย, เจ๊ตสตาร์, ไทเกอร์แอร์เวย์ส, เซบูแปซิฟิค
ดังนั้น จุดต่างของนกแอร์, โอเรียนไทย ก็คือเป็นสายการบินกลุ่มราคาประหยัด ที่มีบริการต่างๆ อยู่เช่น โหลดกระเป๋าฟรี, เลือกที่นั่งฟรี, มีของว่างฟรี
เมื่อเทียบกับพวก Ultra Low-Cost ที่ไม่มีอะไรให้เลย ทุกอย่างต้องซื้อเพิ่มนั่นเอง
แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือ ด้วยความเป็น Low-Cost จะต้องทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ เช่นใช้เครื่องบินเหมือนๆ กัน ใช้งานเครื่องบินหนักตลอดทั้งวัน เวลาจอดพักเครื่องน้อย (เป็นเหตุให้ดีเลย์) การใช้ระบบไอทีเข้าช่วยเช่น ระบบเช็คอินด้วยตนเอง และเน้นการขายบัตรผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก (อย่างผู้โดยสารแอร์เอเชีย >80% จองตั๋วผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น)
ลองหาข้อมูลที่เป็นเอกสารอ้างอิงได้ประกอบดูนะครับ มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเยอะจริงๆๆ (ส่วนชื่อเรียกลำดับขั้น อันนี้ไม่แน่ใจนะครับ จำไม่แม่นนัก)
จากคุณ |
:
ยุ่งชะมัด..สัตวแพทย์
|
เขียนเมื่อ |
:
2 ก.ย. 54 00:37:28
|
|
|
|
 |