|
เรื่องหน้าที่ของโรงแรมที่จะต้องรับผิดชอบเมื่อทรัพย์สินหาย หรือ เสียหายตามประมวลกฏหมายแพงและพาณิชย์
|
|
สำหรับกระทู้นี้ผมอยากให้ความรู้เกี่ยวกับกฏหมายแก่เพื่อนๆชาว Blue Planet เพื่อเป็นการขอบคุณสำหรับ Review ดีๆที่เพื่อนๆทำขึ้น และเพื่อขอบคุณความรู้อื่นๆ รวมถึงน้ำใจอื่นๆที่เพื่อนๆมอบให้แก่กัน
หลายๆครั้ง เวลาเราไปพักโรงแรม จะเห็นว่า ตอน check-in จะมีให้กรอก ประวัติแขกที่เข้าพักรวมถึง ให้เราเซ็นรับทราบว่า " ทางโรงแรมจะไม่รับผิดชอบในการสูญหาย ...... " ข่้อความเหล่านี้ผูกพันเราหรือไม่ ? แล้วหากเกิดของหายขึ้นต้องทำอย่างไร ? วันนี้เราจะมาพูดถึง ประเด็นเหล่านี้กัน
ก่อนอื่นผมเชื่อว่าหลายๆท่านคงจะเคยเห็นกฏหมายมาตรานี้แปะอยู่ในโรงแรม
ปพพ. มาตรา ๖๗๕ เจ้าสำนักต้องรับผิดในการที่ทรัพย์สินของคนเดินทาง หรือ แขกอาศัย สูญหาย หรือ บุบสลายไปอย่างใดๆ แม้ถึงว่าความสูญหาย หรือ บุบสลายนั้นจะเกิดขึ้นเพราะผู้คนไปมาเข้าออก ณ โรงแรม โฮเต็ล หรือ สถานที่เช่นนั้นก็คงต้องรับผิด *ความรับผิดนี้ ถ้า เกี่ยวด้วย เงินทองตรา ธนบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า อัญมณี หรือ ของมีค่าอื่นๆ ให้จำกัดไว้เพียง ห้าพันบาท เว้นแต่ จะได้ฝาก ของมีค่าเช่นนี้ ไว้แก่ เจ้าสำนัก และได้บอกราคาแห่งของนั้นชัดแจ้ง แต่เจ้าสำนักไม่ต้องรับผิดเพื่อความสูญหาย หรือ บุบสลาย อันเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือ แต่สภาพแห่งทรัพย์สินนั้น หรือ แต่ความผิดของคนเดินทางหรือ แขกอาศัยผู้นั้นเอง หรือ บริวารของเขา หรือ บุคคล ซึ่ง เขาได้ต้อนรับ
จากหลักกฏหมายดังกล่าวเมื่อฟังแล้วบางท่านอาจจะเริ่มเบลอๆ ว่าทางโรงแรมจะจำกัดความรับผิดแค่ 5000 บาท เลยขอแบ่งกรณีเป็น 2 กรณี
1. เป็นกรณีที่ทางโรงแรมจะต้องรับผิดแบบไม่จำกัดจำนวน
กรณนี้เป็นหลักทั่วๆไป คือ เมื่อ ของหายหรือบุบสลาย ทางโรงแรมต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยไม่จำกัดจำนวน ถึงแม้ว่าจะมิใช่ความผิดของโรงแรมก็ตาม ตัวอย่างเช่น จอดรถราคา 1 ล้านบาท ไว้ในโรงแรมเมื่อเข้าพัก ปรากฏว่าตื่นมารถหาย เช่นนี้ทางโรงแรมต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ตาม ปพพ 675 วรรค แรก ( ย่อหน้าแรก )
2. เป็นกรณีที่ทางโรงแรมจะต้องรับผิดแบบจำกัดไว้ที่ 5000 บาท
กรณีนี้เป็นหลักเฉพาะ เมื่อ ทรัพย์สินที่สูญหายหรือบุบสลายเป็น ทรัพย์สินหรือสิ่งของดังต่อไปนี้ เงินทองตรา ธนบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า อัญมณี หรือ ของมีค่าอื่นๆ
สิ่งที่ต้องสังเกตุคือ คำว่าของมีค่าอื่นๆ คำว่าของมีค่าอื่นๆ ในมาตรานี้ไม่ได้หมายถึงทุกๆอย่างที่มีราคาแพง ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ ไม่ถือว่าเป็น ของมีค่าอื่นๆ note book, iphone, ipad ก็มิน่าจะใช่ของมีค่าอื่นๆในมาตรานี้ ตัวอย่างของมีค่าอื่นๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ ฝังเพชร นาฬิกาเพชร นาฬิกาทอง เป็นต้น ซึ่งจะต้องเป็นดุลพินิจของศาล
ในการที่จะจำกัดความรับผิดชอบไว้เพียง 5000 บาทนั้น จะต้องปรากฏว่า ผู้้เข้าพักอาศัย ไม่ได้ ฝากของนั้นและ ไม่ได้บอกราคาทรัพย์สินนั้น ถ้าแขกพักอาศัย ฝากของมีค่าที่กล่าวมาไว้และบอกราคาของนั้น ถ้าหายหรือบุบสลาย โรงแรมต้องรับผิดแบบไม่จำกัดจำนวน
จะเห็นได้ว่า โดยทั่วๆไปทรัพย์สินส่วนใหญ่จะต้องใช้ มาตรา 675 วรรคแรก แต่ที่ต้องระวังและหายกันบ่อยคือ ธนบัตร ครับ ธนบัตร จะต้องปรับเข้ากับ วรรค คือจำกัดความรับผิดไว้ 5000 ถ้าไม่ได้แจ้ง
วรรคท้าย (ย่อหน้าสุดท้ายนั้น) เป็นข้อยกเว้นที่โรงแรมไม่ต้องรับผิดชอบ เมื่อเกิดเหตุสุดวิสัย เช่น ไฟไหม้ แผ่นดินไหว เมื่อของนั้นต้องผังอยู่แล้ว หรือ เมื่อการหายหรือบุบสลาย เกิดจาก แขกที่พักอาศัย คนที่เราต้อนรับ หรือ คนของเรา เช่น ผมลืมล็อคประตูห้องทำให้ของหาย หรือ ผมพาเพื่อนมาพักด้วยและเพื่อนเป็นคนขโมย เช่นนี้โรงแรมไม่ต้องรับผิดชอบครับ
จากคุณ |
:
Microkosmos
|
เขียนเมื่อ |
:
17 ต.ค. 54 14:18:29
|
|
|
| |