คุยกันเรื่องการถ่ายภาพใต้น้ำ .. อย่างเป็นมิตรกับแนวปะการัง ตอนที่ 2

    การถ่ายภาพใต้น้ำโดยอาศัยแสงเฉลี่ยรวม (AMBIENT LIGHT)

    เรื่องนี้ อาจถือเป็น “กุญแจสู่ความสำเร็จ” ของการถ่ายภาพใต้น้ำเลยทีเดียว จึงควรทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพราะจะนำไปสู่ความเข้าใจในเรื่องการวัดแสง และการใช้แฟลชเพื่อการถ่ายภาพใต้น้ำ

    อยากให้เรานึกถึงเมื่อสมัยเด็กๆ หลายๆคนคงเคยเห็นของเล่นที่เป็นพลาสติกใสรูปโค้งครึ่งทรงกรม มีรูปซานตาคลอสอยู่ในนั้น พอเราเขย่าๆ ก็จะมีกากเพชรลอยไปมา (ถ้าใครเกิดไม่ทันเห็นของเหล่านี้ อาจนึกถึงว่า ตัวของเราเล็กลงเหลือความสูงเพียงเท่าดินสอแท่งสั้นๆ แล้วมีกะละมังซักผ้าสีน้ำเงินครอบอยู่ ก็ได้)

    .. เมื่อเราลงดำน้ำ หลังจากจมลงสู่ใต้ผิวน้ำ -- ก่อนจะถึงพื้นทะเล นักดำน้ำ ก็คงอยู่ในสภาพเดียวกับซานตาคลอส หรือดินสอแท่งสั้น คือลอยตัวอยู่ในความเวิ้งว้างของโลกสีคราม ถ้าก้มลงมองที่พื้นทะเล เราจะพบกับความมืดครึ้ม พื้นน้ำจะมีสีเข้ม แต่ถ้าแหงนหน้าขึ้นมองที่ผิวน้ำ ก็จะพบกับสีฟ้าที่สดใสกว่า มีความสว่างมากกว่า - ความแตกต่างกันของแสง และสี ที่เราเห็นนี้ อาจกล่าวได้ว่ามีถึง 3 ระดับ ก็คือ ที่ ผิวน้ำ ที่ กลางน้ำ และที่ พื้นน้ำ
    การวัดค่า Ambient light คือการวัดค่าของความสว่าง ที่ “กลางน้ำ”

    กรุณาอ่านต่อได้ที่

    http://www.focusthailand.net/webboard/index.php?board=1;action=display;threadid=31

     
     

    จากคุณ : เปิดกล้องส่องโลก - [ 13 ม.ค. 47 20:37:34 ] ส่งภาพนี้เข้ามือถือ