ความคิดเห็นที่ 53
กรณี 4/3 กับ 35mm มาแทนฟิล์ม อันนี้ต้องท้าวความก่อน เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วระบบภาพ Digital พัฒนามาเพื่อผู้ใช้ 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นผู้ใช้ที่ต้องการภาพดิจิตอลคุณภาพสูง ก็จะใช้กล้อง Medium format + Digital back หรือไม่ก็จะถ่ายภาพโดยฟิล์ม แล้วเอาเข้าเครื่อง Scan film ก็จะได้ภาพออกมา ผู้ใช้กลุ่มนี้มักเป็นพวกมืออาชีพต้องการภาพ Digital เพื่อไป Process ต่อ หรือไม่ก็เอาไปเก็บไว้เป็น Backup เพราะถ้าพิจารณาระหว่างสื่อดิจิตอลกับฟิล์มแล้ว ฟิล์มเก็บยากกว่า เปลืองเนื้อที่กว่า เสื่อมคุณภาพง่ายกว่า ค้นหายากกว่า แต่ก็ยังไม่สนใจกล้อง Digital ล้วนเพราะคุณภาพตอนนั้นต่ำกว่าฟิล์มเอามากๆ ส่วนกลุ่มที่ 2 พวกนี้เริ่มจากมือสมัครเล่นที่สนใจเทคโนโลยีทั่วไป อุปกรณ์ของกลุ่มนี้จะมีราคาถูกกว่ากลุ่มแรกมาก คือราคาอยูที่ 10,000-20,000 บาท ซึ่งคุณภาพตอนนั้นไม่สามารถนำไปเทียบกับฟิล์มได้เลย จึงไม่นิยมนำภาพจากกล้องพวกนี้ไปอัดเป็นภาพ จะ Copy เก็บไว้ใน Computer อย่างเดียว การถ่ายภาพเพื่ออัดลงกระดาษยังคงใช้ฟิล์มอยู่ตามเดิม เนื่องจากกล้องกลุ่มนี้ทำไว้เพื่อถ่ายลง Computer อย่างเดียว ทำให้ใช้มิติ 4:3 เหมือนจอคอมพิวเตอร์ อีกทั้ง CCD ในท้องตลาดตอนนั้นก็มักเป็น CCD ตัวเดียวกับที่ใช้ในกล้องถ่าย VDO ซึ่งมีมิติเป็น 4:3 ด้วย ในยุคนี้บริษัทกล้องทั้งหลายยังไม่ให้ความสนใจกับกล้องดิจิตอลมากนัก มองว่าเป็นของเล่นอยู่ ยังใช้งานจริงไม่ได้ แต่ก็ยังเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด มีการออกกล้องดิจิตอลของตนออกมาเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้หวังอะไรมากนัก กล้องดิจิตอลในช่วงนี้จึงเป็นของบริษัทอุปกรณ์ไฟฟ้าและบริษัทฟิล์มเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาจำนวน Pixel ของกล้องเริ่มมากขึ้น คุณภาพเริ่มพอรับได้ จึงเริ่มมีการนำกล้องพวกนี้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์บ้าง โดยเริ่มแรกถูกนำไปใช้ในวงการหนังสือพิมพ์ก่อน โดยกล้องพวกนี้จะใช้ CCD เพื่อบันทึกภาพเท่านั้น การโฟกัส วัดแสง ช่องมองภาพ จะใช้อุปกรณ์แบบกล้องคอมแพคฟิล์มทุกประการ จึงไม่มี Delay เหมือนกล้องดิจิตอลคอมแพคปัจจุบัน แต่ความละเอียดต่ำกว่า สาเหตุที่วงการหนังสือพิมพ์สนใจกล้อง Digital เพราะเมื่อถ่ายรูปเสร็จ ก็จะส่งภาพที่ถ่ายได้กลับต้นสังกัดผ่าน Computer ได้เลย ไม่ต้องรอล้างฟิล์มแล้วค่อยส่งไปเหมือนก่อน ทำให้ข่าวเร็วขึ้น ซึ่งคุณภาพของภาพ ทางหนังสือพิมพ์ไม่ค่อยสนใจนัก ทางด้านโรงพิมพ์ก็เริ่มเปลี่ยนให้สามารถรับงานที่เป็น File ดิจิตอลได้มากขึ้น พอมีการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์เข้าก็เลยทำให้มีแรงผลักดันการพัฒนาคุณภาพของกล้องขึ้นเรื่อยๆ จาก VGA size เป็น 800x600 เป็น 1 MP จนมาถึง 2 MP ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนอีกรอบครับ ในขณะนั้น การล้างอัดรูปจากฟิล์ม จะใช้ระบบดิจิตอลซะเป็นส่วนใหญ่ โดยระบบนี้จะล้างฟิล์มแบบธรรมดาก่อน จากนั้นในขั้นตอนการอัดขยาย แทนที่เค้าจะเอาฟิล์มไปอัดภาพตรงๆ กลับเอามา Scan เป็นภาพดิจิตอล แล้วนำภาพดิจิตอลที่ได้ไปอัดลงกระดาษอีกทีนึง การทำแบบนี้ทำให้สามารถปรับแก้ข้อผิดพลาดจากการถ่ายภาพได้ง่ายขึ้น ภาพที่ Scan นี้มีขนาดประมาณ 2 MP ก็เลยมีคนคิดว่า ถ้าเอาภาพจากกล้องดิจิตอลแบบธรรมดาไปอัดได้หรือปล่าว ซึ่งตามทฤษฎีแล้วมันน่าจะได้ แต่พอเอาเข้าจริงๆ ไม่ไหวครับ ภาพออกมาไม่ต่างจากภาพจากกล้องมือถือปัจจุบันเลย ก็เลยต้องมีการพัฒนาต่อไป โดยมีเป้าหมายว่า ต้องได้คุณภาพระดับอัดขยายได้ แต่ก็ยังคงมิติขนาด 4:3 ไว้เหมือนเดิม เพราะตอนนั้นไม่ค่อยมีใครนิยมอัดภาพจากกล้องดิจิตอลกันเท่าไหร่ ก็พี่แกเล่นคิดราคารูปละ 10 บาท ใครจะไปเอา ในขณะที่ทางตลาดกลุ่มแรก ก็เริ่มมีการนำ Digital back มาต่อกับกล้อง SLR 35mm แล้ว แต่ก็ยังดูเทะทะเมื่อเทียบกับกล้องฟิล์มอยู่ดี สาเหตุที่นำ Digital back มาต่อกับกล้อง SLR 35mm เพราะต้องการใช้อุปกรณ์ของ SLR 35mm ที่ตากล้องทั่วไปมีใช้กันอยู่แล้ว แต่เนื่องจากต้องการลดต้นทุน จาก Digital back ราคาครึ่งล้านลงมาให้พอจับได้ จึงลดขนาดของส่วนที่มีราคาแพงที่สุดคือ CCD การทำ CCD ให้มีขนาดใหญ่ จะทำให้ราคาของกล้องสูงขึ้นมาก ถึงแม้จะได้คุณภาพที่สูงกว่าก็ตาม เนื่องจากกลุ่มตลาดบนมีส่วนหนึ่งที่ต้องการกล้องดิจิตอลไปเพื่อลดต้นทุนในการถ่ายภาพ โดยตากล้องกลุ่มนี้ ก็ยังต้องการอัดขยายภาพลงในการะดาษ Poster อยู่ อีกทั้งมีความคุ้นเคยกับมิติของฟิล์ม 35 mm เป็นส่วนใหญ่ ทำให้ CCD ของ Digital Back ออกมาในมิติ 3:2 ซึ่งต่อมาบริษัทกล้องเริ่มเห็นว่า กล้องดิจิตอลจะเข้ามาแทนที่กล้องฟิล์มรุ่นเก่า จึงเริ่มพัฒนากล้องของตัวเองอย่างจริงจัง โดยพยายามเข็นกล้อง DSLR ของตนเองออกมาให้ได้ ซึ่งกล้องกลุ่มนี้ จะเล็งไปที่ตลาดกลุ่มที่ 1 เป็นหลัก ซึ่งวิธีการก็คือ รวม Digital back ไว้ในกล้อง ตัดส่วนที่ใช้สำหรับฟิล์มออก จึงได้กล้อง DSLR รุ่นแรกๆออกมา มีมิติเป็น 3:2 เหมือน Digital back ซึ่งเอื้ออำนวยให้การอัดรูปจากกล้อง DSLR เป็นไปได้ง่ายเหมือนใช้กล้องฟิล์ม ขณะที่ กล้องในกลุ่มที่ 2 ก็เริ่มพัฒนาต่อเป็น 3 MP 4MP และ 5MP พอถึงจุดนี้คุณภาพของภาพก็พอที่จะอัดขยายได้แล้ว อีกทั้งราคาค่าอัดรูปจากกล้องดิจิตอลก็ลดลงมาจาก 10 บาท เป็น 5 บาท จนสุดท้ายลงมาเป็น 3 บาทในปัจจุบัน ในขณะที่ DSLR ยังราคาเรือนแสนอยู่ ก็มีตากล้องประเภท Studio ถ่ายภาพที่มีทุนไม่มากนัก เริ่มมองกล้องดิจิตอล เพื่อใช้ถ่ายภาพใน Studio การจะไปซื้อ DSLR ก็ไม่ไหว เลยลองมองหากล้องระดับโปรซูเมอร์ที่คุณภาพดีขนาดใช้ทำงานจึงเป็นจุดเริ่มต้นของ ตลาดกลุ่มที่ 2 ที่จริงจัง ซึ่งตลาดนี้โตค่อนข้างเร็ว เป็นเค็กชิ้นใหญ่ของบริษัทกล้องถ่ายภาพในสมัยนั้น ซึ่งทางเลือกของตากล้องกลุ่มนี้คือ โปรซูเมอร์ คุณภาพดีราคาถูกต่อขยายอะไรได้ไม่มาก กับ DSLR คุณภาพดีมากต่อขยายได้เยอะ แต่แพงมากด้วย เนื่องจาก DSLR ดีกว่าติดอยู่อย่างเดียวคือแพง แต่ละค่ายจึงหาวิธีลดต้นทุนเพื่อให้ DSLR ของตนลงมาเล่นในตลาดสมัครเล่นแต่จริงจังได้ ช่วงนี้ก็เป็นช่วงเดียวกับที่ e10, e20 ออกสู่ตลาดนั่นเอง ซึ่งจะว่าไป e10, e20 นี่แหล่ะที่เป็นต้นแบบทางความคิดของ e1 ในขณะที่ Oly เห็นว่า กล้องโปรซูเมอร์มีข้อเสียในเรื่องความยืดหยุ่น ทำให้คุณภาพด้อยลงมา เลยคิดระบบ 4/3 เพื่อเป็น DSLR ระบบแรกที่มีพื้นฐานมาจากกล้อง Digital ตั้งแต่แรก มาถึงตรงนี้ก็จะเห็นว่าระบบ 4/3 กับ ระบบ DSLR กลุ่ม 35mm มีที่มาและหลักการคิดที่ต่างกัน ขณะที่ DSLR กลุ่ม 35mm ต้องการกล้องดิจิตอลที่มาบันทึกภาพแทนฟิล์ม ยังเอื้ออำนวยกับขั้นตอนการอัดขยายภาพเหมือนเดิม แต่ใช้ Media ในการบันทึกภาพต่างกัน แต่ระบบ 4/3 ซึ่งพัฒนาโดยแนวความคิด Digital เป็นหลักจึงสนใจการนำมา Process ในระบบดิจิตอล ไม่เน้นที่จะมาอัดเป็นรูปเก็บไว้เป็นกระดาษเท่าไหร่ ปัจจุบันการพัฒนาทั้งสองทางเริ่มเข้ามาบรรจบลงที่จุดเดียวกัน ตากล้องที่ใช้ DSLR ในมิติ 3:2 หลายคนก็ไม่ค่อยแคร์การนำภาพมาอัดบนกระดาษแล้ว แต่ถ่ายเอาไป Process ส่วนคุณภาพของกล้องในมิติ 4:3 ก็มีมากพอที่จะอัดลงกระดาษ แต่ต้อง Crop บางส่วนทิ้งไป ทำให้ตอนนี้ หลายคนเลยไม่เห็นความแตกต่างของมิติทั้งสอง ลืมไปเลยว่าแต่ละมิติ เค้ามีปรัชญาในการออกแบบมาเพื่ออะไร เพราะมันใช้แทนกันได้ทั้งคู่ เพียงแต่อย่างไหนจะสะดวกกว่ากันในเรื่องของมิติภาพเท่านั้นเอง ซึ่งตรงแหล่ะครับ ผมถึงเถียงว่า 4/3 ไม่ได้ออกแบบมาแทนฟิล์มเหมือน DSLR มิติ 3:2 แต่การอัดรูปได้เป็นเพียงแค่การนำความสามารถของมันมาใช้ได้เฉยๆ เหมือนว่า จะเอากล้อง VDO มาถ่ายภาพได้มั้ย มันก็ได้หรอกคุณภาพเดี๋ยวนี้ก็ไม่ใช่ย่อย แต่จะถามว่ามันออกแบบมาแทนกล้องถ่ายภาพมั้ย ก็คงตอบว่าไม่ใช่ครับ เพียงแค่เทคโนโลยีของมันสามารถถ่ายภาพได้เท่านั้น แต่ต้องมีกรรมวิธีอีก ไม่เหมือนเราถ่ายภาพนั้นจากกล้องถ่ายภาพโดยตรงครับ
จากคุณ :
Omer
- [
11 ม.ค. 51 09:34:08
A:124.121.36.253 X: TicketID:159953
]
|
|
|