 |
ความคิดเห็นที่ 13 |
เราก็มือใหม่ ใหม่มาเกือบปีแล้ว
ลองอ่านอันนี้ดูนะ เพื่อนเข้าใจมากขึ้น เครดิตจากป้าไก่จ้า
เริ่มแรก มือใหม่ต้องทำความรู้จักกับหลักการบันทึกภาพก่อน
เรื่องมันเป็นแบบนี้จ้ะ
กล้องถ่ายรูปจะบันทึกภาพโดยการปล่อยให้ปริมาณแสงสว่างผ่านเข้ามาทางรูที่กำหนด แสงนี้จะตกกระทบไปยังวัตถุไวไฟ อืมมมม วัตถุไวแสงที่แอบซ่อนไว้ในกล้องถ่ายรูป (แผ่นฟิล์มสำหรับกล้องที่ใช้ฟิล์ม, เซนเซอร์ สำหรับกล้องดิจิตอล)
สำหรับกล้องฟิล์ม เมื่อเรากดชัตเตอร์เสร็จปุ๊บ ภาพมันก็จะไปบันทึกอยู่บนแผ่นฟิล์มปั๊บ จากนั้นเราก็เอาฟิล์มไปล้างอัดขยายที่ร้าน 7-11 แถวบ้าน (เอาเข้าไป )
ส่วนกล้องดิจิตอลครองโลกทั้งหลาย
หลักการมีอยู่ว่า ถ่ายปุ๊บ แสงตกลงตัวเซนเซอร์ปั๊บ เซนเซอร์ก็ส่งจะสัญญานอนาลอคไปที่โปรเฟสเซอร์ เอ๊ยยยยย! โปรเซสเซอร์ที่แอบอยู่ในกล้อง โปรเซสเซอร์ก็จะเปลี่ยนสัญญานอนาลอคเป็นสํญญานดิจิตอลแล้วก็เอาสัญญานดิจิตอลไปบันทึกไว้ในเมมโมรี่การ์ด
พักเรื่องอนาลอค-ดิจิตอลเอาไว้ตรงนี้ก่อนนะคร้า เขียนมากป้าไก่เวียนหัวมาก
..
เมื่อเรารู้แล้วว่า การถ่ายรูปคือการเล่นกับแสง เราก็จะมาเรียนรู้กันต่อไปว่า เล่นกับแสงอย่างไรให้สนุก
หลักธรรมในการกำหนดปริมาณแสง ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสามช่า (ช่า-ช่า-ช่า)
ช่าที่หนึ่ง ความกว้างใหญ่ไพศาลของรูรับแสง (ศัพท์ฝรั่งอังกฤษ Aperture, svenska brännvidd) ช่าที่สอง ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed) ช่าที่สาม ค่าความไวแสงของฟิล์ม หรือค่า ISO
---
อ่านมาถึงตอนนี้ ถ้าใครมีกล้อง D-SLR อยู่ในมือ ให้ปรับไปอยู่ที่โหมด manual นะจ๊ะ จะได้เข้าใจคำอธิบายได้ดีขึ้น
ช่าที่หนึ่ง สามเหลี่ยมมุมแรก การปรับขนาดรูรับแสง
รูรับแสงคือ รู ค่ะ
เป็นรูที่อยู่ในเลนส์ ขนาดของรูถูกบังคับด้วยแผ่นโลหะบาง ๆ เรียงซ้อนกันหกแผ่นในรูปแบบของแผ่นไดอะแฟรม (เทคนิคอีกแล้ว )
การปรับรูให้ใหญ่หรือเล็กได้แค่ไหน ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของกล้องและเลนส์ที่เรากำลังใช้งาน
ยกตัวอย่างนะคร้า
เช่นเลนส์ของเรามีขนาดรูรับแสงใหญ่ที่สุดแค่ f 5.6 ปรับให้ปุ่มหลุดคามือมันก็ไม่ลงไปอยู่ที่ f 1.4 ได้หรอกค่ะนักเรียน
ค่า f นี้เรียงลำดับตั้งแต่ค่าน้อยที่สุด f 1.4, f 2, f 2.8
ขึ้นไปเรื่อย ๆ ถึงค่า f มาก ๆ อย่าง 16, 22, 32
ถ้าค่า f น้อย ๆ จะได้รูรับแสงใหญ่ ๆ ค่า f มาก ๆ จะได้รูรับแสงเล็ก ๆ
งงไหม งงไหม ไม่ต้องงงค่ะ
จำไว้ว่า f น้อย ๆ รูใหญ่ f ใหญ่ ๆ รูน้อย
ถ้ายังจำไม่ได้ เอาตัวอย่างนี้ไปค่ะ นักเรียนจะซาบซึ้งใจมากขึ้น เพราะมันเกี่ยวกับเงินที่เราจะซื้อเลนส์ตัวใหม่มาเพิ่มเติมตอนที่วิทยายุทธเริ่มแก่กล้า
ถ้าหนู ๆ ทั้งหลายเกิดกิเลสอยากได้เลนส์รูใหญ่ค่า f ต่ำ ๆ ประเภท f 1.4, f 2.8 ก็ขอให้หนูเตรียมตัวกระเป๋าฉีกได้เลยค่ะ เพราะเลนส์ที่ให้รูรับแสงกว้าง ๆ เป็นเลนส์คุณภาพสูง น้ำหนักมาก ราคาแพงที่พวกมืออาชีพเขาใช้กัน มือสมัครเล่นมือใหม่หัดถ่ายอย่างพวกเราที่ไม่ได้ทำมาหารายได้จากการถ่ายภาพได้แต่มองแล้วน้ำลายไหลยืด ๆ
แต่ถ้าหนูเป็นมือใหม่แต่เงินถังก็อีกเรื่องหนึ่ง
ความสามารถพิเศษของเลนส์ f ต่ำ ๆ คือ มองภาพได้สว่างกว่าเลนส์ f สูง ๆ ในสภาพแสงอย่างเดียวกัน ทำให้คนถ่ายภาพสามารถเลือกใช้ชัตเตอร์สปีดสูง ๆ ได้
.
ช่าที่สอง สามเหลี่ยมอีกมุม ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed)
จำเรื่อง รู ในช่าที่หนึ่งได้ไหมจ๊ะ
รูที่ทำด้วยแผ่นไดอะแฟรมนั่นละจ้ะ
รูนี้เปิดปิดด้วยปุ่มกดชัตเตอร์นะคร้า จะเปิดปิด-ช้าเร็วแค่ไหน ขึ้นอยู่กับค่าความเร็วชัตเตอร์ที่เรากำหนด (และข้อจำกัดของกล้องแต่ละรุ่น)
สายตาปกติของคนเรามีความเร็วเท่ากับ 1/50 วินาทีจ้ะ
ความเร็วชัตเตอร์ของกล้องมีตั้งแต่เร็วสุดแบบกระพริบตาไม่ทันจนถึงช้าสุดแบบต้องถ่างตา เช่น 1/500, 1/250, 1/125, 1/60, 1/30, 1/15, 1/8, 1 วินาที, 10 วินาที, 30 วินาที
ความเร็วชัตเตอร์ 1/500 วินาทีเร็วกว่า 30 วินาที ฉันใดก็ฉันเพล
ความเร็วชัตเตอร์นี้เอาไว้ใช้ตอนปรุงแต่งอารมณ์เคลื่อนไหวของภาพที่เราต้องการถ่าย
ความเร็วชัตเตอร์สูง ๆ ให้อารมณ์แบบหยุดนิ่ง เช่นภาพถ่ายการแข่งขันกีฬาที่เน้นหน้าตาท่าทางของนักกีฬา
ช่าที่สาม
สามเหลี่ยมมุมสุดท้าย ค่าความไวของแสง (ISO Speed)
ค่า ISO ในกล้องดิจิตอลแต่ละรุ่นมีค่าตัวเลขสูงไม่เหมือนกัน
ส่วนใหญ่เริ่มตั้งแต่ ISO100, ISO200, ISO400, ISO800, ISO1600 ถึง ISO3200
กล้องยิ่งรุ่นใหม่มาก ยิ่งมีค่า ISO Speed สูงมาก เพื่อเอาไว้หลอกเก็บตังค์ลูกค้าเพิ่ม 55555
หลักการของค่า ISO Speed มีอยู่ว่า ค่า ISO ต่ำที่สุดจะได้ภาพที่มีคุณภาพดีที่สุด สั้น ๆ ง่าย ๆ แบบนี้ละจ้ะ
..
สามช่าหรือสามเหลี่ยมทองคำนี่ละจ้ะที่เป็นหัวใจในการกำหนดความคมชัดของภาพอย่างที่คนเล่นกล้องอย่างเราต้องการ
จากคุณ |
:
How is beautiful life
|
เขียนเมื่อ |
:
3 ม.ค. 53 07:37:28
|
|
|
|
 |