 |
ความคิดเห็นที่ 12 |
จขกท. หมายถึง จุดที่เราวัดแสง ใน step 1 เป็นคนละจุดกับจุดที่ต้องการจะถ่าย ใช่ไม๊ ไม่ต้องครับ ข้าม step 1 ไปโฟกัสเพื่อวัดแสงจุดที่องการจถถ่าย แล้วตั้งค่ากล้องเลย จะให้พอดี - หรือ + ก็สุดแล้วแต่ท่านเลย ในระยะแรก แนะนำให้กดหลายช๊อตครับ ลองดูซิว่าในภาพที่มีแสงของวัตถุและฉากต่างกันระดับนั้นๆ ถ้าถ่าย EV 0 -1 -2 +1 +2 แต่ละค่าจะแตกต่างกันแค่ไหนยังไง บ่อยๆเข้ามันจะกลายเป็นประสบการณ์ที่จะเป็นความรู้ ที่จะคอยบอกคุณเองว่า รุปนี้ควรชเชยแสงซักเท่าไหร่ เพราะไม่ นอกจากระดับความต่างของวัตถุ และฉาก ความแตกต่างระหว่างขอบเขตเนื้อที่ของแสงและเงาที่ต่างกันนั้น ในภาพๆนั้น ก็ส่งผลให้ภาพมืดลง หรือ สว่างขึ้นได้อีกเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ต้องลองดูให้รู้ ให้เห็นด้วยตัวเองไปเลย
ขณะเดียวกับการถ่ายภาพเดียวหลายๆค่าแสง ที่คุณสามารถปรับให้กล้องรับแสงให้มากขึ้น(โอเว่อร์) หรือ น้อยลง(อันเดอร์)นั้น นอกจากแสงที่เปลี่ยนไปแล้ว หากคุณลองเปลี่ยนค่ารูรับแสง แทนการเปลี่ยนค่าสปีดชัตเตอร์ นอกจาก แสงของภาพที่เปลี่ยนไป คุณยังจะได้ ความคมชัดของภาพที่ต่างกันไปอีกได้ด้วย
งงหรือปล่าว ถ้าจะลอง ก็หามุมที่จะถ่ายไว้ซัก 4-5 ภาพ ให้มีทั้ง 1 วัตถุ สว่างพอๆกับฉาก 2 วัตถุ สว่างกว่าฉาก 3 วัตถุ สว่างกว่าฉากมากๆ 4 ฉาก สว่างกว่าวัตถุ 5 ฉากสว่างกว่าวัตถุมากๆ ถ้ามีขาตั้งกล้องด้วยก็ยิ่งดี ถ้าไม่มีก็ถ่ายรูปเดิมในค่าที่ต่างกันแต่ละครั้งให้ตรงกันเป็นใช้ได้
เริ่มด้วยการเลือกจุดที่จะถ่าย จะเริ่มที่ ภาพ 1 2 3 4 5 ก็ไม่ว่ากัน โฟกัสเพื่อวัดแสง แล้วตั้งค่าให้พอดี ev 0 สมมติว่า ไค้ค่า 1/125 f 8 EV = 0 แล้วถ่าย ครั้งที่ 2 ตั้งค่า 1/180 f 8 EV =-0.5 แล้วถ่าย ครั้งที่ 3 ตั้งค่า 1/250 f 8 EV =-1 แล้วถ่าย ครั้งที่ 4 ตั้งค่า 1/400 f 8 EV = -1.5 แล้วถ่าย
สี่ครั้งแรกชดเชยในทางลบ คือ ให้แสงเข้ากล้องได้น้อยลง ในกรณี วัตถุสว่างกว่าฉาก และกรณี ในภาพที่ฉากสว่างกว่าวัตถุ ก็ให้เปลี่ยนเป็นชดเชยในทางบวก หรือทำให้แสงเข้ากล้งได้มากขึ้น คือแต่ละครั้งให้ลดค่าสปีดให้ต่ำลง 1/125 1/80 1/60 1/40 1/30 (1/30 คือเศษ1ใน30ส่วนของวินาที หากภายในกล้องจะไม่แสดงเศษ แต่จะแสดงเพียงส่วนของวินาที)
ครั้งที่ 1 - 4 เราได้ค่าแสงที่ชดเชยแล้ว ครั้งต่อไปให้ เลือกค่าแสงที่เราคิดว่าดีที่สุดของภาพนั้น สมมติว่า เป็นค่า 1/250 f 8 EV =+1 เราต้องการถ่ายแสงในค่านี้ ในแต่ละช่วงรูรับแสง โดยเริ่มลดรูรับแสงให้ชัดลึก ครั้งที่ 5 เราก็ต้องถ่ายที่ 1/125 f 11 EV=+1 ครั้งที่ 6 ถ่ายที่ 1/80 f 16 EV=+1 ครั้งที่ 7 ถ่ายที่ 1/60 f 22 EV=+1 ครั้งที่ 8 ถ่ายที่ 1/30 f 32 EV=+1
ครั้งต่อไป ปรับ f มาทางกว้างให้ชัดตื้น
ครั้งที่ 9 ถ่ายที่ 1/180 f 6.3 EV=+1 ครั้งที่ 10 ถ่ายที่ 1/250 f 5.6 EV=+1 ครั้งที่ 11 ถ่ายที่ 1/400 f 4.5 EV=+1 ครั้งที่ 12 ถ่ายที่ 1/500 f 4 EV=+1 และต่อไปถึงค่า f กว้างที่สุด โดยคงค่า EV +1
ในการถ่ายภาพนี้ 12 ครั้ง ในรูป 1-4เราจะได้เห็นภาพที่ชดเชยแสง EV ต่างกัน และรูปที่ 5 -12 เราจะได้เห็น ความคมชัด จากการถ่ายค่าแสง EV เดียวกัน แต่ f ต่างกัน
ถ้ามีเวลาพอก็ลองถ่าย ค่า EV = 0 ,= +0.5 ,= 2 ด้วยค่า f ที่ต่างกัน อีก ชุดละ 8 ภาพ (ครั้งที่ 5-12) ถ้าถ่ายทั้งหมด ก็จะรวมทั้งหมด 4 ชุด x ชุดละ 9 ภาพ = 36 ภาพ ซึ่งแต่ละภาพ จะไม่เหมือนกันเลย
ถามว่าถ้าในเมื่อ ค่าแสงชดเชย EV +1 คือค่าแสงพอดี ทำไมต้องลองถ่ายหลายๆ f ในค่า EV อื่นๆ ตอบว่าก็แค่เพียงอยากให้เห็นด้วยตาตัวเอง ถ้าสังเกตุภาพถ่ายสวยๆ ของนักถ่ายภาพ ก็จะพบว่า ไม่ใช่เพียง การชดเชยแสงที่พอดีเท่านั้น ที่ทำให้ภาพนั้นๆสวย และนี้เอง ที่เป็นอีกเหตุผลของการชดเชยแสง ว่าจะให้ + หรือ - เทาไหร่นั้น ไม่มีสูตรแน่นอนตายตัว
พอเสร็จจากภาพชุดแรก 36 รูป ในกรณีที่ วัตถุสว่างกว่าฉากแล้ว ก็ไปต่อที่ ภาพ วัตถุ สว่างกว่าฉากมากๆ ฉาก สว่างกว่าวัตถุ ฉากสว่างกว่าวัตถุมากๆ ฯลฯ
แล้วค่อยเอามาเปิดดูในจอคอม เชื่อว่าภาพที่ถ่ายจะเพิ่มความเข้าใจในการถ่ายภาพได้มากกว่าการอ่านแน่นอน
แก้ไขเมื่อ 12 ก.พ. 53 16:43:31
จากคุณ |
:
นายไวรัส
|
เขียนเมื่อ |
:
12 ก.พ. 53 16:39:15
|
|
|
|
 |