 |
ความคิดเห็นที่ 3 |
กระบวนการอัดภาพ JPEG เล่นกับจิตวิทยาการรับรู้ของคน
อย่างแรกคือ คนเรา จะไม่สามารถแยกแยะรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ที่น้อยมากๆ ออกได้ ถ้ามีจุดสนใจใหญ่ๆ ชักนำความสนใจ
อย่างที่สองคือ เราไม่สามารถรู้ได้ว่า ภาพที่เราเห็น มีส่วนขาดหายไป ถ้าหากว่า 1.เราไม่เคยเห็นภาพที่สมบูรณ์ และ 2.ส่วนที่หายไป มันน้อยมาก
อย่างที่สามคือ .. ใจเ าจะเติ ส่ นทีหายไป โดยอั โ มัติ ถ้าหากว่ เ าเคยมีปร สพกา ณ์ นั้นๆมาแล้ว
สามอย่างนี้ เป็นผลจากการศึกษามานาน  กระบวนการ JPEG จะเริ่มต้นด้วยการคำนวนหาส่วนของภาพ ที่เข้าข่ายกฏเกณฑ์ที่ว่าทั้งสามข้อนั้น ก่อนทิ้งข้อมูลภาพนั้นไป
ทำให้ข้อมูลส่วนที่เหลือ 1.มีปริมาณน้อยลง 2.มีความซ้ำซ้อนกันมากขึ้น
ความซ้ำซ้อนที่มากขึ้น ทำให้สามารถใช้รหัสสั้นๆ ชุดเดียว ขนาดเล็กๆ แทนข้อมูลชุดนั้นได้ โดยไม่ต้องเก็บตัวข้อมูลเองแท้ๆ
อย่างเช่น ถ้ามีเลข 10 ค่า ที่ไม่มีการซ้ำซ้อนเลย คือ 1, 3, 5, 7, 11, 13, 17, 19, 23, 29 เราต้องเก็บทั้งสิบค่านั้นไว้
แต่ถ้าเลขสิบค่านั้น ถูก"ปรับ" ให้กลายเป็น 1, 3, 5, 7, 12, 12, 18, 18, 23, 29 เราสามารถใชัสัญญลักษณ์ X แทนเลข 12 จำนวน 2 ตัวที่อยู่ติดกัน และ Y แทน 18 สองตัว ก็จะกลายเป็น 1, 3, 5, 7, X, Y, 23, 29
เห็นไหมว่า มันเหลือแค่ 8 ค่าเ่ท่านั้น โดยทิ้งค่าที่ถุกต้องออกไป
ถ้าผลการวิเคราะห์พบว่าค่า 1 กับ 29 คนไม่สนใจ ก็ตัดทิ้งมันไปอีก 2 ค่า ก็จะเหลือแค่ 6 ค่าเท่านั้นที่ต้องเก็บ
ตรงนี้แหละ ที่เป็นจุดหากินของโปรแกรมจัดการภาพว่า ใครเจ๋งกว่าใคร เพราะบางรายพบว่า สี่ค่าแรก สามารถยุบรวมได้ โดยให้ A แทนค่าก่อนหน้า แล้ว +2
1, 3, 5, 7, X, Y, 23, 29 ก็จะกลายเป็น
1,A,A,A,X,Y,23,29 .. เหลือ 6 ตัว
ถ้าให้ B แทนค่าที่ซ้ำกันสามตัว ก็จะกลายเป็น 1,A,B,X,Y,23,29 .. เหลือ 6 ตัว
ถ้าสนใจเรื่องลึกๆของ JPEG ต้องสนใจคณิตศาสตร์ครับ
จากคุณ |
:
แมวเหมียวพุงป่อง
|
เขียนเมื่อ |
:
6 มิ.ย. 53 07:42:24
|
|
|
|
 |