 |
ทำไม..! ที่ปริมาตรเท่ากัน ตะกั่วจึงหนักกว่าธาตุอื่นๆละครับ ฯลฯ และเมื่อหนักกว่าก็น่าจะแข็งกว่า
ไอ้คำถามว่า "ทำไม" .. คำตอบมันยาว และฟังเข้าใจยากเสมอ  คำตอบสั้นๆ คือ มันเป็นธรรมชาติอย่างนั้น .. ซึ่งเป็นคำตอบกำปั้นทุบดิน ไม่ได้ให้ความชัดเจนอะไรขึ้นมา 
ส่วนคำตอบแบบชัดเจนของคำถามสั้นๆพวกนี้ .. เรียน-สอนกันในหลักสูตรปริญญาตรี วิทยาศาสตร์เคมี เชียวนะครับ 
แถมสอนกันไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมงด้วย
คำถามที่ขึ้นด้วยคำว่า "ทำไม" เป็นคำถามที่ตอบยากมาก ยิ่งให้อธิบายฟังแล้วเข้าใจง่ายๆ .. ยิ่งตอบยาก 
พื้นฐานของมันคำตอบนี้ ต้องเข้าใจเรื่องของ โครงสร้างนิวเคลียส โครงสร้างอะตอม โครงสร้างอีเล็คตรอนวงนอกสุด ตำแหน่งในตารางธาตุ รูปแบบการยึดจับกันของอะตอม
นี่เอาคร่าวๆ 
พอพูดถึงตำแหน่งในตารางธาตุ ก็นึกออกเรื่ืองนึง ตะกั่ว เป็นธาตุที่อยู่ในหมวดหมู่เดียวกับ คาร์บอน, ซิลิกอน, เยอรมันเนียม, ดีบุก
ธาตุหมวดหมู่นี้ มีความพิกลสุดๆ
อย่างเช่นคาร์บอน เป็นได้ทั้งอโลหะ และโลหะ รูปแบบหนึ่งของคาร์บอน คือ กราฟไฟต์ ซึ่งเป็นสื่อนำไฟฟ้า, เป็นของแข็ง (ธรรมชาติ)ที่อ่อนนุ่มที่สุดในโลก, เป็นสารทึบแสง แสงไม่ทะลุผ่าน
ในขณะที่อีกรูปแบบหนึ่ง คือ เพชร เป็นฉนวนไฟฟ้า, เป็นของแข็งที่แข็งที่สุดในโลก, เป็นสารโปร่งใส ดัชนีหักเหสูงสุด ฯลฯ
หรือ silicon & germanium เป็นทั้งตัวนำไฟฟ้า & ฉนวน (semi-conductor) .. ทำให้เราเอามาทำทรานซิสเตอร์ และคอมพิวเตอร์ 
ความแปลกประหลาด ของธาตุหมู่นี้ .. เกิดจากโครงสร้างอีเล็คตรอนวงนอกสุด ซึ่งมีเลเวล p (p-orbital ) ถึงตรงนี้ ผมว่า น่าจะเริ่มมึนแล้ว จบดีกว่า
-----------------------------------------
อ้อ ... ไอ้ที่ผมขีดเส้นใต้ไว้ในคำถาม คำว่า "น่าจะ" มันคือ คำตอบฟันธง
"น่าจะ" เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ แสดงว่า เป็นก็ได้ ไม่เป็นก็ได้
ลูกโป่งใบใหญ่ๆ ใส่น้ำเต็ม ... หนักกว่าเข็มเหล็กนับพันๆหมื่นๆเท่า แต่ ลูกโป่งน้ำ ที่หนักกว่า .. แข็งกว่าเข็ม .. อย่างนั้นหรือ 
น้ำหนัก กับความแข็ง มันคนละเรื่องครับ
จากคุณ |
:
แมวเหมียวพุงป่อง
|
เขียนเมื่อ |
:
30 พ.ย. 53 07:02:34
|
|
|
|
 |