Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
เล่าให้ฟัง เรื่อง การถ่ายพลุ ติดต่อทีมงาน

ปลายปีนี้เทศกาลเฉลิมฉลองบานตะไท ที่ขาดไม่ได้นั่นคือ

พลุ ครับ หลายงานก่อนหน้านี้ ทั้งลอยกระธง ทั้งวันพ่อ
ทั้งเทศงานงานแสดงต่าง ๆ ที่ผ่านไป วันนี้เลยขอเอาเรื่องราว
มาแบ่งปันให้อ่านกันนะครับ ซึ่งข้อความที่จะเขียนต่อจากนี้่
ก็มาจากการไปฟังอบรมมา ไปอ่านมา ไปถ่ายจริงๆ มา

จริงๆ แล้วการถ่ายพลุไม่ว่ากี่ตำรา เรื่องของที่จะต้องเตรียมก้มีดังนี้ครับ

1. กล้อง และเลนส์ที่เหมาะสม
   กล้อง คงไม่ใช่ปัญหา แต่เลนส์นี่ซิ อะไรเรียกว่าเหมาะสม
   สำหรับผม ผมเลือกช่วง Normal หรือ Wide เพราะอะไร เด๊่ยวล่างๆ
   จะมีภาพมาให้ยลกันครับ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า Fix หรือ Tele
   ถ่ายไม่ได้นะครับ ถ่ายได้หมดเพียงแต่ ผมหยิบของถนัดครับ
   เพราะระหว่างถ่ายพลุ การเปลี่ยนเลนส์ในที่มือ และรีบนั้น
   จะนำมาซึ่งหายนะครับ

2. เมมโมรี่ เลือกความเร็วดี ๆ ที่ว่างๆ  เพราะถ่ายพลุ ผมแนะนำ ไฟล์ใหญ่ที่สุด เผื่อเอามา Crop ครับ ดังนั้นขนาดไฟล์ มหึมาแน่นอน

3. แบตกล้อง สำคัญมาก เตรียมให้พอ มีสำรองได้ยิ่งดี
เพราะการถ่ายพลุ เราเปิดชัตเตอร์ นานครับ และบางทีเราต้องตั้งกล้อง
มุมงัด มุมแหงน จะก้มไปส่องช่องมองภาพบางทีมันไม่ถนัด
ดังนั้น live view พระเอกแน่นอนครับ และมันกินแบตครับ

4. เก้าอี้ เอาไปด้วยถ้าทำได้ บางทีเราต้่องนั่งรอนาน เพราะเราต้องไปจองทำเล แต่หัววัน

5. ไฟฉาย ไว้ส่องหาของ หรือทางเดิน เพราะมัน มืด

6. สเบียง น้ำ อย่าให้ขาด

7. ศึกษาทิศทางของพลุ ลม และฉากหน้า ฉากหลัง

8. ขาตั้ง นี่ขาดไม่ได้เลยทีเดียวเชียว

9. สายลั่น หรือรีโมท ถ้ามีจะช่วยให้ชีวิต มีความสุขขึ้นเยอะ

10. วิทยุ ไำว้ฟังข่าว จะได้ตามทันว่า พลุจะเริ่มหรือยัง เริ่มตอนไหน ฝั่งไหน

11. สำคัญที่สุดครับ ดวง พอไปด้วยครับ ไม่มีดวง ก็อย่าหวังได้ภา่พดี


เอาล่ะ ของพร้อมแล้ว ลุย
1. สำรวจทำเลพื้นที่ พื้นที่ปิดอย่าแหกรั้วเข้าไป อันตราย ทั้งโจร ทั้งลูกปืนเจ้าของที่

2. เลือกทำเลได้แล้ว กางขาตั้ง ดูทางลม ถ้าลมพัดใส่หน้าจัง ๆ
ก็คิดได้เลยว่า ควันจากพลุ ก็จะเข้ามาหาเราเต็ม ๆ เช่นกัน

3. เลือกใส่เลนส์ที่เหมาะสม ส่วนมากผมใช้ normal / wide
เพราะเทเล คอนโทรลลำบากในการถ่ายทางไกลแสงน้อย ๆ
และไม่รู้ว่าพลุ จะขึ้นตรงไหน

อย่าลืมนะครับ การเปลี่ยนเลนส์ขณะเรารีบ ๆ ในความมือ นำมาซึ่งหายนะ ทั่งหล่น ทั้งเสียโอกาส

4. ปิดระบบ Noise Reduction ทั้ง ชัตเตอร์นาน และ iso สูง

5. ปิดกันสั่นที่เลนส์

6. ใช้ระบบ Manual Focus ตั้งระยะโฟกัสที่ infinity
(ศึกษาคู่มือเลนส์ดูว่า ระะ infinity ของเลนส์จะตั้งอย่างไร ในกรณีเลนส์ที่ไม่มีบอกระยะโฟกัส)

7. ประกอบสายลั่น หรือรีโมท ระวังรีโมทคนอื่นส่มาโดนด้วยล่ะ

8. ตั้งค่าหน่วงเวลาการกดชัตเตอร์ 2 วินาที ในกรณี ใช้มือกด (ไม่มีสายลั่น)

การตั้งค่ากล้อง ผมใช้ Shutter B เพื่อเลือกเอาเองว่า
จะเปิดชัตเตอร์นานแค่ไหน

รูรับแสง  F11 - F16 เพื่อให้่เส้นพลุคมชัด

ISO 100 หรือ 200 ไม่เกินนี้

ขนาดไฟล์ L ใหญ่สุด

จากนั้นขอให้บันเทิงเริงใจ

พลุบางประเภท ต้องกดชัตเตอร์ตั้งแต่ เริ่มยิง หางพุ่งขึ้นฟ้าจนแตกตัวดับลง จึงปล่อย (ชัตเตอร์นาน)

บางประเภท ต้องกดชัตเตอร์สั้น ๆ แค่บันทึกรูปร่าง (ชัตเตอร์เร็ว)

มาดูภาพประกอบกันนะครับ

จากคุณ : MiraSport
เขียนเมื่อ : 6 ธ.ค. 53 21:38:13




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com