 |
แวะมาทักทายน้าลีโออีกรอบครับ สำหรับคำถามนี้ มีผู้รู้จริง อธิบายเอาไว้หลายปีแล้วครับ อ่านแล้วเข้าใจง่ายดี และน่าจะตอบคำถามของน้าลีโอได้เกือบทุกข้อนะครับ น้าต้อม Mr.800si เขียนเอาไว้ตั้งแต่ปี 45 โน่นนะครับ เขาเขียนไว้ดังนี้ครับ ************************************************ เห็นมีคนพูดถึงกัน เลยไปคนมาให้อ่านเพื่อให้รู้กันว่า เวลาที่เราพูดถึง F Stop นั้น จริง ๆ แล้วมันหมายถึงอะไรกันแน่ F มาจากคำว่า Fraction หรือเศษส่วนนั่นเอง เวลาที่เราพูดว่า F/4 จึงหมายถึง 1/4 แล้วจริง ๆ แล้วมันคืออะไรกันล่ะ มันเป็นตัวบอกขนาดของช่องรูรับแสงของม่านชัตเตอร์ของเลนส์ที่ใช้นั่นเอง ที่ F/4 ของเลนส์ 50 มม จึงหมายถึงม่านชัตเตอร์ของเลนส์เปิดออกด้วยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 12.5 มม (50 x 1/4) หรือเลนส์ 1000 มม เปิดที่ F/22 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรูรับแสงที่เปิดจะเท่ากับ 45 มม (1000 x 1/22) F Stopคงต้องย้อนกลับไปดูที่มาของค่า F Stop กันเล็กน้อย ในตอนที่มีการเริ่มใช้เลนส์กันใหม่ ๆ เลนส์ 50 มม จะมีความยาว 50 มม จริง ๆ ในขณะที่เลนส์ 1000 มม ก็จะมีความยาว 1000 มม เช่นกัน ตอนนั้นเลนส์ไม่มีความซับซ้อนเท่ากับในปัจจุบัน องค์ประกอบของเลนส์จึงมีแค่ชิ้นเลนส์ชิ้นหน้าวางอยู่ที่ปลายกระบอกเลนส์เท่านั้น สูตรข้างบนที่กล่าวไปแล้วจึงสามารถนำมาใช้กับเลนส์ประเภทนี้ได้อย่างไม่มีปัญหา อย่างไรก็ดีในกรณีของเลนส์ยุคใหม่ที่มีชิ้นเลนส์ซับซ้อน ทำให้ขนาดของเลนส์ไม่จำเป็นต้องเท่ากับทางยาวโฟกัสจริง ๆ ของมัน เช่นเลนส์ 1000 มม อาจจะยาวแค่ 250 มม เท่านั้น สูตรข้างต้นจึงไม่สามารถนำมาใช้กับเลนส์ยุคใหม่ได้โดยตรงอีกต่อไป แต่สิ่งที่เราได้จากสูตรนี้คืออัตราส่วนของขนาดรูรับแสงที่เปลี่ยนไป เมื่อเส้นผ่าศูนย์กลางของขนาดรูรับแสงมีค่าเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะมากขึ้นสองเท่า หรือน้อยลงครึ่งหนึ่ง อัตราส่วนหรือแฟคเตอร์ที่ใช้ในการคูณหรือหารจะคงที่คือเท่ากับ 1.4 เสมอ (รากที่สองของ 2 คือ 1.4) และนี่คือที่มาของกฎกำลังสองผกผัน (Inversed Squared Law) นั่นเอง จากจุดนี้จึงทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า เมื่อรูรับแสงเปิดกว้างขึ้นสองเท่า หรือเล็กลงครึ่งหนึ่ง ปริมาณแสงที่ผ่านเลนส์ก็จะมากขึ้นสองเท่าหรือน้อยลงครึ่งหนึ่งด้วย เพื่อให้เรียกขานกันง่ายขึ้น ก็เลนเรียกปริมาณแสงที่เปลี่ยนแปลงไปเท่าตัวให้เท่ากับ 1 สตอปนั่นเอง กล่าวโดยสรุปสั้น ๆ ก็คือ เมื่อคุณคูณหรือหารค่ารูรับแสงด้วย 1.4 คุณจะได้ปริมาณแสงที่มากขึ้นหรือน้อยลง 1 สตอป ทีนี้เรามาดูกันว่ารูรับแสงสูงสุดที่เป็นไปได้เท่ากับเท่าไหร่ จากสูตร F Stop = A/FL ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรูรับแสงสูงสุดที่เป็นไปได้ในทางทฤษฎีคือเท่ากับทางยาวโฟกัสของเลนส์ ดังนั้น F Stop สูงสุดจึงเท่ากับ FL/FL = 1 f/1 จึงเป็นตัวเริ่มต้น เราจึงหาค่ารูรับแสงถัด ๆ ไปในแต่ละสตอปที่รับแสงน้อยลงได้โดยการหารด้วย 1.4 เราก็จะได้ค่าถัดไปคือ 1/1.4 หรือ f/1.4 สุดท้ายเราก็จะได้ series ของค่ารูรับแสงคือ 1 1.4 2.8 5.6 8 11 16 22 เลนส์ที่มีขนาดรูรับแสงสูงสุด f/1 ผลิตได้ยากมากในทางปฏิบัติ ถึงทำได้แต่ราคาแพงมากกก เท่าที่ทราบมีแค่ตัวเดียวในโลกที่มีรูรับแสงกว้างเท่านี้ก็คือ เลนส์ EF 50 f/1.0 L ของแคนนอนที่มีราคาขายร่วมแสนบาท !!! ในกรณีของชัตเตอร์สปีด หลักการคำนวณหาง่ายกว่า F Stop มาก ๆ ๆ เริ่มจากชัตเตอร์ 1 คูณหรือหารด้วย 2 ก็จะมีค่าเปลี่ยนไป 1 สตอป ทีนี้ก็มีคนสงสัยว่าทำไมจึงเป็น 1, 1/2, 1/4, 1/8, 1/15, 1/30, 1/60, 1/125, 1/250, 1/500, 1/1000 แทนที่จะเป็น 1, 1/2, 1/4, 1/8, 1/16, 1/32, 1/64, 1/128, 1/256, 1/512, 1/1024 คำตอบก็คือการ rounding หรือปัดเศษทศนิยมเท่านั้นเองครับ ซึ่งตัวเลขจริง ๆ ก็ผิดเพี้ยนน้อยมาก ดูได้จาก ค่าแสดง ค่าจริง %Error Error Value 1 1 0% 0 sec. 1/2 1/2 0% 0 sec. 1/4 1/4 0% 0 sec. 1/8 1/8 0% 0 sec. 1/15 1/16 6.66% .004 sec. 1/30 1/32 6.66% .002 sec. 1/60 1/64 1.50% .00023 sec. 1/125 1/128 2.40% .00019 sec. 1/250 1/256 2.40% .00009 sec. 1/500 1/512 2.40% .00005 sec. 1/1000 1/1024 2.40% .00002 sec. จบแล้วจ้า ............................................................................................................................ ^_^ จากคุณ : Mr800Si - [14 ก.พ. 4510:38:16]
จากคุณ |
:
arnold_A1 (arnold_A1)
|
เขียนเมื่อ |
:
21 ม.ค. 54 19:59:19
|
|
|
|
 |