จริงหรือไม่ กับการถ่ายรูปรับปริญญา
|
 |
จัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ถ่ายภาพรับปริญญาได้ยากที่สุด และประทับใจมากที่สุด
งานถ่ายภาพที่ประทับใจมากที่สุด ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับชุดครุยเทวดา เหตุผลที่ชอบคือ การเดินทางเรียกได้ว่าสะดวกที่สุด สามารถเลือกวิธีการเดินทางได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า หรือ รถเมล์ และอยู่ใกล้ห้างมากที่สุด เมื่ออยากไปหลบร้อนระหว่างบัณฑิตซ้อมหรือเข้ารับพระราชทานปริญญา อีกทั้งชุดครุย ที่ทำให้บัณฑิตไม่ร้อนจะล้าไม่อยากถ่ายภาพ เรื่องการจัดเวลาในการให้ถ่ายภาพดีมาก เขาให้ถ่ายในช่วงเช้าอย่างเต็มที่และเข้าพิธีรับพระราชทานปริญญาในช่วงบ่าย และสถานที่มีให้ถ่ายอย่างจุใจ เรียกได้ว่าถูกใจช่างภาพหลาย ๆ คนได้เป็นอย่างดี
เริ่มมหาลัยแรกก่อนเลย 1. งานที่ถ่ายภาพยากที่สุด คือ ที่ ม.รามคำแหง เป็นงานที่ทำให้ผมลำบากใจมากที่สุด วันซ้อมสามารถนำรถจอดได้ที่ห้างใกล้มหาวิทยาลัย แต่เดินไกลเอาเรื่องเหมือนกัน ที่นี่แม้ว่าเรามาแต่เช้า แต่ก็มีคนจำนวนมากที่มาก่อนเรา (เขามาค้างกันเลย) การจะถ่ายต้องมีการวางแผนและนัดพบกันดี ๆ เวลาในการถ่ายภาพก็มีไม่มาก บัณฑิต จะเข้าหอประชุมเร็ว และกว่าจะออกก็เย็น บัณทิตจะอ่อนล้าและหิวข้าวมาก ทำให้ถ่ายภาพสวย ๆ ได้น้อย ทางแก้คือ นัดถ่ายนอกเวลา จะมีโอกาสได้ภาพที่สวยถูกใจมากกว่า สถานที่สะดวกและถ่ายรูปได้สวยผมมักไปที่สวนหลวง ร.9
2. รองลงมาที่ ม.ธรรมศาสตร์ ที่ว่าถ่ายยากเพราะ จำนวนประชากรที่หนาแน่นเมื่อเทียบกับพื้นที่อันมีอยู่จำกัด และสถานที่มักชอบแย่งกันถ่ายภาพไม่ว่าจะเป็น ป้ายมหาวิทยาลัย แม่โดม หรือรูปปั้น จะมีคิวที่ยาวพอสมควร แต่ที่นี่มีการแบ่งการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรเป็นภาคเช้า-บ่าย จึงต้องมีการเตรียมตัวที่ดี ยังไงมาแต่เช้าย่อมดีกว่า (อย่างน้อยสามารถนำรถมาจอดที่สนามหลวงได้ แต่ขากลับรถค่อนข้างติดสาหัส) สิ่งที่ต้องเตรียมเอาไปเพิ่มคือถุงพลาสติกใบใหญ่ ๆ และร่ม เพราะช่วงนี้ฝนชอบตก
3. ที่ ๆ ใช้เลนส์ไวด์มากที่สุด งานรับปริญญาของ ABAC วันซ้อมไปถ่ายที่ วิทยาเขตบางนา เป็นสถานที่เรียกได้ว่าเข้าไปแล้วเหมือนหลุดมาอยู่เมืองที่เอาแหล่งท่องเที่ยวทั่วโลกมารวมกัน ซึ่งสวยมาก มีละครมาถ่ายทำที่นี่หลายเรื่อง แต่ถ่ายภาพได้ยาก การที่จะถ่ายทั้งคนและตึกให้ได้อยู่ในเฟรมเดียวกัน แล้วออกมาสวยเป็นเรื่องยากมาก เรื่องการเดินทางก็ลำบาก ยิ่งไม่มีรถส่วนตัวไปก็ยิ่งลำบาก วันจริงจะรับที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์ บางปีคนจะแน่นมากเรียกได้ว่าเลนส์เทเลซูมไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้
4.อันดับต่อมาให้เป็นที่ ม.กรุงเทพ วันซ้อมถ่ายที่วิทยาเขตกล้วยน้ำไท หากสามารถมาแต่เช้าได้ จะมีที่จอดรถรอบนอกมหาวิทยาลัย และมีที่จอดรถแบบเสียค่าบริการ (20 บาท) แต่มาสายเกิน 7 โมง ที่จอดจะหายาก การถ่ายภาพหาก นัดถ่ายภาพแต่เช้าจะไม่ลำบากสามารถใช้อุปกรณ์ได้อย่างหลากหลาย แต่พอสาย ๆ จะเริ่มถ่ายยาก สิ่งที่ยากของที่นี่คือ มุมถ่ายภาพมีให้ถ่ายได้น้อย วันจริงรับที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์ จะคล้าย ๆ กับข้อที่ผ่านมาแต่หากอยากได้ภาพดี ๆ ต้องนัดวันไปถ่ายที่ วิทยาเขต รังสิต ซึ่งมีมุมถ่ายภาพ การเดินทางไปที่นี้สะดวกสุดคือรถไฟฟ้า และรถแท็กซี่ หากนำรถมาเอง สามารถจอดได้ที่ลานบริการจอดรถใกล้หอประชุมแห่งชาติ หรือไม่ก็ไปจอดที่ห้างโลตัส
5. ที่ ๆ จัดซุ้มสวย และฟรี ทั้งวันซ้อมและวันจริง บัณฑิตไม่ต้องสมทบทุนให้รุ่นน้อง ต้องที่ ม.ศรีปทุม (วิทยาเขตชลบุรี) เป็นผลงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์กับฝ่ายศิลป์ของมหาวิทยาลัยจัดทำให้ แต่ไม่มีซุ้มคณะ ที่จอดรถในมหาวิทยาลัยมีน้อย ทางมหาวิทยาลัยจะให้ไปจอดที่วิทยาลัยพละ มันก็ไกลเหลือเกิน เวลาในการถ่ายภาพมีน้อย มักจะเข้าพิธีประสาทปริญญาในช่วงเช้า ออกมาเที่ยง และคนก็แน่น อากาศร้อน ร่มไม้ก็มีน้อย
ส่วนที่ ม.ศรีปทุม วิทยาเขตบางเขน วันซ้อมจะซ้อมรับที่ มหาวิทยาลัย วันจริงรับที่สวนอัมพร จะแบ่งเข้ารับเป็นภาคเช้า บ่าย ช่วงบัณฑิตเข้าหอประชุมผมชอบแนะนำให้ญาติ ๆ บัณฑิตที่เข้ารอบเช้าไปพักที่ สวนสัตว์ และนัดจุดนัดพบ-เวลาออกดี ๆ จะได้ไม่พลัดหลงกัน จะถ่ายในสวนสัตว์หรือพระราชวังก็ได้แล้วแต่ไอเดียของแต่ละคน ลักษณะงานรับปริญญาของมหาวิทยาลัยนี้จะเป็นแบบ วันนี้ซ้อมพรุ่งนี้รับ การเดินทาง ผมชอบนั่ง TAXI มากกว่าสะดวกดี
6. บัณฑิตชุดขาว ครุยดำ สวมหมวก ของ ม.แม่โจ้ เป็นมหาวิทยาลัยที่ทำให้ขนลุกมากที่สุด ไม่ใช่เพราะความกลัว แต่เป็นตอนที่เหล่าขบวนบัณฑิตกำลังเดินเข้าหอประชุม สองข้างทางจะมีรุ่นน้องคอยบูมคณะ คอยปรบมือ แต่ที่ชวนขนลุกคือ ตอนที่ทุกคนร้องเพลงมหาวิทยาลัย เป็นเอกลักษณ์ของที่นี่ เรื่องการเดินทางผมไม่ค่อยถนัด
7. บัณฑิตสวมหมวกอีกที่คือ ม.เกษตร ส่วนมงกุฎดอกไม้ไม่เกี่ยว(บางมหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้สวมมงกุฎดอกไม้) เป็นที่ถ่ายภาพสนุก แต่เมื่อจะถ่ายภาพคณะในวันซ้อมพื้นที่ถ่ายค่อนข้างจะแคบ
8. ม.บูรพา (ชลบุรี) มีที่จอดรถมากพอสมควร แต่หากมาสายก็ไม่มีจอดรถ(ฟรี) ในมหาวิทยาลัย โอกาสได้ภาพสวยมีมากเนื่องจากมีมุมให้ถ่ายภาพค่อนข้างมาก มีโอกาสใช้เลนส์ได้ทุกตัวไม่ว่าจะเป็นมุมกว้าง หรือ เทเล ก็ได้ ช่วงเวลาในการถ่ายภาพค่อนข้างดี มีโอกาสถ่ายภาพตั้งแต่เช้าถึง ประมาณ 10 โมง
9. ม.หัวเฉียว ที่ลำบากเห็นจะเป็นที่จอดรถ ที่ต้องจอดข้างถนน จุดเด่นของที่นี่คือความเป็นจีน จะมีสวนหย่อมแบบจีนให้ถ่าย
สิ่งที่เหมือนกันหมดทุกมหาวิทยาลัย
1. ญาติ ๆ เหล่าบัณฑิตนิยมให้ดอกไม้ จนลำบากต้องมีคนมาช่วยถือ ผมแนะนำทางออกที่เหล่าบัณฑิตต้องชอบทุกคนคือ ดอกไม้ไม่ต้อง ขอซองอย่างเดียว พกพาง่าย ไว้ที่บัณฑิตเลย ไม่ลำบากต้องให้ใครช่วยถือ และบัณฑิตเอาไปเป็นเงินก้นถุงได้ ซื้อดอกไม้แค่ช่อสวย ๆ สักช่อก็พอ
2. บัณฑิตผู้หญิงชอบถ่ายภาพมากกว่า บัณฑิตผู้ชาย และบัณฑิตผู้ชายถ่ายภาพยากกว่าบัณฑิตผู้หญิง เพราะถ้าเอาแต่ถ่ายบัณฑิตชายจะเป็นเพศที่ 3 ยกเว้นบัณฑิตเขาต้องการอย่างนั้น
3.เรื่องการใส่ชุดครุย มีบัณฑิตหลายคนที่ใส่ชุดครุยไม่เป็น ช่างภาพต้องเรียนรู้เรื่องครุยของแต่ละมหาวิทยาลัยว่า ต้องใส่อย่างไรให้ถูกและดูดี ติดเข็มกลัดไว้สักสองสามตัว ไว้กลัดชุดครุยไม่ให้ปลิว จะช่วยให้ถ่ายภาพง่ายขึ้น
4.กระดาษซับมัน มีติดตัวไว้บ้างไม่ใช่เรื่องเสียหาย
5. เวลาถ่ายภาพคณะ ไม่ควรใช้แฟลช เพราะจะไปทำให้ภาพถ่ายของกล้องใหญ่จะด่างไม่เท่ากันต้องคอยจังหวะดี ๆ
6. ต้องเจอกับญาติของบัณฑิตที่เป็นตากล้องมือโปร(โตซัว) คอยแนะนำเทคนิค หรือคอยว่ามุมในการถ่ายภาพ อย่างเช่น ถ่ายรูปย้อนแสงทำไม รูปเสียหมด หรือไม่ก็ ใช้แฟลชสะท้อนเพดานสิ ภาพสวยกว่าเยอะ (เพดานสูงเกือบ 10 เมตร )
7. มีเลนส์โปรไว้ข่มชาวบ้าน เลนส์ตัวใหญ่ ยิ่งสีขาว ยิ่งดี และต้องห้อยกล้องโปรสองบอดี้ (เอาไปเท่าที่ต้องใช้ก็พอ และมีกล้องสำรองไว้หากกล้องหลักพัง)
8. ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ชอบฟิล์มมากกว่าดิจิตอล และต้องเตรียมฟิล์มสำรองอย่างน้อย 2 ม้วน และถ่านสำรองอีก 1 ชุด
9. ไปถึงที่นัดก่อนบัณฑิต ดีกว่าบัณฑิตถึงก่อนเรา และกลับหลังบัณฑิต ทำเป็นนิสัยรับรองงานไม่ขาดมือ
จากคุณ |
:
kimji_bkk
|
เขียนเมื่อ |
:
19 ก.พ. 54 00:10:15
|
|
|
|