๑. ความสมบูรณ์ด้านเทคนิค
ทั้ง บรรณาธิการ ผู้ตัดสิน ผู้ประเมิน ต่างๆ ล้วนแต่เห็นพ้องกันว่า ภาพที่ดี ควรที่จะมีพื้นฐานแสดงออกถึงเทคนิคต่างๆ เหล่านี้อย่างสมบูรณ์พร้อม คำถามด้านเทคนิคที่เราต้องมองหาคำตอบในภาพที่จะวิจารณ์ คือ
๑.๑ โฟกัส
ภาพชัดหรือไม่ ถ้าไม่ชัด มันไม่ชัดอย่างตั้งใจ และสมบูรณ์แบบในความไม่ชัดนั้นหรือไม่ (ในอีกนัยหนึ่ง ประสบความสำเร็จในการนำเสนอความไม่ชัดนั้นหรือไม่)
๑.๒ ความกระจ่าง
ภาพมีรอยต่างๆ หรือไม่ มีจุดเปื้อนฝุ่นต่างๆ มีแสงแฟล์ร หรืออื่นๆ หรือไม่
๑.๓ การรับแสง (การเผยแสง ? Exposure)
ภาพสว่างไป มืดไป หรือ พอดีแล้ว
๑.๔ การถ่ายทอดสภาพแสง
มันตัดกันเกินไป หรือภาพแบนไป หรือ พอดีแล้ว
๑.๕ การถ่ายทอดสี
สีเที่ยงตรงหรือไม่ หรือเป็นสีในแบบต่างๆ ที่ผิดไปจากปกติ อย่างตั้งใจ หรือไม่
๒. องค์ประกอบภาพ
มีผลอย่างมากจากอุปกรณ์คือตัวกล้อง ระยะช่วงเลนส์ที่ใช้
เป็นส่วนที่สำคัญ ในการนำภาพที่มีความสมบูรณ์พร้อมทางเทคนิค ให้เข้าสู่ความงามทางศิลป์
๒.๑ ความสมดุล
การวางตำแหน่ง ต่างๆ ได้ แนวที่ควร หรือไม่
๒.๒ ความเป็นเหตุผล
การนำเสนอได้ผลดีหรือไม่ มองแล้วราบรื่นหรือไม่
๒.๓ ความมุ่งหมาย การนำเสนอ
มีจุด เด่นที่น่าสนใจมอง หรือ นำเสนอในรูปแบบต่างๆ อื่นๆ (Pattern, Design)
๒.๓ ความชัดเจน
มันสมบูรณ์ หรือขาดอะไรไป
๓. การดึงดูดทางอารมณ์
เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ในการที่จะ นำภาพที่สมบูรณ์พร่อมทางเทคนิค และทางศิลป์ในข้างต้น ไปสู่ความเป็นภาพที่ยิ่งใหญ่ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และ เป็นที่จดจำ
๓.๑ ความเป็นไป (Dynamic)
ภาพนั้นดึงความสนใจของคุณในทันที หรือไม่
๓.๒ การกระตุ้น
ภาพนั้นก่อให้คุณเกิดจินตนาการ หรืออารมณ์คล้อยตามหรือไม่
๓.๓ สรรค์สร้าง
ภาพนั้น ทำให้มองเห็น สิ่งธรรมดาๆ ในแบบใหม่ๆที่โดดเด่นหรือไม่
๓.๔ ความแปลก
ภาพนั้นแสดงสิ่งแปลกๆ สิ่งผิดปกติทั้งหลาย ในมุมมองที่โดดเด่น หรือไม่