 |
30D เกินพอสำหรับงานที่จะทำ
อย่าลืมว่า ตัวแมลงไม่ได้บาง ในขณะที่ความหนาสไลด์มันบางมาก การเอาตัวแมลงเข้าไปในสไลด์โดยไม่ให้มันตาย ... แทบจะเรียกได้ว่า next to impossible
ยิ่งโดนความร้อนในเครื่อง รับรองว่า ฟื้น&ดิ้น แน่นอน
KM scanner มันเก่ามากแล้ว และตอนนี้ ก็น่าจะไม่มีใครใช้ อย่าลืมว่า งานวิจัยทุกงาน มีสิทธิสร้างเทคนิคใหม่ๆได้ โดยไม่จำเป็นต้องเหมือนเดิม
ผมว่า ถ้าเอาจริงๆ อาจต้อง"ยอม"ทำลายชีวิตซัก 4-5 ตัว งานวิจัยสาย bioscience .. น้อยครั้งที่จะไม่มีชีวิตที่ปลิดปลิว
ลองติดต่อ ตปท. ที่เขาเล่นในสายเดียวกับคุณ และยังมี KM scanner .. ให้เขา เด็ดปีก & scan ภาพ ก่อนส่งมาให้คุณทั้งไฟล์ภาพและปีก (advisor ควรช่วยเหลือตรงนี้ได้)
แล้วคุณก็เอาปีกนั้น มาถ่ายด้วย 30D หรือ กล้องอะไรก็ได้ เทียบคุณภาพ ความคมชัด สีสัน รายละเอียด ระหว่างกล้อง vs scanner
นั่นคือ ผลการวิจัยฉบับแรก
ถ้ามันไม่แตกต่าง (CI -> H0, p < 0.01) มันคือ original research แบบ Non-inferiority trials เท่ากับสร้าง trend & standard ของการวิจัยในสาขาของคุณ ให้มีการใช้กล้อง dSLR เืพื่อทดแทน scanner
ถึงมันมีความแตกต่าง คุณก็สามารถระบุความแตกต่างได้
Editor เขาจะตีเทคนิค ก็ต่อเมื่อเทคนิคสับสน ขาดความแน่ชัด ไม่มีการควบคุมปัจจัยที่อาจมีผลต่อ raw data
อย่างเช่นกล่องโฟม .. สีของกล่อง มันไ่ม่เท่ากัน การสะท้อนแสงแฟลช อาจทำให้สีผิดเพีี้ยนได้
แต่ถ้าคุณใช้ gray card หรือ Macbeth chart เป็น reference standard & บุข้างกล่องด้วยกระดาษสีเทา และเขียนลงไปใน material & method ชัดๆเจนๆ มันก็จบปัญหาเรื่อง color temp shift ที่อาจเกิดจากแฟลช หรือ สีกล่องโฟม
ปัญหาที่จะเกิดถัดมาคือเรื่อง jpeg data lost ถ้าคุณระบุว่า ถ่ายเป็น raw และแปลงเป็น TIFF โดยใช้โปรแกรม A, B, C บลาๆ ซึ่งเป็นมาตรฐาน (de facto standard) .. เขาก็จะค้านคุณไม่ได้
ฯลฯ
จากคุณ |
:
แมวเหมียวพุงป่อง
|
เขียนเมื่อ |
:
1 มิ.ย. 54 19:24:03
|
|
|
|
 |