 |
เพิ่งทราบว่าลุงตุ้ยนามสกุล วิรยะศิริ รู้สึกคุ้นๆ ว่าเคยได้ยินชื่อ สรรพสิริ วิรยศิริเลยไป search ประวัติของท่านมา.....
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สรรพสิริ วิรยศิริ (10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463 - )[1] บุตรชายคนเล็กจากพี่น้องจำนวน 4 คน[2] ของพระยามหาอำมาตยาธิบดี (เสง วิรยศิริ) อดีตราชเลขานุการในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [2] อันได้แก่ ทวีศักดิ์ เข็มน้อย อนงค์นาฏ และสรรพสิริ กับนางนาฎ วิรยศิริ ท่านเป็นอดีตผู้สื่อข่าวสงคราม อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 และสถานีวิทยุกระจายเสียง ททท. เป็นบุคคลที่อยู่ในวงการโฆษณา วงการโทรทัศน์ ข่าวโทรทัศน์ ของประเทศไทยในยุคเริ่มแรก
สรรพสิริจบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ อนุปริญญาทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวิชาการถ่ายภาพจากสถาบันการถ่ายภาพแห่งนิวยอร์ก ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ข่าวต่างประเทศของกรมโฆษณาการตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เป็นผู้เขียนบทความเรื่อง วิทยุภาพ เป็นคนแรก เมื่อ พ.ศ. 2492 ซึ่งเมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้อ่าน ก็เกิดความคิดที่จะก่อตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ ขึ้นในปี พ.ศ. 2493 โดยก่อตั้งบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ขึ้นในปี พ.ศ. 2495[3] โดยสรรพสิริ ก็ได้เข้าร่วมงานในฐานะช่างภาพ รับผิดชอบฝ่ายข่าว และเป็นผู้ประกาศข่าวทางโทรทัศน์ รุ่นแรกๆ รุ่นเดียวกับ อาคม มกรานนท์[4]
เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2517 สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ย้ายห้องส่งโทรทัศน์จากวังบางขุนพรหม ไปที่ถนนพระสุเมรุ บางลำพู และเปลี่ยนระบบถ่ายทอดจากขาว-ดำ เป็นระบบสี ใช้ชื่อว่า สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 เมื่อ พ.ศ. 2517 (ปีเดียวกัน แต่ออกอากาศในปี พ.ศ. 2519) ขณะนั้นสรรพสิริดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัด รัฐวิสาหกิจสื่อสารมวลชน และเป็นผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 และวิทยุกระจายเสียง ททท.
ช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 สรรพสิริได้นำเสนอภาพเหตุการณ์ความรุนแรงที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทางโทรทัศน์ช่อง 9 ตามความเป็นจริง โดยเป็นผู้ตัดต่อภาพข่าวและบรรยายภาพด้วยตัวเอง ส่งผลให้ถูกปลดออกจากทุกตำแหน่งในทันที ภายหลังการรัฐประหารในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 โดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่[5] ทำให้ต้องหลบไปอาศัยที่จังหวัดระยองอยู่หลายปี
สรรพสิริเคยเป็นนักทำภาพยนตร์โฆษณา เป็นบุคคลแรกที่สร้างภาพยนตร์แอนิเมชันในประเทศไทย เมื่อประมาณ พ.ศ. 2484 จากโฆษณาชุด "หนูหล่อ" ของ ยาหม่องบริบูรณ์บาล์ม, ชุด "หมีน้อย" ของ นมตราหมี (ได้รับรางวัลชนะเลิศโฆษณาระดับภูมิภาคเอเชีย ที่สิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ. 2486) และ ชุด "แม่มดกับสโนว์ไวท์" ของ แป้งน้ำควินนา[6][7]
สรรพสิริเป็นผู้ก่อตั้งชมรมเรารักรถไฟ เป็นผู้ก่อตั้งหอเกียรติภูมิรถไฟ ตั้งอยู่ที่สวนจตุจักร เมื่อ พ.ศ. 2533[8][9] เป็นผู้จัดทำหนังสือ เพื่อนรถไฟ และ รถไฟของเรา ในปัจจุบันจุลศิริ วิรยศิริ (บุตรชาย) เป็นผู้ดูแลแทน เนื่องจากสรรพสิริ วิรยศิริ ได้ป่วยเป็นอัลไซมเมอร์มาหลายปีแล้ว
สรรพสิริ วิรยศิริ ได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นนักเขียนอาวุโสมีผลงานเป็นที่ยกย่องกว้างขวาง เป็นหนึ่งในผู้ได้รับรางวัลนราธิป ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2545 จัดโดยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
แก้ไขเมื่อ 02 มิ.ย. 54 13:30:12
จากคุณ |
:
กระรอกสามสี
|
เขียนเมื่อ |
:
2 มิ.ย. 54 10:28:07
|
|
|
|
 |