 |
พึ่งมีชีวิตรอดจากรถติดแหง่กๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เกือบ 3 ชั่วโมง จนแก๊สหมด, น้ำมันเกือบหมด .. อ๊ากซ์ซ์
สิ่งที่ทำให้ขนาดไม่เท่ากันมีหลายอย่างครับ
ปัจจัยแรกที่มีผลมากสุด คือ ระยะท้ายเลนส์ (back registered) ตามที่น้าๆแมวเหมียวพุงแฟ่บๆ หลายคนบอกไว้ (ของแท้ ต้องตีดัง )
จุดนี้ เห็นได้จากเลนส์ leica และเลนส์ 4/3 และยิ่งชัดเจนในกรณีของ m4/3
ปัจจัยที่สองคือ f/stop f/1.4 กับ f/2 .. พื้นที่รูรับแสงใหญ่กว่ากันสองเท่า
ชิ้นแก้ว ที่ใหญ่กว่ากัน 2 เท่า .. น้ำหนักอย่างต่ำก็ 2 เท่าเช่นกัน โครงสร้างที่ต้องรับน้ำหนัก .. ต้องขยาย เพื่อรองรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
ปัจจัยที่สามคือ ความยาวโฟกัสแท้จริง หลายคนจะงงๆ ว่า ทำไม เลนส์มุมกว้าง ถึงได้ใหญ่และหนัก
เลนส์องศารับภาพเกิน (เลนส์ฟิล์ม 135) 28mm .. ใช้การออกแบบธรรมดาๆ ไม่ได้ เพราะแสงที่มาจากขอบ จะต้องถูกหักเหมากกว่าแสงที่มาจากตรงกลางๆ
เลนส์ไวด์มากๆ .. ใช้การออกแบบที่เรียกว่า reversed telephoto .. "ง่ายๆ" คือ เอาเลนส์ tele มา"กลับด้าน"
สรุปก็คือ : เลนส์มุมกว้าง = เลนส์เทเลกลับด้าน ยิ่งกว้างมาก ความยาวโฟกัสเทเลก็ต้องยิ่งมาก
ปัจจัยที่สี่คือ "ลูกเล่น" ให้ผู้ใช้ อย่างเช่นระบบ AF, ระบบ IS ฯลฯ ที่ยัดเข้าไปในเลนส์ ยิ่งใส่มาก เลนส์ก็ยิ่งขนาดใหญ่มากขึ้นไปอีก 
ปัจจัยสุดท้ายคือ "ลูกเล่น" ของผู้ผลิต (หรือเคล็ดลับก็ได้ ) เคยดู leica ที่ถูกแยกชิ้นส่วน .. เจ้าประคุณเอ๊ย .. ของทุกชิ้นเนี่ย มันไม่ใช่แค่ความเนียนละเอียดที่เข้ากันได้เป๊ะๆๆๆๆ
โลหะบางชิ้น ผมว่าไม่ใช่เหล็ก เพราะแม่เหล็กดูดไม่ติด โลหะชิ้นเล็กๆ น้ำหนักเบา ดูบอบบาง แต่แท้จริงแข็งแกร่ง แต่แม่เหล็กดูดไม่ติด มีไม่กี่อย่าง .. ไทเทเนียมดูเหมือนจะเป็นคำตอบ ฯลฯ
ลูกเล่นพวกนี้ รวมไปถึงชิ้นแก้วพวก ED, ASPH ฯลฯ อะไรพวกนี้ด้วย
ของพวกนี้ ราคาแพงแน่นอน .. แต่ทำให้ขนาด & น้ำหนัก ลดลงได้มาก โดยที่ "ความเชื่อถือได้" เพิ่มขึ้น
ขอเท่านี้พอนะครับ
แก้ไขเมื่อ 01 ก.ย. 54 21:12:03
จากคุณ |
:
แมวเหมียวพุงป่อง
|
เขียนเมื่อ |
:
1 ก.ย. 54 21:07:00
|
|
|
|
 |