 |
อ้าาาาา เจอแล้ว
เมเปิลหอม มีชื่อวิทยาศาสตร์ Liquidambar formosana Hance อยู่ในวงศ์ Hamamelidaceae ชื่อสามัญ Formosan sweetgum เมเปิ้ลหอมเป็นไม้เมืองหนาวที่ทางหน่วยงานราชการหรือโครงการหลวงทางภาคเหนือ สั่งซื้อเมล็ดพันธุ์มาเพาะเพื่อปลูกเป็นไม้โตเร็วจากประเทศไต้หวัน นำเมล็ดมาทดสอบการเพาะขยายพันธุ์ เช่นที่ สถานีทดลองโครงการหลวงดอยอ่างขาง จ.เชียงใหม่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในรูปของการเพาะเลี้ยงเนื้อต้นเมเปิลหอม การศึกษาการขยายพันธุ์ไม้เมเปิลหอมโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ทำโดยนำตัวอย่างต้นกล้าและกิ่งจากต้นโตเต็มที่จากสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ มาดำเนินการที่คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้ชิ้นส่วนยอดและกิ่งอ่อนเป็นชิ้นส่วนทดลองทำการฟอกเพื่อให้ได้ชิ้นส่วนที่ปราศจากเชื้อ นำชิ้นส่วนที่ปราศจากเชื้อไปชักนำให้เกิดยอดและรากบนอาหารสูตร Murashige และ Skoog (MS) ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต แล้วนำต้นกล้าที่มีรากสมบูรณ์ทดลองย้ายปลูกเพื่อหาอัตราการรอดตาย นอกจากนี้ได้ศึกษาผลของการเปลี่ยนย้ายอาหารต่ออัตราการเพิ่มปริมาณกลุ่มยอดและประสิทธิภาพการเกิดราก ผลการศึกษาพบว่า วิธีการทำความสะอาดชิ้นส่วนที่มีเปอร์เซ็นต์ชิ้นส่วนที่มีปราศจากเชื้อมากที่สุด ทำโดยการใช้เมอคิวริคคลอไรด์ เข้มข้น 0.2 เปอร์เซ็นต์ 20 นาที สำหรับต้นกล้า และการใช้คลอร็อกซ์ เข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ 5 นาที ร่วมกับเมอคิวริคคลอไรด์ เข้มข้น 0.1 เปอร์เซ็นต์ 15 นาที สำหรับต้นโตเต็มที่ การเลี้ยงชิ้นส่วนทั้งจากต้นกล้าและต้นโตเต็มที่ สามารถชักนำให้เกิดยอดกลุ่มมีจำนวนยอดเฉลี่ยสูงสุดบนอาหารสูตรเดียวกัน คือ อาหารสูตร MS ที่เติม 6-benzylaminopurine (BAP) 1 มก./ล. ร่วมกับ indole-3-butyric acid (IBA) 0.1 มก./ล. อัตราการเพิ่มปริมาณของกลุ่มยอดจากการเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนต้นกล้าลดลงหลังจากการเปลี่ยนย้ายอาหารครั้งที่ 9 ในกลุ่มยอดที่เปลี่ยนย้ายอาหารทุก 15 วัน และลดลงหลังจากการเปลี่ยนย้ายอาหารครั้งที่ 6 ในกลุ่มยอดที่เปลี่ยนย้ายอาหารทุก 30 วัน เมื่อนำยอดที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาชักนำให้เกิดราก สามารถชักนำให้เกิดรากเฉลี่ยสูงสุดบนอาหารที่ประกอบด้วยธาตุอาหาร 1/6 เท่าของอาหารสูตร MS ไม่เติมไวตามินเติม IBA 5 มก./ล. สำหรับยอดจากการเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนจากต้นกล้า และอาหารที่ประกอบด้วยธาตุอาหาร 1/6 เท่าของอาหารสูตร MS ไม่เติมไวตามิน เติม IBA 2 มก./ล. สำหรับยอดจากการเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนจากต้นโตเต็มที่ จำนวนรากเฉลี่ยและเปอร์เซ็นต์การเกิดรากลดลง เมื่อมีการเปลี่ยนย้ายอาหารหลายๆ ครั้ง และต้นกล้าจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เมื่อย้ายลงปลูกในทรายหยาบมีอัตราการรอดตาย 100 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อย้ายปลูกลงบนดินมีการพัฒนาและเจริญเติบโตได้ดี
ต้นเมเปิลหอม เป็นไม้ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศหนาวเย็นการนำมาปลูกในบ้านเราแหล่งที่เหมาะสมคือพื้นที่ที่ราบสูงทางเหนือ แต่ว่าถ้าจะปลูกในกรุงเทพหรือพื้น้ที่ราบ ใบจะไม่แดง แต่โตได้ไม่ตาย ไม้เมืองหนาวหลายต้นปลูกในกรุงเทพแล้วโตได้ไม่ตายแต่จะไม่ออกดอกหรือผล เช่น นางพญาเสือโคร่ง, บ๊วย, ท้อ ส่วนที่ออกดอกได้แต่ดอกจะเล็กและใบมักจะไหม้ เช่น แมกโนเลีย ท่านซื้อต้นมาจากตามตลาดนัดต้นไม้ ซื้อเมเปิลมาเลี้ยงในกรุงเทพแล้วใบแดง...เพราะว่าเขาเอาไปเลี้ยงในห้องเย็นประมาณ 1 เดือน(ไม่ใช่ใส่ในตู้เย็น) ไม้เมืองหนาวจะออกดอกหรือผลได้ เขาจะต้องอยู่ในสภาพอากาศหนาวเย็นนับเป็นคาบชั่วโมงในอุณหภูมิต่ำในระดับหนึ่ง ซึ่งความเย็นในระดับองศานี้จำนวนกี่ชั่วโมงจะมีผลกระตุ้นต่อตาดอกให้เกิดไม่ใช่กระตุ้นตาใบ โดยปกติแล้วต้นไม้จะเริ่มแดงและทิ้งใบที่อุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศา ประมาณ เป็นเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 2 อาทิตย์ ครับ สำหรับการเพาะเมล็ด ผมก็ไม่เคยเพาะเมล็ดของต้นเมเปิ้ลหอม แต่คิดว่าน่าจะเหมือนกับการเพาะเมล็ดไม้เมืองหนาวทั่วไปที่ต้องผ่านขบวนการที่เมล็ดต้องผ่านอุณหภมิที่หนาวเย็น เพื่อทำลายระยะเวลาของการพักตัวของเมล็ดพวกไม้เมืองหนาว ผมมีข้อมูลมาแนะนำให้ดังนี้ครับ วิธีการ Stratification (moist – chilling) เป็นการทำลายการพักตัวเนื่องจากคัพภะต้องการอุณหภูมิต่ำ วิธีการคือเก็บเมล็ดไว้ที่อุณหภูมิ 1-8๐ซ. โดยให้ความชื้นและออกซิเจนเพียงพอ ทิ้งไว้นานตั้งแต่ 20-140 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของเมล็ดไม้ผล เมื่อครบกำหนด จึงนำมาเพาะต่อในอุณหภูมิที่เหมาะสมเมล็ดจึงจะงอกได้ ในกรณีเมล็ดไม่ได้รับอุณหภูมิต่ำนานพอจะทำให้ต้นกล้าที่เกิดขึ้นมาเตี้ย และแคระแกรน ตัวอย่างเช่น การลดช่วง stratification ของเมล็ดท้อ จาก 120 วัน เหลือ 68 วันจะทำให้ต้นกล้าที่เกิดขึ้นเตี้ย นอกจากนั้นถ้าเมล็ดได้รับอุณหภูมิต่ำ และความชื้นไม่สม่ำเสมอ จะทำให้เมล็ดกลับเข้าการพักตัวใหม่เป็นครั้งที่ 2 เรียกว่า secondary dormancy ซึ่งจะหลุดพ้นการพักตัวยากขึ้น
credit : http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=maipradab&topic=7993
จากคุณ |
:
Tosdy14ank
|
เขียนเมื่อ |
:
8 ก.ย. 54 11:05:32
|
|
|
|
 |