 |
มาเพิ่มเติมครับ
กล้องและเลนส์ที่จะถ่ายภาพกีฬาในร่ม ปกติช่างภาพสายกีฬาจะใช้ตัวท๊อปหรือตัวรองท๊อปของแต่ละแบรนด์ เช่น Canon ก็ 1D mark4 หรือ7D ,60D ส่วน Nikon ก็คงเป็น D3 หรือ D300s เรื่องเลนส์ก็คงหนีไม่พ้น 70-200 f2.8 IS
กรณีสามารถใช้แฟลชได้ โอกาสได้ภาพดีๆมีสูง การตั้งค่าน่าจะประมาณนี้ครับ (ขอยกตัวอย่างแคนนอนนะครับ ส่วนนิคลองเทียบรุ่นที่ใกล้เคียงครับ)
1. 1D mark4 - ISO2000, Speed 1/200-1/250, F5.0 (เลนส์70-200 F2.8L IS II ) 2. 7D - ISO1250, Speed 1/160-1/200, F4.0 (เลนส์70-200 F4L IS) 3. 50D - ISO800, Speed 1/160-1/200, F4.0 (เลนส์70-200 F4L IS) 4. หากเป็น Canon 5D (Full Frame) ซึ่งน่าจะเทียบได้กับ D700 ของนิคอน เนื่องจากการล็อคโฟกัสช้า และจำเป็นต้องใช้จุดโฟกัสที่กึ่งกลาง (จุดอื่นลองแล้วไม่ค่อยได้ผล ล็อคโฟกัสไม่ค่อยทัน กว่าจะล็อคได้ กว่าจะกดชัตเตอร์ นักกีฬาไปถึงไหนแล้ว) คงต้องแลกด้วยชัดลึกที่ F 6.3 หรือ F7.1 แล้วเพิ่มISO เป็น 3200 หรือ 4000, Speed 1/160-1/200 แต่เมื่อยิงแฟลช อาจได้ฉากหลังที่มืดกว่า แต่สามารถรักษาความคมชัดไว้ได้
สำหรับเรื่องการถ่ายภาพกีฬาในร่ม บางครั้งช่างภาพก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและการนำภาพไปใช้ บ้างก็บอกว่าลีลาและอารมณ์ต้องมาก่อน ความคมชัดและnoise พอยอมได้ สำหรับการนำไปใช้ในกิจการหนังสือพิมพ์ แต่ช่างภาพบางท่านก็อาจแย้งว่า ภาพมืดยังพอที่จะปรับแต่งในโปรแกรมคอมพ์ได้ แต่ภาพไม่ชัดหรือภาพเบลอ ไม่รู้จะหาโปรแกรมไหนมาทำให้ชัด นานาจิตตังครับ
สำหรับนิคอน D90 คาดว่าน่าจะใกล้เคียงกับ 50D ของแคนนอน แต่ให้เครดิตเรื่องการจัดการ noise ที่ทำได้ดี คงสามารถเพิ่มISOได้มากขึ้น
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือเรื่องเงาครับ หากสภาพสนามจำกัด ไม่ควรเลือกถ่ายในทิศทางที่นักกีฬาอยู่ห่างผนังสีอ่อนๆครับ หรือเลือกผนังด้านที่มีแสงสว่างของฉากหลังมากๆ เพื่อช่วยในเรื่องเงาจากแสงแฟลชบนผนัง รวมทั้งการถ่ายย้อนแสง Sportlight ที่อาจได้ภาพที่มีสีสรร หากเลนส์ที่ใช้ไม่มีปัญหาเรื่องแฟลร์
ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ เป็นกรณีที่ใช้แฟลชนะครับ ส่วนกรณีไม่ใช้แฟลชต้องลองดูนะครับว่าจะดัน ISO ได้เท่าไหร่ ที่คนหลังกล้องยอมรับได้ เรื่องSpeed คงไม่สามารถลงต่ำกว่านี้ ไม่งั้นโอกาสได้ภาพคมชัดจะน้อยลงครับ ยกเว้นกดชัตเตอร์ตอนนักกีฬาหยุดเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวช้า ซึ่งช่วงเวลานั้นอาจไม่ใช่ภาพที่ต้องการ
ส่วนกรณีไม่ใช้แฟลช ขอบอกตามตรงว่า ด้วยD90และเลนส์70-200 เหนื่อยครับ(จขกท. ไม่ได้ระบุเลนส์ของD90) ลดSpeedภาพเบลอ ลดFถ่ายให้คมยากขึ้น (เพราะการล็อคโฟกัสของD90ช้ากว่าD300s) ข้อดีประการเดียวของD90 ที่จะนำมาใช้ได้ ก็คงจะมีแค่ ISO ดันไปเลยครับตราบที่ยังรับได้กับ noise ดีกว่าไม่ได้ภาพ ซึ่งก็คาดว่า ISO เกิน1600 แน่นอนครับ (เพราะระดับ 1600 ผมยังต้องใช้แฟลชช่วย) และภาวนาให้แสงในสนามสว่างมากๆ...
ส่วนโหมดการถ่ายภาพ โหมดM มีโอกาสได้ภาพมากที่สุดและง่ายที่สุด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ด้วยนะครับ หากเป็นกล้องที่ดัน ISO ได้สูงมากๆ (กรณีนี้ISO 4000-5000 ไม่ถือว่าสูงนะครับ) อย่างD3 โหมดไหนก็ได้ภาพ อยู่ที่จะถูกใจหรือเปล่าเท่านั้นเอง
เหตุผลเพราะ กีฬาต้องใช้Speedสูง และต้องการความชัดลึกในระดับหนึ่ง เพื่อชดเชยกับระยะโฟกัสที่เปลี่ยนไป จากการเคลื่อนตัวของนักกีฬา และ Time Lap ของการล็อคโฟกัสและการกดชัตเตอร์ ทำให้เราต้องกำหนดค่าทั้งสองเพื่อให้ได้ภาพที่ต้องการ เพราะขณะทำการถ่ายภาพ เพียงแค่เรื่องหมุนซูมและล็อคโฟกัสเพื่อกดชัตเตอร์ ในช่วงเสี้ยววินาทีที่ต้องการ ก็เป็นเรื่องยากอยู่แล้ว หากต้องเหลือบดูค่าF หรือ Speed คงไม่ทันครับ ยกเว้นสภาพแสงเท่ากันหรือใกล้เคียงกันทุกจุด หรือขยับกล้องในทิศทางที่แสงใกล้เคียงกัน ก็พอได้ครับ แต่หากเป็นกีฬาบางประเภทที่มีแสงสีประกอบความสวยงาม ก็คงยุ่งเหมือนกันครับ ในเมื่อยังไงก็ต้องปรับตั้งค่า ผมว่าฝึกโหมด M ไปเลยจะดีกว่ามั๊ยครับ
ในเรื่องการปรับตั้งค่าต่างๆที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวนะครับ บางท่านอาจไม่เห็นด้วย ต้องขออภัยท่านสมาชิกทุกท่านที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างด้วยนะครับ ผมเพียงแค่อยากแชร์ประสบการณ์ จากการถ่ายภาพกีฬาในร่ม เพื่อเป็นแนวทางให้คุณmexmited ได้นำไปพิจารณาเพื่อปรับเข้ากับสถานการณ์ที่จะต้องเจอ ในสภาพสนามและสภาพแสงที่แตกต่าง รวมทั้งนำไปประยุกต์ใช้กับการถ่ายภาพกีฬาในร่มประเภทอื่นๆ
ผิดพลาดประการใด หรือข้อความใดที่ล่วงเกินทุกท่าน ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ
จากคุณ |
:
Last Student
|
เขียนเมื่อ |
:
3 ธ.ค. 54 13:55:13
|
|
|
|
 |