 |
รูปในความคิดเห็นที่ 1
ถือว่า "เป็นรูปที่จัดวางองค์ประกอบภาพได้เหมาะสม" ครับ นอกจากนั้นยัง เป็นรูปที่เจ้าของผลงานเลือกระยะเลนส์ได้เหมาะสม และเป็นรูปที่ดูสบายตา อีกด้วยครับ แต่...
แต่...ก็ยังเป็นรูปที่ "เกือบดี" ครับ ปัญหาที่ผมอยากถามเจ้าของผลงานชิ้นนี้ ก็คือ
- ส่วนที่มืดของเรือ "มีอะไรน่าสนใจหรือครับ" จะใบ้หวยสิ้นปีนี้ด้วย "ขี้เลนที่ติดท้านเรือหรือครับ" 5555+~~~~ "ล้อเล่นนะครับ" หวังว่าคงไม่ขึ้ใจน้อยนะ
- ส่วนที่มืดของเรือ "มีลวดลายอะไรที่น่านำเสนอเป็นพิเศษหรือครับ" ผมดูแล้วก็ไม่เห็นมีปักดิ้นเดินทองเลย มีแต่เชือกกับสลิงมัดเครื่องยนต์เรือ กับมัดที่ท้ายเรือเท่านั้นเอง
ดังนั้น ผมอยากจะบอกว่า บางครั้งเราไม่จำเป็นต้องเปิดแสง หรือ "ดึงความสว่าง" เพื่อให้เห็นรายละเอียดมากนักก็ได้ครับ อย่างเช่นรูปใบนี้ เป็นต้น ความมืดจะช่วยอำพรางในส่วนที่ไม่น่าสนใจออกไปครับ
ทีนี้ผมอยากจะยกตัวอย่างรูปในกรณีนี้ แต่ในส่วนที่มืด "มีรายละเอียดที่ น่าสนใจ และควรนำเสนอ" เช่น ลวดลายประดับทอง หรือรายละเอียดที่ซ่อนอยู่ในเงามืด "จากกรณีถ่ายรูปวัต:-)้อนแสง"
ผมอยากจะบอกว่า เราไม่จำเป็นต้องถ่ายรูปแล้วนำเอามาปรับแก้ไขภาย หลังด้วยโปรแกรมก็ได้ เราสามารถเลือกใช้งานในฟังชั่นต่างๆ ของกล้อง ณ พื้นที่นั้นเลยก็ได้ครับ
"เขาเรียกว่าการปรับแก้ไข ด้วยการชดเชยแสงยังไงล่ะครับ"
- ประเด็นแรก ในโหมดวัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพ ในโหมดนี้เราสามารถปรับแก้ ดัวยการชดเชยแสงได้ในส่วนหนึ่งครับ เช่น บวกหรือลบกี่ EV (+?EV, -?EV) แต่การปรับชดเชยแสงในโหมดนี้ จะเป็นการปรับแก้ไข "เพิ่มหรือลด" ความสว่างของทั้งภาพ
พูดง่ายๆ ก็คือ อาจจะไม่ตรงจุดประสงค์ในส่วนที่ต้องการให้สว่างขึ้นนัก แต่ การปรับชดเชยแสงในโหมดนี้ สามารถช่วยแก้ไข "อาการอันเดอร์" ของ เลนส์ตัวนั้นๆ ได้ครับ
คงสงสัยล่ะสิครับว่า เลนส์แต่ละตัวนั้นมีอาการอันเดอร์ด้วยเหรอ?
คำตอบ เลนส์แต่ละตัวโดยเฉพาะที่เป็นเลนส์ซูม โดยส่วนใหญ่จะมีอาการ อันเดอร์ด้วยกันทั้งนั้นครับ จะอันเดอร์มากหรือน้อย มันอยู่ที่ตัวเราจะรู้หริอ ไม่ "ก็เท่านั้นเองครับ" ไม่ว่าจะเป็นเลนส์ในค่ายหรือนอกค่าย ถ้าเป็นเลนส์ ซูม ได้รับสิทธิ์ติดอันเดอร์โดยถ้วนหน้าครับ
ดังนั้นถ้าใครบอกว่า "เลนส์เทพถ่ายรูปออกมาก็ไม่เหมือนกับสีที่ตาเห็น" อันนั้นเป็นความจริงส่วนหนึ่งครับ และถ้าได้ยินต่อมาว่า "ค่อยมาปรับด้วย โปรแกรมทีหลัง" อันนี้แสดงว่าคนนั้น "ไม่เข้าใจมากพอเกี่ยวกับการชดเชย แสงครับ"
- ประเด็นที่สอง "การวัดแสงเฉพาะจุด" คำถามที่มักถามกันบ่อยว่า "แล้วจุด ไหนล่ะ?" คำตอบของผมก็คือ "ก็จุดที่โฟกัสยังไงล่ะ" 5555+~~~~
บางคนอาจจะใช้วิธีการวัดแสงที่จุดอื่นก่อน จากนั้นก็ล็อคค่าแสงเอาไว้ หลังจากนั้นก็ค่อยมาโฟกัสจุดที่ต้องการบนวัตถุทีหลัง กรณีนี้ถ้าชำนาญกัน แล้วก็ทำต่อไปครับ "ไม่ได้ขัดนะ" 5555+~~~~
แต่ผมจะเลือกใช้โหมด Single AF จากนั้นก็จะจัดเฟรมและวางวัตถุให้เข้า ตำแหน่ง หลังจากนั้นก็จะเลื่อนจุดโฟกัสเข้าไปยังส่วนที่เป็นเงามืดของวัตถุ แน่นอนว่า ผมต้องปรับการวัดแสงของกล้องให้เป็นแบบวัดแสงเฉพาะจุด ก่อนครับ
รูปที่ได้จากการกระทำของผมดังกล่าว แสงบนวัตถุส่วนที่มืดในตำแหน่ง ของจุดโฟกัส "จะพอดี" แต่แสงในส่วนที่สว่างอยู่แล้ว "จะสว่างขึ้นนิดหน่อย" ครับ
ผมอยากจะแนะนำสำหรับกรณีนี้ว่า ให้เลือกการชดเชยแสงที่ 0EV เสียก่อน แต่ถ้าดูรูปจากจอ LCD หลังกล้องแล้วยังไม่พอใจในความสว่าง ณ จุดโฟกัส ค่อยปรับเพิ่มหรือลดทีละน้อยครับ เช่น +0.3EV, -0.3EV หรือ +0.7EV,-0.7 EV แต่ถ้าเราชำนาญแล้ว หลังจากรูปที่ 0EV เราจะรู้เองว่าจะปรับเพิ่มหรือ ลดเป็นกี่ EV ในการกดชัตเตอร์ในครั้งต่อไปครับ
สำหรับการวัดแสงเฉพาะจุดนั้น ผมอยากจะบอกว่าไม่ค่อยผูกพันกับอาการ อันเดอร์ของเลนส์ซูมเท่าไหร่นักครับ ผมคิดว่าการวัดแสงเฉพาะจุดนั้นค่อน ช้างแม่นยำ แต่การวัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพใช้งานได้ง่ายกว่าครับ
ดังนั้น เมื่อเราเสียเงินซื้อกล้องถ่ายรูปและเลนส์มาแล้ว "ใช้ให้เป็น ปรับให้ คล่องครับ" ง่ายๆ ก็การปรับการควบคุมในจุดพื้นฐานใหญ่ๆ นี้แหละครับ
กล้องถ่ายรูปไม่ใช่สาวๆ นะครับ มีแรงก็กด ก็เล่นไปเถอะ ไม่โอดครวญ แถมไม่งองแงด้วยนะ 5555+~~~~ แต่ต้อง "กด" อย่างมีหลักวิชาการ พื้นฐานของการถ่ายรูปด้วยนะครับ ไม่อย่างนั้นปุ่มต่างๆ ก็จะ "หย่อนยาน" ก่อนจะได้การครับ 5555+~~~~
จากคุณ |
:
MD555MAG
|
เขียนเมื่อ |
:
13 ธ.ค. 54 02:28:24
A:118.172.108.104 X: TicketID:240153
|
|
|
|
 |