 |
อย่างที่สามคือ dynamic range & headroom เรื่องนี้ คนทั่วไป ไม่ค่อยรู้จัก หรือ สนใจกัน ส่วนมาก พวกมือโปร ที่ทำมาหากินกับภาพพิมพ์ หรือ พวกที่ต้องการรีดคุณภาพภาพที่ได้มา แบบสุดๆๆๆ โดยเฉพาะพวกถ่ายแลนด์สเคป.. เป็นพวกที่เอาใจใส่
dynamic range (ง่ายๆ) คือ ความสว่างมากสุด ต่อ ความสว่างน้อยสุด ที่ทำให้สัญญาณ (และภาพ) ยังมีความชัดเจน ใกล้เคียงต้นฉบับ
สมมุติว่า แสงที่แลนด์สเคป ที่เราจะถ่าย ตรงสว่างสุด (โดนแดด) สว่าง = 1,000 และ มืดสุด (ในเงาร่ม) = 10 นั่นคือ แสงมีช่วงความสว่าง 10 - 1,000
ภาพที่บันทึกลงไปในไฟล์ ควรมีข้อมูลความสว่าง 10 - 1,000 เท่าเทียมกัน เช่นกัน แต่ ในช่วงมืดๆ (10-100) และ สว่างมากๆ (900-1,000) .. เซนเซอร์มันไม่ได้เปอร์เฟค 100%
ในช่วง 10-100 มันอาจบันทึกค่าแสงที่สว่าง 50 ว่า สว่างแค่ 40 และบันทึกค่าแสง ที่สว่าง 60 ว่า สว่าง 70
มันเป็นช่วงเพี้ยนๆ
นึกถึงตาชั่งกิโล ที่แม่ค้าชั่งของให้เราก็ได้ .. ถ้าของหนัก 1.2 กิโล .. มันก็ชั่งได้ 1.2 กิโล แต่ถ้าของหนักแค่ 1-2 ขีด (0.1-0.2 กิโล) เข็มมันอาจไม่กระดิก หรือ กระดิกมาขีดเดียว (0.1 กิโล)
เซนเซอร์ และ ตัวขยายสัญญาณ ก็ไม่ต่างจากตาชั่งกิโลมากน้อยเท่าไหร่  ในกรณีตัวอย่าง .. แสงที่เชื่อถือได้ คือ แสงที่สว่างในช่วง 100 - 900 เท่านั้น
นั่นคือ มี dynamic range 100 - 900 เท่านั้นเอง
---------------------------------
base ISO คือ ISO ต่ำสุด ที่ให้ dynamic range สูงสุด และน้อยส์ต่ำสุด
สมัยฟิล์ม .. base ISO คือ ISO ต่ำสุด เซนเซอร์สมัยแรกๆ ก็เช่นเดียวกัน .. base ISO คือ ISO ต่ำสุด
แต่พอมาสมัยนี้ (ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา) ISO ต่ำสุด ที่ให้ dynamic range สูงสุด .. กลายเป็น 160-200
ส่วน ISO ต่ำกว่านั้น (100) .. อาจให้น้อยต่ำพอๆกับ base ISO แต่ dynamic range จะน้อยกว่า base ISO
--------------------------
ถ้าถ่าย portrait หรือ macro .. เรื่องพวกนี้ ไม่ค่อยสำคัญ แต่ถ้าถ่าย landscape นี่ .. dynamic range ที่มากขึ้นไป 1 stop นี่ มันทำให้เราเก็บฟ้าเป็นฟ้า ทิวทัศน์เป็นทิวทัศน์ ได้เลยหละ
จากคุณ |
:
แมวเหมียวพุงป่อง
|
เขียนเมื่อ |
:
9 ม.ค. 55 13:01:41
|
|
|
|
 |