ความคิดเห็นที่ 1
...
"การเลือกสิ่งที่จะถ่าย"
ถอดความมาจาก "การเป็นนักถ่ายภาพ" บทสนทนาระว่าง เดวิด เฮิร์น/แมกนั่ม กับ บิล เจย์ บิล- เมื่อเราถกกันถึงเรื่องคำนิยาม ที่คุณบอกว่าแก่นหลักของการถ่ายรูป คือการแสดงให้ได้ว่าสิ่งต่างๆ ที่ถ่ายนั้นมันเป็นอย่างไร ผมว่านี่เป็นจุดสำคัญเพราะมือใหม่ มักสนใจแต่อุปกรณ์ ไม่ได้มีความคิดสนใจในสิ่งที่จะถ่าย
เดวิด- ครับใช่ ขอเน้นที่ประเด็นว่า คุณไม่อาจเป็นนักถ่ายภาพได้เพียงเพราะคุณมีความสนใจในการถ่ายภาพ
บิล- ช่วยอธิบายเพิ่มหน่อยครับ
เดวิด- คนส่วนมากมักสนใจถ่ายภาพในทางฉาบฉวย เพราะคนส่วนมากอาจหลงใน ชีวิตอันมีเสน่ห์ของช่างภาพสงครามหรือช่างภาพแฟชั่นระดับแนวหน้า หรือมีความภูมิใจในการครอบครองกล้องที่สวยและสุดยอด หรือเคล็ดลับในห้องมืด หรือรูปที่สวยๆที่พวกเขาสามารถถ่ายเลียนแบบตามได้เหมือน อย่างไรก็ตาม การทำอย่างนี้นั้น ไม่ว่าจะทำให้เขามีความสุขแค่ไหน สนุกยังไง ก็ยังไม่พอที่จะทำให้เขาเป็นนักถ่ายภาพที่แท้จริงได้ เหตุผลคือ การถ่ายภาพ เป็นเพียงตัวกลางในการแสดงออกซึ่ง เสน่ห์ หรือความจริงที่เป็นอยู่ของสิ่งต่างๆ อุปมา เช่นการเลือกซื้อรถยนต์ที่เลิศหรู เพื่อแสดงถึงฐานะ หรือการดึงดูดใจเพศตรงข้าม หรือซื้อเพราะมันมีการตกแต่งภายในอย่างหรูหรา หรือมีวิศวกรรมยานยนตร์ที่สุดยอด หรืออื่นๆ แต่สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมานั้น ไม่มีค่าเลย ถ้ารถคันนั้นมันไม่สามารถวิ่ง พาคุณไปที่ต่างๆได้
บิล- จุดหมายของการถ่ายภาพก็คือการนำเสนอความเป็นไป ของสิ่งนั้นหรือชีวิตนั้นภายใต้สภาวะการณ์เฉพาะ หรือเวลาพิเศษและแสดงผลนั้นให้ผู้อื่นทราบ
เดวิด- ใช่ แต่ขอเตือนตรงนี้ว่า แม้ว่าที่คุณกล่าวมาจะจริง มันไม่ใช่การบันทึกเฉพาะด้านดี ของอะไรก็ได้ บางภาพจะสวยกว่า น่าสนใจ และบันดาลใจกว่า แต่ที่มากกว่านั้น มันต้องมีรูปแบบเฉพาะที่ลบไม่ได้ ของผู้ถ่าย ดังนั้นคำถามคือ อะไรเป็นตัวสำคัญที่จะเปลี่ยนภาพที่ดูธรรมดาๆ ให้เป็นภาพยอดเยี่ยม
บิล- แล้วคุณว่าอะไร
เดวิด- มันอยู่ที่การเลือกสิ่งที่จะนำเสนอ นักถ่ายภาพต้องเน้น ถ่ายทอดความเป็นไป ของภาพ ไม่ใช่แค่ความสวยงามที่มองเห็น จะทำอย่างนี้ได้ ต้อง ทุ่มเท อ่าน ค้นคว้า พูดคุย พยายามและอาจล้มเหลวมาหลายต่อหลายครั้งในเวลาที่ยาวนาน
บิล- ผมทึ่งมากเลยกับความคิดนี้ สำหรับผมมันดูเหมือนว่า เสน่ห์ที่ดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องของการถ่ายภาพ คือคุณต้องค้นหาความเป็นไปในสิ่งที่จะถ่าย ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถถ่ายทอดความน่าสนใจนั้นให้คงอยู่ได้นานๆ และผมได้เรียนรู้จากคุณ หลังจากที่คุณบอกว่าภาพของผม น่าเบื่อ ในปี 1967 ซึ่งเขียนไว้ในหน้าแรกเลย
ผมควรที่จะหยุดการพยายามที่จะเลียนแบบช่างภาพอื่นๆ มันช่วยผมได้มาก ผมเริ่มถ่ายภาพแบบใหม่ มุ่งมั่นในสิ่งที่ผมสนใจจะถ่าย ไม่ได้คิดถึง ความสำเร็จ ชื่อเสียงต่างๆ แต่แค่ความสนุกในการปลดปล่อยความเป็นไป ซึ่งผมได้ทำต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้
เดวิด- สิ่งที่ทำให้ มือใหม่ สับสนนั้นส่วนหนึ่งก็คือผู้สอนต่างๆ เน้นว่าภาพมาได้ยังไง ใช้เทคนิคอะไร มันแตกต่างและเป็นศิลป์อย่างไร มากกว่าการเน้นการสอนในการเลือก สิ่งที่จะถ่าย ประวัติของภาพถ่าย ก็คือ ประวัติดั้งเดิมของการเลือกสิ่งที่จะนำเสนอ ดังนั้นสิ่งแรกคือ ต้องเลือกว่าจะถ่ายอะไร ความสนใจ กระตือรือร้น ของคุณต่อสิ่งนั้น จะทำให้คุณถ่ายทอดความเป็นไปของสิ่งนั้นออกมาให้ผู้อื่นทราบได้ จากภาพของคุณ
บิล- อืม อันนี้ทำให้ผมระลึกถึง ราล์ฟ สไตเนอร์ นักถ่ายภาพผู้ยิ่งใหญ่ เขามักจะเขียนจม.มาเย้าผมเล่น หลังจากได้เห็นผลงานของผม และมักลงท้ายว่า" แต่คุณก็ยังไม่ได้บอกผมว่าคุณเล็งกล้องถ่ายอะไร อันนี้จึงสำคัญ" และเขาพูดถูกอย่างที่พวกอังกฤษมักพูด (สำนวน get down to brass tack -ผู้ถอดความ) เราควรกลับไปตั้งต้นใหม่ โดยเน้นให้คำแนะนำในการเลือกสิ่งที่จะถ่ายก่อน
เดวิด- ล้อเล่นน่า ผมเดาว่าการให้คำแนะนำว่าอะไรควรเลือกถ่ายนี่ ไม่ได้รับความสนใจหรอก และแม้ว่าพวกเขาจะสนใจ แต่ผมก็ไม่สามารถรู้ได้ถึงจิตใจคนอื่นๆว่า เขาชอบเรื่องอะไร
บิล- ก็ใช่นะ แต่เราพูดเฉพาะหลักการเลือกก็ได้กระมัง
เดวิด- สิ่งแรกที่ควรทำคือ จดบันทึกในเวลาสงบที่ความคิดบังเกิดขึ้น เขียนสิ่งที่คุณสนใจ หรือเขียนรายชื่อสิ่งที่คุณชื่นชอบ โดยไม่ต้องมีการเกี่ยวข้องกับรูปถ่ายก็ได้ หาดูว่าอะไรที่ดึงดูดความสนใจของคุณมากที่สุดในช่วงเวลาที่ผ่านมา ไม่ต้องสนใจการถ่ายภาพ พยายามระบุให้เจาะจงที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ และถ้ามีรายชื่อมากแล้วก็ค่อยๆมาตัดออกโดย การพิเคราะห์ว่า
-เรื่องนั้นมันมองเห็นได้หรือไม่ ? โดยการตั้งคำถามนี้ต่อตัวเอง คุณก็สามารถตัดพวกเรื่อง ปรัชญาแนว เอ็กซิสตองเชียล (นักคิดผู้โด่งดังในแนวคิดนี้เช่น ฌัง ปอล ซาร์ต -ผู้ถอดความ) เรื่องบัญญัติเดิม(Old testament) หรือสิ่งมีชีวิตในดาวดวงอื่นๆ ออกไปได้
-เรื่องนี้ทำได้หรือไม่? คุณก็จะสามารถตัดเรื่องที่ทำได้ยากออกไป ยกตัวอย่าง เช่นคุณอยู่ในเดนเวอร์ มีรายได้จำกัด คุณควรตัดเรื่องเจดีย์ในญี่ปุ่นออกไป นอกจากจะดูว่าทำได้หรือไม่แล้ว ให้ดูว่าจะเข้าถึงได้หรือไม่ด้วย เช่นไม่ควรถ่ายภาพดาราดังเพราะมันเข้าถึงได้ยาก
-เรื่องที่จะถ่ายคุณรู้ดีพอหรือไม่? ถ้าไม่รู้อย่าทำหรือจนกว่าคุณจะค้นคว้าอย่างพอเพียง เช่น คุณไม่ควรถ่ายภาพแหล่งเสื่อมโทรมในเมือง โดยเพียงแค่ เดินถ่ายรูปของพังๆต่างๆตามหน้าประตูบ้าน อย่างนี้ เป็นการฉกฉวย ไม่ใช่การสำรวจ (ตรงนี้เป็นการเล่นคำในภาษาอังกฤษคือThats exploitation, not exploration -ผู้ถอดความ)
- มันน่าสนใจหรือเปล่า อันนี้ใช้กลอุบายได้ แต่ก็มีค่าควรที่จะทบทวนกับตัวเองก่อน เพราะถ้ามีหลายๆเรื่องที่คุณสนใจเท่าๆกัน คุณควรดูว่าอะไรที่คนอื่นอาจสนใจ ที่ว่าอาจต้องใช้กลอุบาย ก็คือเรื่องที่คุณจะทำนั้นอาจมีกลุ่มคนที่สนใจเพียงกลุ่มเล็กๆ แต่ด้วยอุบายที่เหมาะสมอาจชักนำให้เกิดความสนใจในชนกลุ่มใหญ่ได้
บิล- ขอผมแทรกตรงนี้ ในฐานะผู้บรรยายอาชีพ มันยากในการถ่ายทอดสิ่งที่ไม่น่าสนใจ ให้แก่กลุ่มผู้ฟังที่กำลังเบื่อ ผมต้องชักจูงความสนใจของพวกเขาขึ้นมาก่อนที่จะปล่อยสาระที่ต้องการออกไป ผมไม่ใช่ผู้ให้ความบันเทิงอาชีพ ผมเชื่อว่ามันมีเส้นแบ่งที่ชัดเจน ระหว่างเรื่องที่อยู่ในความสนใจของคนกลุ่มใหญ่ หรือการชักจูงให้เกิดความสนใจ ผมเรียกมันว่า bum-factor คือผู้ฟังตระหนักเพียงไรว่าก้นคุณนั่งอยู่บนอะไร เดวิด, คุณกำลังพูดถึง เส้นแบ่งนี้ใช่ไหมครับ เส้นที่แบ่งระหว่างเรื่องที่คุณสนใจกับ เรื่องที่คนอื่นๆสนใจ
เดวิด- ใช่ครับ ถ้าผลการพิจารณาจากคำถามข้างต้น แล้วผลออกมายังเท่าๆกัน มันก็ไม่เสียหายอะไรนัก ถ้าเราจะเลือกเรื่องที่คนส่วนใหญ่สนใจ ในความเป็นมนุษย์ ทำให้บางครั้งเราต้องเลือกสิ่งบางอย่างโดยไม่ต้องมีเหตุผล แต่ที่เราควรคำนึงคือเหตุการณ์ สีเทานี้ บางครั้งเราอาจลืมจุดสำคัญไปได้ เรื่องที่ควรเลือกอาจเป็น ก.เรื่องที่คุณสนใจมากๆอย่างน้อยก็ช่วงเวลาหนึ่งที่จะผลิตงานออกมาได้ ข.สามารถสื่อออกมาเป็นภาพได้ ใช้ภาพอธิบายได้ประหนึ่งคำบรรยาย ค.มันยังคงอยู่ ทำให้เมื่อคุณมีเวลาทบทวนแก้ไข ยังคงทำได้ บิล- ผมขอเพิ่มตรงนี้สักเล็กน้อย การขอให้เจาะจงเรื่องให้แคบลงเท่าที่จะทำได้ รายนามสิ่งที่น่าสนใจมันอาจมากและกว้างเกินไป ที่จะใช้ได้ ผมมีประสบการณ์ในการเลือกเรื่องที่จะให้นักเรียนสัมมนาหรือวิจัย ซึ่งนักเรียนมักเลือกเรื่องที่อาจเขียน เป็นหนังสือทั้งเล่มได้เลย ใม่ใช่แค่หัวข้อเล็กๆ ความยากอยู่ตรงที่จะเลือกเรื่องเล็กๆ ที่น่าสนใจได้อย่างไร พวกเขาอาจเลือก ลักษณะแห่งวีรบุรษ แต่ผมอาจแนะนำ เรื่องของ "เลวิส แครรอล " พวกเขาอาจเลือก การแบ่งแยกลักษณะภาพถ่าย ผมอาจบอก "การใช้ลูกแก้วในงานถ่าย " หรือพวกเขาอาจเลือก ภาพถ่ายของละติน-อเมริกัน ผม ก็อาจจะแนะนำ "ภาพดิจิทัลของ เปโดร แมร์ " นี่เป็นแค่ยกตัวอย่างในการเลือกหัวข้อนั้นๆให้เล็กลง
เดวิด- มันเหมือนกัน ในการเลือกเรื่องมาถ่าย เมื่อผมพูดว่าให้เจาะจงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผมหมายถึง เรื่องที่เป็นไปได้ ในเวลาที่เหมาะสม ดั้งนั้น ถ้าเลือกดี เรื่องก็จะทำได้ง่าย เอาละผมขอยกตัวอย่างบ้างเช่น อาจเลือก ชีวิตในการเป็นนักศึกษาในวิทยาลัยทั่วไป แทนหัวข้อ "การศึกษา" หรือเลือก ต้นไม้ที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรม แทนหัวข้อ "ดอกไม้" คงได้ประเด็นความคิดนะครับ
บิล- ผมว่าสำหรับมือใหม่ การแนะนำให้สร้างรายชื่อ อาจก่อให้เกิดการถกเถียงอย่างดื้อรั้นได้ อีกทั้งการเน้นให้เข้าถึงเรื่องของสิ่งที่จะถ่าย ผมแน่ใจว่า จะทำให้บางคนอาจคิดว่า มันทำลายความสุขในการถ่ายภาพ
เดวิด- อาจเป็นได้ แต่ความจริงก็คือ มัน(การสร้างรายชื่อ)ได้ผล การถ่ายไปเรื่อยๆ หวังว่า จะมีสักรูป ที่โดดเด่นขึ้นมา(แบบที่มือใหม่ทำกันอยู่นั้น) ผลคือมันไม่ได้ผลหรอกครับ เสียใจด้วยในตรงนี้นะครับ สำหรับมือใหม่ ถ้าวิถีของมืออาชีพ มันไม่ตรงกับความคิดฝันของคุณ
ที่ผมจะบอกได้ก็คือ ในสี่สิบปี ที่ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับนักถ่ายภาพที่เก่งๆ ทั่วโลก ที่ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และมีแนวทางการทำงาน แตกต่างกันไป แต่ทุกคนมีความคิดร่วมเหมือนกัน คือ ในการถ่ายภาพ พวกเขามีความรู้ ความกระตือรือร้น และเข้าใจในสิ่งที่กำลังถ่าย และพวกเขามีการวางแผนล่วงหน้า
บิล- เราค่อยกลับมาที่ความคิดในการวางแผนการถ่ายอีกครั้งในภายหลัง แต่ผมขอบอกว่า จุดประสงค์ของการคุยนี้ก็เพื่อ สร้างแรงบันดาลใจให้เหล่ามือใหม่ทั้งหลาย การแนะนำนี้ดูเหมือน จำกัดความคิดในการเริ่มถ่าย แนะนำตรงไปที่การบันทึก ใบหน้า สถานที่ แต่แท้จริงแล้วเราเริ่มที่การชี้แนะมือใหม่ แต่สำหรับนักถ่ายภาพทั่วๆไป การคุยในวันนี้ไม่ได้จำกัดความคิด แต่ยังแนะด้วยว่าให้พัฒนา ไปได้อย่างไม่มีข้อกำหนด ตามแต่ความสามารถในการแปลผลของแต่ละคน
เดวิด- ใช่ครับ ในการเริ่มต้น ต้องแคบและชัดเจน เพื่อจะได้รู้ว่าจะเล็งกล้อง ไปทางใด อย่างที่สไตเนอร์ ว่าไว้ และเมื่อถ่ายภาพมากๆเข้า ความกระตือรือร้น ความรู้ที่ได้จะพัฒนาให้คุณรู้ลึก และกว้างมากขึ้นในการถ่ายของคุณเอง มันจะมีทางไปของมัน
บิล- ผมขออุปมาดังนี้ เมื่อผมอยากจะทำสวน ผมจะปลูกต้นไม้ ผมสามารถเลือกเอา ส่วนต่างๆกิ่งไม้ ลำต้น ใบ มาใส่ได้เลย ก็กลายเป็นต้นไม้ที่ต้องการ จะให้สวยยังไงก็เลือกได้ แต่ต้นไม้คงจะตาย มันไม่เติบโต ดังนั้นเราควรเริ่มจากต้นกล้า ค่อยๆเพาะ และรดน้ำดูแล อดทน หน่อนั้นก็จะเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ และมีรูปร่างแตกต่างๆไป มีความแปลก แตกต่างและงดงามโดยเราคาดไม่ถึง เช่นกันกับการถ่ายภาพ การเติบโตทางความคิดอ่าน การถ่ายเรื่องที่เลือกแล้วให้ออกมาให้เห็นได้ ......................
จากคุณ :
บางคนรู้ว่าผมประทับใจ (lexusman)
- [
4 ก.ย. 47 07:52:14
]
|
|
|