CafeTech-ExchangePantip MarketChatTrendyMobilePantown


    ทริปขุนตาน ปิดแล้วหลังที่สัญญาไว้(รูปถ่ายกับเรื่องราที่เกิดขึ้นอาจจะไม่เกี่ยวข้อง แต่เนื้อหาดีมากเลย)

    ประวัติการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟดอยขุนตาน
    ประวัติการก่อสร้างอุโมงค์ขุนตาน และ เรื่องราวขุนตานตามที่ท่านกำลังอ่านอยู่ กระผมได้มาจากการออกทริป ณ วันที่ 07 พฤษจิกายน 2547 ตอนรอรถไฟจะกลับบ้านพอดีเหลือบไปเห็นหนังสือวางขายอยู่ ก็ชื้อมาอ่านเรื่องราวต่างๆน่าสนใจมาก กอรปกับการที่ต้องการจะปิด ทริปขุนตาน  ขุนตานทุกจะต้องร้องอ้อว่าเป็นที่ๆมีอุโมงค์รถไฟยาวที่สุดในประเทศไทย และยิ่งเป็นนักเดินทางที่ใช้รถไฟเป็นหลักและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจะรู้ดีว่าเป็นเส้นทางรถไฟสายหนึ่งที่สวย "คงจำกันได้ตอนที่น้าแอ๊ดคาราบาวถ่ายโฆษณาโค้ก" ผมเองเคยลองค้นหาประวัติขุนตานในอินเตอร์เนต ก็จะพบแต่ ข้อมูลเล็กๆน้อยๆเท่านั้นเช่นตั้งอยู่ที่ไหน การเดินทางเป็นอย่างไรที่ท่องเที่ยวมีอะไรบ้าง ชึ่งบางท่านก็มาเที่ยวก็มาเที่ยวเอาเหนื่อยไม่ได้อะไรกลับไปเลยก็มี ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน น้อยคนนักที่จะรู้ประวัติความเป็นมา ตลอดจนความยากลำบากของการสร้างทางรถไฟสายนี้
    ขุนตานเป็นชื่อของเทือกเขา แต่ ยอดที่สูงที่สุดเรียกว่า "ดอยงาช้าง" อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,340 เมตร หรือประมาณ 4,000 ฟุตเขาเทือกนี้เป็นที่รู้จักกันมานานแต่ครั้งเก่าก่อน ในฐานะที่มีสภาพคล้ายกำแพงกันระหว่างเขลางค์นคร กับ หริภุญชัย ซี่งสันเขาจะเป็นแนวต่อของ 2 จังหวัด ซึ่งจุดหมายปลายทางของการรถไฟสายเหนือ คือนครพิงค์ หรือเชียงใหม่ชึ่งอยู่อีกฟากหนึ่ง และมีระดับสูงกว่านครลำปางเพียง 70 เมตรเศษและห่างกันเพียง 70 กิโลเมตรเท่านั้นเอง แต่เพราะเทือกนี้นายช่างต้องการที่จะลดค่าใช้จ่ายให้เหลือน้อยที่สุด จึงต้องยืดเส้นทางออกไปอีก 40กิโลเมตรและต้องปีนขึ้นไปสูงกว่าลำปางถึง 410 เมตร (ถ้าสังเกตปากอุโมงค์ ทางฝั่งสถานีรถไฟขุนตานจะเห็นปลายอีกทางอยู่ต่ำมาก) และ ยังเหลือสิ่งคัญคือกำแพงภูเขาที่มี ความหนาถึง 1,400 เมตร ชีวิต เลือด และน้ำตา ที่ต้องแลกมากับระยะทาง 1,400 เมตร
    การสำรวจเพื่อก่อสร้างทางรถไฟครั้งแรกของประเทศไทยได้เริ่มต้นเมื่อ พ.ศ.2431 และจากนั้น อีก 3 ปีจึงมีางรถไฟออกจากกรุงเทพ ฯเมื่อเสร็จถึงที่ใดก็จะเปิดการ เดินรถเป็นตอนๆ จนมาถึง พ.ศ.2488 การดำเนินการได้มาถึงปากน้ำโพ แนวการสำรวจก็มาหยุดที่ขุนตาน โดยการนำของวิศวกรผู้สำรวจ คือ มร.เอมิล ไอเซน โฮเฟอร์
    ก่อนที่จะลงมือขุดเจาะนั้นมีการหาแนวทางตรงที่สั้นที่สุดเพื่อข้ามไปฝั่งตรงกันข้ามคือปากอุโมงค์ทางด้านเหนือโดยการฝั่งหมุด และมีการพบ อยู่ปัจจุบัน 2 หมุดในแนวเดียวกับอุโมงค์ คนงานในสมัยนั้นเรียกว่า"หอเล็ง"คือจะเล็งแนวด้วยกล้องสำรวจ สำหรับผู้ที่ใช้บริการรถไฟสายนี้ประจำคงไม่ทราบแน่ต่อให้เป็นผู้ที่มีการสังเกตดีแค่ไหน ว่าปลายอุโมงค์ทางด้านเหนือนั้นสูงกว่าทางด้านใต้ 14 เมตร ไม่ใช่ความผิดผลาดแต่อย่างใดแต่เป็นเพราะ เมื่อทำการเจาะอุโมงค์จะเจาะปลายทั้งสองข้างเข้าหากัน เหตุผลก็คือต้องการระบายน้ำออกจากอุโมงค์ การขุดอุโมงค์เริ่มต้นขึ้นจริงในปี พ.ศ.2450 เมื่อทางรถไฟเปิดถึงพิษณุโลก ในการขุดเจาะอุโมงค์จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนแต่ล่ะส่วนจะหนาประมาณ 3 เมตร สิ่งสำคัญที่ใช้คือดินระเบิดเกือบทั้งสิ้น และแรงงานส่วนใหญ่จะเป็นชาวอีสาน จะมีคนพื้นเมืองและมีไทยใหญ่ปะปนอยู่บ้างก็เพียงเล็กน้อย ทำไมแรงงานทางอีสานถึงมีจำนวนมาก เพราะรถไฟสายแรกทีรัชกาลที่ 4 มีพระราชประสงค์ให้สร้างคือ ทางรถไฟสาย กรุงเทพฯ-นคราชสีมา ทางสายนี้เปิดขึ้นใช้เมื่อ พ.ศ.2443 ด้วยค่าแรงที่งดงามเป็นตัวล่อใจทำให้ผู้คนต่างหลั่งไหลเข้ามาทำงาน และเมื่องานเสร็จก็สมัครเป็นลูกจ้างประจำ ตั้งแต่นายตรวจไปจนถึงพนักงานขับรถไฟ

     
     

    จากคุณ : Mr.Free man - [ 17 พ.ย. 47 23:36:33 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป