ความคิดเห็นที่ 26
อีกรอบครับ เพิ่งเห็นคุณก้องและคุณ Nukie เหมือนกัน  ( อย่าชมผมเลยครับคุณ Nukie ผมก็พิมพ์ช้าเหมือนกันแหละ.. แหะ แหะ )
อืมม.. คุณก้องเปรียบแหล่งกำเนิดแสงเป็นวัตถุดิบเหรอ ? น่าสนใจนะครับ
ผมลองเปรียบภาพถ่ายเป็นอาหารสัก 1 จาน
-Subject เป็นวัตถุดิบ ( ถ้าไม่มีก็ว่างเปล่าตั้งแต่ต้น ) -แหล่งกำเนิดแสงเป็นเชื้อเพลิง , ความร้อน ( ไม่มีอาหารก็ดิบ แต่มากไปก็ไหม้ 555 ) -ปรุงด้วยวิธีไหนตรงนั้นน่าจะเป็นขั้นตอนของผู้บันทึกภาพ ( เด็ดดวงขนาดไหนขึ้นอยู่กับผู้ปรุง ) -ส่วนการเลือกฟิล์ม-กระดาษนั้นผมว่าเป็นเครื่องเทศ ( ช่วยรสอาหารได้เยอะ )
ดูมันมันสำคัญทุกขั้นตอนเลยครับ ต่างคนก็ต่างมองน่ะครับว่าตรงไหนเป็นหัวใจของการวัดแสง ( จะตอบว่าหัวใจคือการรวมทุกอย่างเข้าด้วยกันเดี๋ยว สมอง, ปอด , ตับ , ลำไส้ , ม้าม.. ฯลฯ จะน้อยใจ.. อิอิ )
ผมว่ามันอยู่แถวๆรอยต่อของ Subject กับแหล่งกำเนิดแสงนั่นแหละครับ ประมาณว่าทำความเข้าใจระหว่าง 2 สิ่งนี้จนหาค่าที่เหมาะสมได้.. ( ผมเริ่มเพิ่ม Subject เข้ามาอีกอย่างแล้ว 555 )
ส่วนเรื่องการทดสอบฟิล์มจนสามารถประเมินภาพที่ได้ออกมาตรงตามคิด นั่นผมว่าไม่น่าจะเป็นหัวใจของการวัดแสงนะ น่าจะเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นเอง เป็นส่วนหนึ่งของ " ความรู้-ความเข้าใจ " น่ะครับ
ก็อย่างที่คุณ Nukie พูดถึงว่าสิ่งที่สำคัญกว่าคือคุณค่าของภาพนั้นๆ การวัดแสงที่ดีเป็นองค์ประกอบหนึ่งอีกที
แต่ผมก็ชอบแยกประเด็นย่อยออกไปแบบที่คุณหมี.. ให้คำแนะนำมานะครับ ประมาณว่าอาหารจานนี้เราโฟกัสลงไปที่การปรุงให้ออกมาตรงใจ อร่อยหรือมีคุณค่าเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับรสมือของแต่ละท่าน มันเป็นอีกเรื่องนึงมั้งครับ ?
พิมพ์ถึงอาหารแล้วชักเละครับ ขอตัวไปทานข้าวก่อนเด้อ
จากคุณ :
ตอสระอือ
- [
1 ก.พ. 48 13:49:33
]
|
|
|