ความคิดเห็นที่ 2
ผมไม่ทราบนะครับว่า SB800 มีโหมด Fill in Flash หรือเปล่า (แต่ที่เคยเห็นๆ แฟลชจะมีโหมด M , Auto , TTL ,TTLพิเศษ นอกนั้นก็เป็นโหมดที่ใช้งานในลักษณะจำเพาะ)
ตามความเข้าใจของผม Fill in Flash คือการใช้แสงแฟลชผสมกับแสงธรรมชาติ โดยอาจใช้แสงแฟลชเป็นแสงหลัก หรือใช้เป็นแสงเสริมก็ได้ ตามแต่สถานการณ์หนึ่งๆ ที่เราต้องการ Fill in ...
อธิบายเพิ่มเติมนะครับ มองง่ายๆ สถานการณ์หนึ่งๆเราใช้เพียงแสงธรรมชาติ ก็สามารถให้ภาพที่ดีได้ เช่นนี้ ก็ไม่ต้อง Fill in ....
แล้วสถานการณ์ไหนที่เราต้อง Fill in Flash บ้างล่ะ? ก็คือสถานการณ์ที่เราไม่สามารถควบคุมแสงธรรมชาติ ให้ตกลงบนวัตถุที่เราต้องการจะเน้นในภาพนั้นได้อย่างเพียงพอ
ยกตัวอย่างง่ายๆ กับภาพบุคคลนะครับ ภาพคนจะเกิดเงาดำบนใบหน้า (ไม่เห็นรายละเอียดหรือเห็นน้อย) เมื่อคุณถ่ายภาพที่ค่าแสงของฉากหลังมากกกว่าตัวแบบมากๆ เช่น - ถ่ายภาพย้อนแสง (แสงอาทิตย์อยู่หลังตัวหรือเยื้องอยู่ด้านหลังตัวแบบ) - ถ่ายภาพในที่ร่ม โดยมีฉากหลังอยู่กลางแจ้ง (ตัวแบบอาจจะอยู่ในร่มไม้หรือใต้อาคารแล้วคุณเลือกฉากหลังที่โดนแสงอาทิตย์โดยตรง) จะเห็นว่าทั้ง 2 กรณี แสงฉากหลังก็มีค่าการสะท้อนแสง ของฉากหลังที่มากกว่าตัวแบบอย่างที่คุณเปรยไว้
กระจกหรือวัตถุที่เป็นสีขาวนั้น มีค่าการสะท้อนแสงที่มากกว่าปกติ ซึ่งต้องชดเชยแสงให้สว่างกว่าปกติอยู่แล้ว จึงจะได้ค่าแสงพอดีที่ตัววัตถุที่เราถ่าย อ่านดีๆ นะครับผมหมายถึง "วัตถุหลักที่เราจะถ่ายเป็นสีขาว" ซึ่งถ้าเราไม่ชดเชยแสงให้สว่างกว่าปกติ สีขาวนั้นจะกลายเป็นสีเทา เข้าใจว่าน่าจะพอทราบข้อจำกัดนี้ ของเครื่องวัดแสงในตัวกล้องที่รู้จักแต่สีเทาดีอยู่แล้ว
ที่นี้มาวกกลับไปถึงคำแนะนำในคู่มือที่คุณกล่าวถึง กรณีของฉากหลังที่เป็นสีขาว ซึ่งมีค่าการสะท้อนแสงที่มากกว่าปกติ เมื่อคุณถ่ายภาพบุคคลกับสถานการณ์เช่นนี้ ค่าแสงที่ฉากหลัง (ที่เป็นสีขาว) มันก็จะหลอกเครื่องวัดแสง (ที่รู้จักแต่สีเทา) ให้ถ่ายภาพที่มืดกว่าปกติ ซึ่งนั้นหมายถึงตัวแบบของคุณก็จะมืดกว่าปกติด้วยเช่นกัน คู่มือจึงยกสถานการณ์ลักษณะนี้ขึ้นมา เป็นตัวอย่างรูปแบบหนึ่งที่คุณจะต้อง Fill in Flash
แต่ . . . หากคุณลองย้อนกลับไปหนึ่งคอลัมม์ ผมได้พูดถึงการชดเชยแสงไว้ คุณก็สามารถปรับภาพให้สว่างขึ้นแทนการใช้แฟลช Fill in ได้เช่นกัน
แต่ . . . (อีกหนึ่งแต่) หากภาพบุคคลที่คุณถ่ายกับฉากหลังที่เป็นสีขาวนั้น มีสัดส่วนของฉากหลังสีขาวเพียงเล็กน้อย (ส่วนใหญ่เป็นตัวแบบของคุณมากกว่า) กรณีนี้เครื่องวัดแสงในกล้องก็ไม่ได้ถูกสีขาวของฉากหลัง หลอกแต่ประการใด ก็ไม่ต้องชดเชยแสง และก็ไม่ต้อง Fill in Flash
ผมไม่ทราบคุณใช้ฟิล์มหรือดิจิตอลอยู่ ถ้าใช้ดิจิตอลก็ง่ายเลยครับที่คุณจะปรับให้มันสว่างขึ้นเท่าไหร่ แต่หากใช้ฟิล์ม ในกรณีที่มีพื้นที่สีขาวอยู่ในภาพมากพอที่จะหลอกกล้องได้ คือมากกว่า 2/3 ของภาพ หรือส่วนใหญ่ของภาพ (นี่ไม่ใช่ทฤษฎีนะครับ เป็นผลจากการทดลองและเป็นความพึ่งพอใจส่วนตัวครับ) ก็ให้ชดเชยแสง 1 - 1.5 stop ตามแต่สถานการณ์
ดูผมจะนอกเรื่องไปไกล ยังงัยถ้าประเด็นไหนไม่เป็นประโยชน์ก็ข้ามๆ ไปล่ะกันครับ
กลับมากเรื่อง Fill in อีกที อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้นว่าคือการใช้แสงแฟลชผสมกับแสงธรรมชาติ
มองง่ายๆ อีกครั้งครับ เวลาที่คุณถ่ายภาพที่ไม่ต้องใช้แฟลช (ใช้แสงธรรมชาติ) คุณก็วัดแสง จัดองค์ประกอบ โฟกัส และถ่ายภาพ ใช่มั๊ยครับ
ที่นี้ เวลาที่คุณใช้แฟลช (ในที่นี้หมายถึงการใช้แต่แสงแฟลชอย่างเดียวในการถ่ายภาพ) เรื่องวัดแสงอาจจะไม่ได้เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงมากใช่มั๊ยครับ หากใช้โหมดแฟลช TTL หรือ TTLอื่นๆ รูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้ (ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงในการถ่ายภาพโดยใช้แสงธรรมชาติ) เป็นเรื่องที่แทบจะลืมไปได้เลยหากต้องการแต่แสงแฟลช รูรับแสงที่ใช้ ก็แค่ดูไม่ให้เกินระยะที่มีบอกไว้บนจอ LCD ด้านหลังแฟลช ส่วน speed ก็ใช้ไม่ให้เกินที่ spec ระบุไว้ เช่น F80 ที่ 1/125 เป็นต้น เป็นเพราะอะไรครับที่เราไม่ต้องคำนึงถึง speed และ รูรับแสง เพราะเซ็นเซอร์ที่ใช้ในการควบคุมปริมาณแสงแฟลชที่อยู่ในตัวกล้อง มันอยู่แยกต่างหากจากเครื่องวัดแสง (ธรรมชาติ)
ผมพูดถึงเรื่องนี้ทำไม? ผมอยากให้เข้าใจภาพรวม [concept] ครับ ว่า . . . แสงธรรมชาติที่เราใช้บันทึกภาพถูกควบคุมด้วยตัวควบคุมชุดหนึ่ง ที่ไม่เกี่ยวกันเลยกับตัวที่ใช้ควบคุมแสงแฟลช
ก็กลับมาเรื่อง fill in อีกที เมื่อกี้ ผมว่าเมื่อเราบันทึกภาพด้วยแสงธรรมชาติ เราก็ 1. วัดแสง 2. จัดองค์ประกอบ 3. โฟกัส และบันทึกภาพ แต่เมื่อเราบันทึกภาพด้วยแสงแฟลชเราจะ 1. จัดองค์ประกอบ 2. โฟกัส และบันทึกภาพได้เลย ที่นี้เมื่อเราต้องการจะ Fill in Flash ซึ่งก็คือการบันทึกภาพด้วยแสงธรรมชาติและแสงแฟลช เราก็ . . . 1. วัดแสง (ธรรมชาติ) 2. จัดองค์ประกอบ 3. โฟกัส และบันทึกภาพ ซึ่งแน่นอนว่าต้องไม่ลืมต่อแฟลชเข้า Hot shoe และเปิดโหมดแฟลชไปที่ TTL ซะก่อน ง่ายม่ะ
ที่นี้สถานการณ์ใดที่ต้อง Fill in และ มันดีกว่าไม่ Fill in ยังงัย
นอกจาก 2-3 สถานการณ์ข้างต้นแล้ว แล้ว มีอีก 2-3 สถานการณ์ที่อยากแนะนำ คือการ Fill in ร่วมกับ Speed ต่ำ หมายถึงการใช้แฟลช fill in ในสถานการณ์ที่แสงในสถานที่นั้นน้อยมาก ยกตัวอย่างง่ายๆ กับภาพบุคคลอีกครั้ง เช่น การถ่ายภาพน้องสาวของคุณกับอาคารประดับไฟในยามค่ำคืน ในสถานการณ์แบบนี้ แสงธรรมชาติคือ ตัวอาคารที่เป็นฉากหลังใช่มั๊ยครับ ค่าแสงที่ตัวน้องคุณถ้าไม่มีไฟบริเวณนั้นเลยก็แทบจะเรียกว่าวัดแสงไม่ได้ ซึ่งแฟลชนี้แหล่ะครับที่จะช่วยให้แสงที่ตัวแบบของคุณ วิธีการก็คือ วัดแสงธรรมชาติ (ตึกประดับไฟ) จัดองค์ประกอบ โฟกัส และถ่ายภาพพร้อมแฟลช
สถานการณ์ต่อมาที่นิยมใช้การฟิลแฟลช คือใช้หยุด ACTION ของตัวแบบ เช่น การถ่ายภาพการแสดงรำกระบองไฟ ภาพลักษณะนี้ก็คล้ายๆ ก็กรณีที่พึ่งกล่าวถึง แต่ว่า ตัวแบบไม่ได้หยุดนิ่ง เช่นกรณีก่อน กรณีนี้แสงธรรมชาติก็คือไฟที่กระบองไฟ เช่นเดิมครับขั้นตอนต่างๆ ภาพลักษณะนี้จะให้ความรู้สึกของความเคลื่อนไหว เพราะจะมีส่วนหนึ่งที่มีความคมชัดจากแสงแฟลช และส่วนที่เคลื่อนไหวจากแสงธรรมชาติ
ลักษณะสุดท้ายคือใช้แก้สีเพี๊ยน ในการถ่ายภาพภายใต้อุณหภูมิแสงที่ไม่ปกติ อุณหภูมิแสงที่ไม่ปกติในที่นี้หมายถึง สภาวะแสงที่อุณหภูมิต่ำหรือมากกว่า 5500 องศาเคลวิน ถ้าคุณใช้ดิจิตอลอยู่ปัญหานี้ก็แก้ได้ง่ายๆ ด้วย WB แต่หากใช้ฟิล์ม Day light อยู่ (ฟิล์มปกติทั่วไป) ในสภาวะแสงใต้ไฟประดิษฐ์ วันที่เมฆมาก เมื่อถ่ายภาพโดยไม่ได้มีการแก้สี ภาพจะเกิดการเพี๊ยนสี แฟลชเป็นวิธีการง่ายๆ อย่างหนึ่ง ที่อาจให้รูปที่ไม่เป็นธรรมชาตินักแต่ก็ง่ายและถูกเงินกว่า การซื้อฟิลเตอร์แก้สีแทบทุกเบอร์ ซื้อมิเตอร์วัดอุณหภูมิสี มาใช้ในการแก้สี วิธีการบันทึกภาพก็เช่นเดิมครับ
สรุปสุดท้ายสั้นๆ การ Fill in Flash ก็แค่เสียบแฟลชเปิดไปที่ TTL วัดแสงในส่วนของพื้นที่แสงที่คุณต้องการจะให้มันปรากฏบนภาพ และถ่ายภาพ เท่านั้นเองครับ
เรื่องวัดแสงเฉพาะจุดแล้วใช้งานไม่ได้นี้ไม่ทราบจริงๆครับ เพราะไม่ทราบ body ที่ใช้อยู่ โหมดการบันทึกภาพที่ใช้งานขณะนั้น เลนส์ โหมดแฟลช
ซึ่งถ้ารู้แล้วผมก็ไม่รู้อยู่ดีแหล่ะ แหะ แหะ แต่ถ้าบอกเรื่องเหล่านั้น น่าจะมีพี่บ้างคนในนี้บอกได้ครับ
...........
จากคุณ :
พอดีรู้แต่หลักการพื้นๆน่ะ (whyaNger__)
- [
11 พ.ค. 48 00:35:21
]
|
|
|