CafeTech-ExchangePantip MarketChatPantownBlogGangTorakhongGameRoom


    Symphony and Concerto ตอน 1 [อาทิตย์ที่ 1]

    Symphony and Concerto ตอน 1 [อาทิตย์ที่ 1]

    สวัสดีครับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆห้อง Classical Music

    หลังจากที่ได้รับน้องผมกันไปแล้ว ก็ได้ข่าวแว่วมาว่าหลายคนนั่งตบยุงกันในนี้ 55 แต่ว่า ผมมีเรื่องมาเล่าให้ฟัง ให้อ่านเล่นๆแล้วกันครับ

    แม้ว่าผมจะเรียนเมเจอร์ที่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับดนตรีเล้ย (อันที่จริงจะให้เกี่ยวก็ทำได้ แต่ต้องอ้อมหลายทีหน่อย) แต่ว่าด้วยความอิสระของโรงเรียนผม ก็เปิดโอกาสให้ผมได้ลงวิชาที่อยากเรียนนอกเมเจอร์ได้ตามใจชอบ แล้ววิชาที่ชื่อ Symphony and Concerto ก็เป็นหนึ่งในตัวที่ผมเล็งไว้นาน เทอมนี้ ก็ได้ฤกษ์ลงเรียนซักที ด้วยความที่ชอบฟังดนตรี ชอบเล่นดนตรีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็ทำให้คิดว่า วิชานี้คงจะสร้างความสุขสนุกล้นเหลือ เป็นการพักผ่อนจากวิชาที่เครียดๆอื่นๆที่ต้งอเผชิญไปพร้อมๆกันด้วย

    อาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นอาทิตย์แรกของการเรียนครับ วิชาของผมเรียนสองวัน วันจันทร์กับวันพุธ เรียนครั้งละชั่วโมงครึ่ง

    ผมรู้ในวันแรกที่เข้าเรียนว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เพลงอะไรบ้างที่ต้องฟัง งานอะไรบ้างที่ต้องทำส่ง ก็นับว่าท้าทายเหมือนกัน เพราะว่าด้วยข้อจำกัดเรื่องภาษาต่างๆนาๆ แต่... จะมีอะไรมายับยั้งความชอบของเราได้ ไม่สน ลุยเป็นลุย

    ปราการด่านแรกคือต้องซื้อหนังสือเรียนครับ 55 อ.ผมสั่งให้ซื้อเลย 22 เล่ม เป็น score 20 เล่ม หนังสือประกอบการฟังอีก 2 เล่ม (listener guide)

    อาทิตย์แรกก็เริ่มด้วย Vivaldi กับ Beethoven

    วิชานี้ไม่ได้เรียนตามเวลาว่าบทเพลงไหนแต่งก่อนแต่งหลัง หรือนักแต่งเพลงคนไหนเกิดก่อนเกิดหลัง อย่างเป๊ะๆ แต่ว่าโดยหลักๆก็จะเรียงตามยุคครับ ก็เริ่ม จาก Baroque ซึ่ง ก็จะถือว่า Vivaldi เป็นหัวข้อหลักของการเรียนในอาทิตย์แรก Beethoven เป็นตัวเสริม เราก็รู้กันดีอยู่แล้วว่า Beethoven อยู่ในช่วงคาบเกี่ยวระหว่าง Romantic กับ Classical ซึ่งเป็นยุคหลังจาก Baroque

    เพลงที่จะคุยกันในคลาสแรกคือ “Spring” ใน The Four Season (Vivaldi) กับ บทเพลงสุดยอดแห่งความฮิตติดชาร์ตอย่าง Symphony No.5 ของ Beethoven

    สำหรับเพลงแรก

    ผมว่าเราก็คุ้นหูกันดีอยู่แล้ว เพราะว่า The Four Season เป็นผลงานที่เรียกว่าดังที่สุดชิ้นหนึ่งใน Classical Music เลยก็ว่าได้ บทเพลงนี้ แต่งออกมาในลักษณะของ Concerto ก็คือมี Principle Violin กับ String จะมี Harpsichord กับ Archlute เพิ่มขึ้นมา ซึ่งก็เรียกรวมกันว่า Basso Continuo ครับ

    อ. ผมเล่าให้ฟังว่าฟอร์ม ที่ Vivaldi ใช้ ที่เรียกว่า Ritornello นั้น เป็นฟอร์มที่ใช้กันแพร่หลายในยุค Baroque ซึ่งผู้ที่หรือว่าเป็นมือโปรในการใช้ฟอร์มเหล่านี้ก็คือ Bach, Vivaldi หรือ Handel ครับ ในคลาสนี้ผมก็จะได้ฟังเพลงในยุคหลังๆซึ่งพัฒนา Ritornello ให้มันซับซ้อนมากขึ้นไปเรื่อยๆ

    ใน “Spring” (La Primavera) นั้น movement ที่ 1 กับ 3 จะเป็น Ritornello ครับ

    องค์ประกอบสำคัญของ Ritornello ก็คือ การสลับไปสลับมาของ Solo กับ Ritornello (หรือทำนองหลัก) ฟังๆดูก็จะเห็นได้ไม่ยากครับว่า เพลงจะอยู่ในรูป R S R S R S R S R สลับไปเรื่อย ส่วน Ritornello (บางทีก็เรียก Tutti) นั้นมีการเปลี่ยนบันไดเสียงบ้าง ตามแต่กำหนด

    เพลงที่สอง Symphony เบอร์ห้านั้น... ไม่พูดถึงแล้วกันครับ 55 ทุกท่านคงคุ้นหูมากๆอยู่แล้ว โดยเฉพาะ movement แรก แต่ว่า movement ที่ 2,3 และ 4 นั้น อาจจะไม่ดังเท่า ผมก็ฟังไม่บ่อยเท่าอันแรก พอมาฟังอย่างตั้งใจทั้งหมด ก็ทำให้ซาบซึ้งมากครับ

    สำหรับการบ้านของผมนั้น ก็คือฟังเพลงที่จะเรียนหรือคุยกันในคลาสอาทิตย์หน้า ซึ่งจะเป็น Bach, Vivaldi และ Haydn ครับผม

    โปรดติดตามตอนต่อไป อาทิตย์หน้าครับ

    ปล. ทั้งหมดเป็นการยำรวมกันระหว่างที่ฟังอ.พูดในคลาส อ่าน score อ่าน Listener guide อ่านชีทที่อ.ให้ แล้วก็เขียนเอา ผมอาจจะจำผิด หรือว่ามั่วนิ่ม อย่างไรก็ขออภัยด้วยครับ ผมไม่ใช่คนที่ศึกษา ทฤษฏีดนตรีอย่าง serious หรืออะไร ส่วนมากเป็นครูพักลักจำทั้งนั้นครับ 555

    จากคุณ : thetorque - [ 12 ก.พ. 49 13:46:26 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป