CafeTech-ExchangePantip MarketChatPantownBlogGangTorakhongGameRoom


    Symphony and Concerto ตอน 2 [อาทิตย์ที่ 2: Bach และ Stravinsky]

    Symphony and Concerto ตอน 2 [อาทิตย์ที่ 2: Bach และ Stravinsky]

    มาถึงอาทิตย์ที่สองกันนะครับ ตอนแรกคิดว่าจะเขียนรวบยอดแต่ละอาทิตย์ (ซึ่งอาทิตย์นึงเรียนสองครั้ง) แต่ก็กลัวว่ากระทู้จะยาวเกิน แล้วที่สำคัญ ผมก็จะลืมไปด้วยว่าเรียนอะไรมา เขียนวันต่อวันเป็นการทบทวนดีครับ แล้วก็จะได้เป็นการเตรียมสอบไปในตัว 555

    หลายท่านอาจจะแปลกใจว่า Bach และ Stravinsky เกี่ยวกันยังไง คนละยุคเลยครับ ท่านนึง Baroque อีกท่านเป็นยุค 20th century แต่ว่าบทเพลงที่วิเคราะห์กันวันนี้พอฟังแล้วก็จะ อื้ม ไม่แปลกเลยที่จะเอามารวมอยู่ด้วยกัน

    บทเพลงของ Bach ที่จะพูดถึงในวันนี้คือ Brandenburg Concerto No. 2 และ 3 ครับ ซึ่ง Bach แต่งไว้ตอนที่เค้าเองเป็น Court Music Director ให้กับเจ้าชายแห่ง Cothen

    Brandenburg Concerto ถือว่าเป็นหนึ่งในผลงานชิ้นโบว์แดงของ Bach เลยครับ เพราะว่า (อาจารย์ผมให้เหตุผลไว้) ได้เงินเป็นค่าตอบแทน 55 ส่วนงานยุคหลังๆ ส่วนมา Bach จะแต่งให้กับนักเรียนเล่นในบาร์กัน (เมื่อก่อน บาร์ หรือร้านตัดผม แทนที่จะมีหนังสือให้อ่านเล่นเหมือนในสมัยนี้ หรือว่าไปฟังคนร้องเพลง ก็จะมีเครื่องดนตรีแขวนไว้ วางไว้ ให้นักเรียน หรือใครก็ตามที่เข้าไปในบาร์หยิบเล่นได้ตามสะดวกครับ แล้วบาร์ที่มีหลายชั้นก็อาจจะ กั้นชั้นนึงไว้ให้เป็น Chamber Music Performance เลยครับ)

    สำหรับผู้ที่อยากรู้ว่า ลักษณะเพลงที่เรียกว่า Ritornello เป็นอย่างไรนั้น Brandenburg Concerto เป็นตัวอย่างที่ดีเลยครับในการศึกษา นอกจากนั้น เรายังจะเป็นการใช้ Circle of fifth (การวางคอร์ดตามหลัก circle of fifth) ตลอดเกือบทั้งเพลงเป็นครั้งแรกในวงการเพลงด้วยครับ สิ่งที่น่าจับหูฟังดูก็คือ walking bass ใน Concerto No. 2 ในช่วง 2nd movement ด้วยครับ

    Concerto No. 2

    movement แรกเป็น ritornello ครับ ก็จะมี theme หลักในช่วงไม่กี่ห้องแรก ส่วนเครื่องดนตรีที่ “เดี่ยว” หรือ solo นั้นก็จะมีอยู่ 4 เครื่อง คือ Oboe, Flauto (Recorder), Violin แล้วก็ Trumpet ครับ ช่วงที่ Recorder ทำการ solo นั้น Bach กำกับเอาไว้อย่างชัดเจนกับเครื่องดนตรีอื่นๆเลยว่า ให้เบาๆๆๆ ไม่งั้นจะทำให้ recorder ซึ่งเสียงเบาหวิวอยู่แล้วไม่ได้ยินและไม่เด่นครับ

    movement ที่สอง นอกจาก Bass (Basso Continuo ที่มีส่วนหลักคือ Harpsichord) แล้ว เครื่องดนตรีอื่นก็จะสอดแทรก theme หลักซ้อนไปซ้อนมาเรื่อยๆ เป็นจุดเด่นของบทเพลงของ Bach เลยครับ

    movement ที่สามเป็น fugal ครับ คือคล้ายๆ movement 2 แหละครับ มี trumpet เล่น theme หลักขึ้นมาก่อน แล้วก็ เครื่องก็เล่น theme เดิน ซ้อนไปเรื่อยๆ

    ส่วนเบอร์ 3 นั้นลองไปฟังกันดูนะครับ 55 ไม่รู้จะเขียนอะไรเหมือนกัน ก็คงมีแต่ movement ที่ 2 ที่แปลกดีครับ Bach เขียนไว้แค่ 2 คอร์ด นอกนั้นนักดนตรีจะ improvise เองหรือทำอะไรก็ตามใจ ในเวอร์ชั่นที่ผมฟังอยู่ก็ยาวแค่ 47 วินาทีเท่านั้น สั้นจังเลย...

    ทีนี้มาถึง Stravinsky แล้วครับ งานที่เราจะเอาเทียบกับของ Bach คือ Dumbarton Oaks concerto in E-flat

    เราอาจจะคุ้นเคยกับงาน neo-classic ในพวกภาพเขียนมาบ้างแล้ว บทเพลงนี้ก็เป็นงาน neo-classic ชิ้นหนึ่งที่นำเอาแนวเพลง ของ Bach เหมือนที่ใช้ใน Brandenburg Concerto มาใช้บ้าง เรียกว่าได้แรงบันดาลใจมาอย่างล้วนๆ (จะเรียกว่าก๊อปก็.. 55 ไม่ดีกว่า)

    แค่เริ่มต้นมาก็งงแล้วครับว่านี่ Stravinsky หรือ? ฟังเหมือน Bach เปี๊ยบ แต่พอฟังๆไปก็เริ่มแผลงๆครับ ก็รู้ว่า อ้อ ใน Stravinsky ไม่ผิดแล้ว เพราะว่า จังหวะแปลกๆ Time signature แปลกๆ นี่ก็ฟังได้ทั่วไปในงานชิ้นนี้ครับ

    Theme หลักของ  movement ที่ 1 ก็มาจาก Brandenburg เลยครับ (เบอร์อะไร ให้ลองไปแกะกันดูนะครับ) แต่ว่า movement ที่ 2 นี่ก็จะแปลกหน่อย เพราะว่านำมาจาก Opera เรื่อง Falstaff ของ Verdi ครับ พอไปที่ movement สุดท้ายก็จะได้ยิน theme ของ Bach อีกนั่นแหละ

    เพลงสองเพลง ที่แต่งต่างกันเป็นร้อยปี แต่ก็มีความเหมือนที่แตกต่าง น่าสนใจดีนะครับ

    ขอบคุณที่ติดตามครับผม มีข้อคิดเห็นแนะนำอะไร ยินดีรับฟังเสมอครับ แล้วพบกันใหม่คราวหน้าครับผม

    จากคุณ : thetorque - [ 14 ก.พ. 49 11:04:05 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป