CafeTech-ExchangePantip MarketChatPantownBlogGangTorakhongGameRoom


    Symphony and Concerto ตอน 4 [อาทิตย์ที่ 3 : Mozart ]

    Symphony and Concerto ตอน 4 [อาทิตย์ที่ 3 : Mozart ]

    อภัยที่ดองไว้นานนะครับ พอดีอาทิตย์ที่แล้วยุ่งมากๆ เลยไม่มีเวลาเขียนเลย แล้วก็ไม่ค่อยสบายด้วยครับ คราวนี้เลยรวบยอดทั้งสองอาทิตย์ไว้ด้วยกันเลยแล้วกันครับ

    สองอาทิตย์นี้ เราก็เสร็จจาก Baroque มาถึง Classical ซักทีนะครับ ก็จะมาดูบทเพลงของ Mozart ครับผม

    Mozart นั้น ก็เป็นที่รู้ๆกันอยู่ถึงความอัจฉริยะต่างๆนาๆที่เราได้ยินกันมานะครับ ซึ่งบางคนอาจจะสงสัยว่า เรายกย่องเกินจริงไปรึเปล่า ผมก็ต้องบอกว่าเปล่าเลยครับ (โดยเฉพาะอาจารย์ผม แกคลั่งไคล้ Mozart มาก) ถ้าคิดถึงจำนวนปีที่ Mozart อยู่ แล้วผลงานที่ผลิตออกมา ไม่น่าเชื่อครับ ว่าจะมีคนที่ทำได้อย่างนี้ ผลงานนับไม่ถ้วน กับ ดนตรีที่เต็มเปี่ยมไปด้วย จินตนาการหลายหลาก การเรียบเรียงเสียงประสานที่บางครั้งก็เรียบง่ายแต่ซับซ้อน โดยเฉพาะผลงาน 5 ชิ้นที่พวกเราได้พูดถึงกันในห้องเรียนครับ

    Piano Concerto No. 20, K 466

    ครั้งแรกที่ผมฟัง ผมต้องฟังอยู่นานถึงจะเชื่อว่านี่เป็นผลงานของ Mozart จริงๆ

    ปกติเราจะคุ้นเคยกับงานของ Mozart ที่ไม่ค่อยมี tension หรือ ความดุดันอย่างที่ Beethoven หรือ Haydn มี (ซึ่งถ้าเราเทียบกับ Piano Concerto No. 21 ก็จะเห็นข้อแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด) ตั้งแต่ เริ่มต้นของ Movement แรก ไปจนถึงจบ เรียกได้ว่าเป็นเพลงที่เครียดเอาการที่เดียว (แต่มันส์ครับ) ใน Movement ที่สอง ที่เราปกติจะได้ยินท่วงทำนองเพราะๆนั้น ก็กลับโดนขัดโดยท่อนเพลงที่ stormy แล้วก็เต็มไปด้วย tension ซึ่งเราไม่คิดว่าจะได้ยินใน Movement ที่สองของ Mozart ครับ ทั้งๆที่ตอนเริ่ม ก็เริ่มด้วยทำนองที่ค่อนข้างเงียบสงบแล้วก็สวยงามที่บรรเลงโดย piano

    ยิ่งตอนเริ่มของ Movement ที่ 3 (เป็น rondo) ก็จะยิ่งสงสัยครับ ว่านี่เราฟัง Mozart อยู่จริงหรือ

    อีกอย่างนึงก็คือ Piano Concerto อันนี้อยู่ในคีย์ D-minor ครับ Mozart เองไม่ค่อยได้ใช้คีย์นี้ในการแต่งเพลงซักเท่าไหร่ ก็จะมี Don Giovanni ที่แต่งใน D-minor อีกครับ (หายากจริงๆที่อยู่ในคีย์นี้)

    Piano Concerto No. 21, K467

    เข้าห้อง Classic ทีไรก็ได้ยินเพลงนี้ จริงมั้ยครับ? Midi file ที่อยู่บนหัวของห้องนี้ก็คือ movement ที่สองของ Piano Concerto in C-major อันนี้นี่เองครับ

    เพลงนี้หลายคนจะเรียกว่าเป็น Concerto คู่กับเบอร์ข้างบนครับ ไม่ใช่เพราะว่ามันเหมือนกันนะครับ แต่ว่าก็เหมือนกับเป็นอีกด้านของดนตรีของ Mozart เลย เพราะว่าอันนี้อยู่ในคีย์ C-major ( หนึ่งในคีย์โปรดของ Mozart) โดยลักษณะของเพลงก็จะสดใสร่าเริงกว่า แต่ในความสดใสร่าเริงนั้นก็บางทีแฝงไว้ด้วยความซีเรียส แล้วก็หดหู่บางครั้ง

    Movement ที่สอง ที่เราได้ยินอยู่ตอนที่อ่านกระทู้ห้องนี้ ถือว่าเป็นหนึ่งในทำนองฮิตติดชาร์ทของ Mozart เลยครับ ลองฟังดูก็จะรู้ว่ามันให้อารมณ์ที่บอกไม่ถูกจริงๆ ครับ มันสวยงามมาก (ไม่รู้จะบรรยายยังไงจริงๆ 55)

    ใน Sonata-Rondo ซึ่งเป็น movement สุดท้ายนั้นก็ แสนจะสนุกครับ ร่าเริงแจ่มใสเช่นกัน

    สรุปว่า No. 20, 21 นั้นฟังคู่กันคงจะให้อารมณ์ที่ขัดกันอย่างประหลาดครับ แต่ผลงานทั้งสองชิ้นนี้ก็ถือว่าที่สุดของ Piano Concerto ของ Mozart แล้วครับ

    Symphony No. 36, 38, 40 และ 41

    ถ้าพูดถึงทีละ movement ก็คงเยอะเกินไปพอดี เอาเป็นว่ารวมๆแล้วกันครับ 55

    ปกติในแต่ละ movement ถ้าเป็น sonata form เราก็จะมีที่เรียกว่า exposition ก็คือคล้าย theme หลักของเพลงนั่นเองครับ ใน theme หลักนั้น เราก็อาจจะมี ช่วงทำนองเล็กๆที่เรียกว่า motives อะไรทำนองนี้ Mozart เองนั้น ถือว่าเป็นผู้ที่ใช้ motives หรือ theme หรืออะไรก็ตามอย่างไม่จำกัดครับ ความหลากหลายในท่วงทำนอง ในลำดับการวางคอร์ด นั้น ใน symphony บทเดียว หรือแม้แต่ movement เดียวนั้น ก็มีให้เราฟังกันนับไม่ถ้วนครับ เยอะมากๆ

    บางท่านอาจจะงงว่าผมพูดถึงอะไรอยู่ ลองเทียบกับ Beethoven’s Symphony No.5 ตอนเริ่มก็จะเห็นชัดครับ ของ Beethoven นั้น movement แรก ทั้ง movement ก็คือ โน้ตสี่ตัวที่เราคุ้นกันดี ส่วนทั้ง movement ก็คือการนำโน้ตสี่ตัวนั้นไปพัฒนาต่อ แต่กับของ Mozart นั้นก็จะเป็นอีกลักษณะนึงครับ นี่เป็น richness ของ melody ที่ Mozart มี แล้วคนอื่นไม่มีครับ

    Movement สุดท้ายของ Symphony No. 41 “Jupiter” นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งใน movement ที่วิเคราะห์ได้ยากที่สุดอันนึง เพราะว่า movement นี้เป็น peak ของ richness ที่ผมกล่าวถึงไว้ครับ ถ้าเราลองเอา score มาดู จะเห็นว่า เครื่องดนตรีแต่ละเครื่องเล่นทำนองนู้นทำนองนี้ สลับไปๆมาๆ ผสมกันเยอะแยะไปหมด แต่พอตอนที่เราฟัง กลับฟังดูลื่นหู ไพเราะมาก แทบไม่น่าเชื่อเลยครับ

    ส่วน Symphony No.40 นั้น movement แรกน่าจะคุ้นหูกันดีครับ ถ้าจะบอกว่า Piano Concerto No. 20 คู่กับ 21 ก็อาจจะบอกได้ว่า Symphony No.40 ก็คู่กับ 41 เหมือนกันครับ เพราะ Symp No. 40 มันก็มี tension มีความสับสนอลหม่าน ดุดัน อย่างที่ Piano Concerto No. 20 มีนั่นแหละครับ บางคนก็กล่าวว่า movement สุดท้ายของ Symp No. 40 เป็น “the most explosive music Mozart had ever written..”

    Symphony No. 38 “Prague” เป็นหนึ่งในสุดโปรดของผมเลยครับ ตอนเริ่มต้นจะช้าหน่อย (ซึ่งก็ไม่ค่อยจะได้ยินนัก แต่ก็จะได้ยินแบบนี้เหมือนกันใน “Linz”) แต่ว่าก็จะเป็น Allegro หลังจากเริ่มไม่กี่นาที Symphony บทนี้ Mozart เขียนตอนที่ไปที่ Prague เพื่อไปงาน  Premiere ของ Opera เรื่อง Don Giovanni ครับ (ตอนนั้น Marriage of Figaro ก็เล่นด้วย)

    Symphony No. 36 “Linz” บทเพลงนี้ Mozart ใช้เวลาแต่งเพียง 5 วันครับ (เค้าว่ากันอย่างนั้น) เพราะว่า Mozart เขียนให้กับ Count Thun (Mozart ไปที่ Linz วันที่ 30 ตุลา แต่ว่า Count Thun มีคอนเสิร์ตที่จะให้ Mozart เล่น Symphony ให้เค้าวันที่ 4 พฤศจิกายน สายข่าวรายงานมาว่า ก่อนหน้านั้น Mozart ไม่ได้คิดว่าจะเขียน Symphony หรืออะไรทั้งสิ้นครับ 55)

    ทั้งหมดนี้ก็เป็นเกร็ดเล็กๆน้อยๆกับงานของ Mozart ที่พวกเราได้พูดถึงกันในคลาสครับผม ลองฟังดู แล้วก็จะเห็นว่า สิ่งมหัศจรรย์ของดนตรีของ Mozart ก็คือ richness ที่ผมพูดถึงนั่นเอง

    แล้วอาทิตย์หน้าพบกันใหม่กับ Beethoven และ Haydn ครับ

    PS ขออภัยอย่างมากครับ ถ้าเขียนไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะว่าในคลาส คำที่เค้าใช้บรรยายนั้นผมนึกจะใช้คำภาษาไทยที่รู้มาพยายามแปลตรงตัวก็ยากเหลือเกิน ก็ต้องทับศัพท์ไปครับ คิดว่าอย่างนี้น่าจะสื่อความหมายได้ตรงตามที่ผมอย่างสื่อมากกว่าครับ

    แก้ไขเมื่อ 02 มี.ค. 49 04:49:48

    จากคุณ : thetorque - [ 2 มี.ค. 49 04:09:28 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป