ก่อนอื่นต้องรู้จักกับ "ประกาศสงกรานต์" ก่อน
ประกาศสงกรานต์ คืออะไร?
"ประกาศสงกรานต์" ปัจจุบันจะพบแต่ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และปฏิทินหลวง ที่พระราชทานเนื่องในวันปีใหม่ทุกปี หรือที่เอกชนพิมพ์จำหน่าย
ส่วนสมัยก่อนประกาศสงกรานต์ ถือเป็นการประกาศ พระราชกฤษฎีกาเรื่องหนึ่ง ตามประเพณีโบราณ กล่าวคือ เมื่อสิ้นสุดปีหนึ่งๆ จะเปลี่ยนปีนักษัตรเริ่มศักราชใหม่ ทางราชการโดยกรมพระสุรัสวดี ผู้ถือบัญชีกระทรวงทบวงการทั้งหมด ก็จะคัดสำเนาประกาศสงกรานต์ แจกจ่ายไปยังกรมกองต่างๆ จากนั้นแต่ละหน่วย ก็จะประกาศสงกรานต์ ให้ราษฎรได้ทราบทั่วกันเกี่ยวกับวัน เดือน ข้างขึ้น ข้างแรมในปีต่อไป เพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ของราษฎรที่ส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม เช่น ทำให้ทราบวันเวลาขึ้นศักราชใหม่ กำหนดการพระราชพิธี ศาสนพิธีต่างๆ การเกิดสุริยุปราคา และจันทรุปราคาในบางปี รวมถึงเกณฑ์น้ำฝนน้ำท่าของปีนั้นๆ เป็นต้น
โดยประเพณีเดิมเจ้าพนักงาน ก็จะตีฆ้องเป็นสัญญาณเรียกราษฎรมาประชุม แล้วอ่านประกาศให้ฟัง ซึ่งวิธีเช่นนี้เรียกกันว่า ตีฆ้องร้องป่าว ครั้นต่อมาเมื่อมีโรงพิมพ์เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงออกเป็นพระราชกิจจานุเบกษา พิมพ์ประกาศต่างๆ ของทางราชการ แทนการอ่านประกาศแบบเดิม พูดง่ายๆ ว่าประกาศสงกรานต์ก็คือ ปฏิทิน ของสมัยโน้น นั่นเอง
จากคุณ :
Qoo ซัง
- [
วันมหาสงกรานต์ (13) 12:48:11
]