ความคิดเห็นที่ 6
Mozart ทำให้ดนตรียุคคลาสสิคสูงส่งมากมาย Beethoven ถือเป็นจุดเปลี่ยนจากดนตรียุคคลาสสิค (ศตวรรษที่18)มาเป็นดนตรีคลาสสิคยุคโรแมนติค(ศตวรรษที่19)ซึ่งไม่มีใครยิ่งใหญ่จนบดบังคีตกวีท่านอื่นๆได้ เพราะในยุคโรแมนติคคีตกวีแต่ละท่านต่างก็มีจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคน และยิ่งใหญ่ในแต่ละมุมมอง เช่น Tchikovsky นั่นก็ยิ่งใหญ่สุดๆของรัสเซีย Sibelius ก็ยิ่งใหญ่ของฟินแลนด์ Gustav Holst ก็ยิ่งใหญ่ด้วยเพลงชุด The Planet นอกจากนี้ก็ยังมีกลุ่มคีตกวีชาตินิยม คีตกวีสาขาต่างๆ กลุ่ม Russian Five กลุ่ม Les six ของฝรั่งเศส โอย ยุคนี้สาธยายได้อีกยาว แต่จุดที่เปลี่ยนจากโรแมนติคมายุคศตวรรษที่20 เริ่มจากผลงานของ Debussy ที่ดนตรีคลาสสิคเริ่มโมเดิร์นมากขึ้น ส่วน Stravinsky นั้นก็ถือเป็นผู้ขยายขอบเขตทางดนตรีออกไปใกลขึ้นอีก จากนั้นก็จะแตกแขนงออกไปเป็นหลายแนว ตามเทคนิคนิยม และรสนิยมของคีตกวี เช่น เกิดดนตรี Serialism โดย Scheonberg ได้พัฒนาระบบเสียงเป็น12เสียงที่เรียกว่า Twelve Tone หรือ John Cage ที่วิ่งออกไปสุดขอบดนตรี ดังนั้นอาจเรียกได้ว่ายุคศตวรรษที่20นี้ ไม่น่าจะเรียกใครว่ายิ่งใหญ่ได้ เพราะคีตกวีทุกท่านล้วนยิ่งใหญ่หมด สาเหตุที่ยุคโมสาร์ทนั้นไม่มีใครยิ่งใหญ่เท่าเขา อาจเป็นเพราะยุคนั้นไม่มีคีตกวีที่มีความสามารถในระดับแถวหน้ามากมายนัก แต่หลังจากที่เริ่มมีการศึกษาจริงๆจังๆอย่างเป็นระบบมากขึ้น ก็เกิดคีตกวีที่มีความสามารถมากขึ้น ในยุคศตวรรษที่20นี้ ถ้าจะยกย่องคีตกวีท่านใด ก็ต้องดูว่างานเขาเป็นอย่างไร แนวใหน เพราะว่าปัจจุบันดนตรีคลาสสิคได้พังกำแพงขอบเขตทางปัญญาออกไปหมดแล้ว ผลงานของคีตกวีหลายท่านล้วนสุดขอบ แสดงความสามารถทางการจัดการถ่ายทอดความคิดผ่านทางดนตรีโดยมีเทคนิคการสร้างสรรค์งานที่ซับซ้อน ลึกซึ้งอย่างมาก เกิดแนวดนตรีออกไปอีกหลานแขนง เช่น Serialism Music,Expressionism,Impressionism,Minimallism,Aleatory,Electro-Acoustic,Chance Music,และอีกมากมาย ส่วนคีตกวีที่โดดเด่นก็เช่น Debussy,Ravel,Bernstein,Stravinsky,Stochausen,Ligeti,John Cage,John Adams,Steve Reich,Phillip Glass,Boulez,Xenakis,Aron Copland,Britten,Scheonberg,Alban Berg,Anton Webern,Bartok,Rachamaninov,Schotakovich,และอีกมากมายซึ่งล้วนยิ่งใหญ่มากมาย นอกจากนี้ในดนตรียุคใหม่นี้ยังมีคีตกวีชาวเอเชียที่ไปยิ่งใหญ่ในระดับสากลกับเขาด้วย เช่น Toru Takematsu,Tan Dun,Chen Yi,Keiko Abe และอีกมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนยังมีชีวิตอยู่ และเริ่มก้าวผ่านเข้ายุคศตวรรษที่21แล้วครับ และดนตรีก็บินไปใกลขึ้นด้วยครับ ส่วนในบ้านเรานั้นแม้จะไม่ค่อยได้รับความสนใจมากนัก แต่ก็มีผู้ที่น่าจะถือว่าเป็นคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ของบ้านเราหลายท่าน น่าเสียดายที่ส่วนใหญ่ล้วนต้องทำงานด้านการศึกษา ก็คือเป็นอาจารย์ไปด้วย เช่น ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร,วีรชาติ เปรมมานนท์,ณรงค์ ปรางเจริญ,วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น,เด่น อยู่ประเสริฐ,สุรัตน์ เขมาลีลากุล,จิระเดช เสตพันธ์,อติภพ ภัทรเดชไพศาล,บุญยรัตน์ ศิริรัตน์พันธ์,และอีกมากมาย แต่ก็ยังมีหายท่านที่เป็นคีตกวีเต็มๆตัว เช่น สมเถา สุจริตกุล,อภิสิทธิ์ วงศ์โชติ ฯลฯ โดยทั้งสองประเภทที่กล่าวมาล้วนเป็นคีตกวียุคใหม่ ที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งสิ้น ประเทศไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคีตกวีและงานดนตรีที่บริสุทธิ์เท่าใหร่นัก ส่วนใหญ่เป็นไปในเชิงดนตรีธุรกิจ ทั้งวงการภาพยนตร์ ค่ายเพลง หรือกระทั่งดนตรีคลาสสิคโดยตรง ที่นานๆทีจะนำผลงานของคนไทยกันเองออกแสดง ดังจะเห็นได้จากโปรแกรมคอนเสิร์ตต่างๆที่จัดขึ้น ที่เล่นซ้ำเพลง ซ้ำผู้แต่ง ซ้ำซาก ไม่ค่อยเอื้ออำนวยหรือสนับสนุนให้คีตกวีสร้างงานออกมามากนัก เมืองนอกนั้นคีตกวีได้รับการยกย่องเทียบเท่าศิลปินสาขาอื่นๆ(ศิลปินคือผู้สร้างงานศิลปะ เช่น จิตรกร กวี นักคิดนักเขียนต่างๆ ไม่ใช่พวกศิลปินค่ายเพลงที่ไม่อาจจะเรียกว่าศิลปินเท่าไรนัก) มีการจัดแข่งขันบทเพลงใหม่ การจัดสัมมนาดนตรี และอื่นๆเสมอๆ แต่บ้านเราเห็นจะมีแต่งาน Young Thai Artist Award ของมูลนิธิซีเมนต์ไทยมั้งที่เห็นคุณค่าของคีตกวีเทียบเท่างานศิลปะแขนงอื่น รู้สึกว่าจะมีการประกวดสาขาดุริยกวี(?) ช่วงๆนี้ละมั้ง ถือเป็นโครงการที่ดีในการแบ่งพื้นที่ให้กับเยาวชนที่จะสร้างงานศิลปะแขนงนี้ในสังคมบ้าง ไม่ใช่มีแต่ดนตรีขยะที่สำรอกงานออกมาทำลายโสตประสาทอยู่ดาษดื่น อย่างทุกวันนี้
จากคุณ :
printemp (printemp)
- [
18 ก.ย. 49 23:57:14
]
|
|
|