ความคิดเห็นที่ 64
ผมเห็นกระทู้แบบนี้ ผมรำคาญทุกที ฉะนั้นถึงจะไม่เกี่ยวแต่ผมก็ขอพูดหน่อยเหอะ
ที่ผมรำคาญมากๆก็คือ แนวคิดของทุกคนที่คิดว่า Fat Radio 104.5 ("FAT") กลายเป็นคลื่น "ตลาด" ไปแล้ว หรือว่า FAT ทรยศคนฟัง และอื่นๆๆๆ
ผมอยากจะขอให้ทุกคนแยกประเด็นนี้เป็นสองประเด็นได้แก่ 1) แนวเพลง 2) ศิลปินที่เปิด
1) แนวเพลง
เมื่อพูดถึงแนวเพลงแล้วนั้น สิ่งที่ทุกคนคิดเมื่อนึกถึงคลื่น FAT (หรือ"เคย"นึกถึง) ก็คือ ความ "แนว" ของมันนั่นเอง
ความ "แนว" กล่าวคือ ความที่คลื่น FAT เปิดเพลงในแนวเพลงที่ไม่เหมือนคลื่น "ตลาด" ทั่วๆไป เปิดเพลงแนวใหม่ๆที่สร้างสรรค์ (หรือเปล่า) และน่าสนใจ และเป็นคลื่นทางเลือก
แต่เวลานี้ ทุกคนกล่าวหาว่า FAT ได้ละทิ้งแนวทางตรงนี้ไป และกลับหันเข้าสู่ความเป็นตลาด แต่ผมอยากให้ทุกคนได้ลองใช้สมองซักนิด โดยปราศจากอคติ แล้วลองคิดดูว่าจริงเหรอที่แนวเพลงของ FAT เปลี่ยน?
1.1) แนวเพลงที่แฟตเคยเป็น
เมื่อประมาณต้นทศวรรษที่ '00 กล่าวได้ว่าเป็นจุดกำเนิด และจุดที่ FAT เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เรามาลองคิดย้อนกลับไปว่าในช่วงนั้น มีอะไรที่ดังๆบ้าง ซึ่งจะมีสามอย่างก็คือ 1 อัลบั้ม และ 2 ค่ายเพลง
อัลบั้มที่ผมอยากจะยกตัวอย่าง เพราะผมคิดว่าคือ "ยุคทอง" ของ FAT ที่แท้จริง คือชุด "Perspectives #1" ที่นำศิลปินเก๋าๆในยุคนั้น ออกมาคัฟเวอร์เพลงของเบิร์ดกะฮาร์ต ซึ่งอัลบั้มนั้นออกมาในปี 2002
ศิลปินในอัลบั้มนั้นประกอบด้วย P.O.P บอย friday อาร์มแชร์ เพนกวิ้นวิลล่า โมโนโทน the photostickermachine โซฟา kidnappers เล็ก พราว siam secret service 2 days ago kids, etc.
อัลบั้มนี้ถือว่าสำหรับในยุคนั้น เป็นอัลบั้มที่ล้ำมาก ซาวนด์แต่ละเพลงแตกต่างไปจากอัลบั้มที่ออกในช่วงนั้นเป็นอย่างยิ่ง และมีศิลปิน "ในตำนาน" หลาคนเช่น kidnappers หรือ เล็กวงพราว armchair photosticker machine sss หรือ ตัวเบ้งๆที่ยังดังคับฟ้ามาถึงวันนี้ได้แก่ P.O.P บอย ตรัย
ซึ่งรายชื่อเหล่านี้ จะนำไปสู่ค่ายเพลงที่ผมจะยกเป็นกรณีศึกษา ซึ่งได้แก่ Bakery และ Smallroom
ฉะนั้นในตอนนี้ ขอให้ทุกคนลองคิดย้อนไปถึงเวลานั้นให้ดี (โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มคนที่คิดว่า "ตอนนั้นดีกว่าตอนนี้เยอะเลย ตอนนี้เปิดเพลงตลาดเอี้ยอะไรวะ :-)") และลองนึกให้ขึ้นใจว่าแนวเพลงในยุคนั้นเป็นยังไงบ้าง มีส่วนไหนที่เรารัก จำไว้ให้ดีนะครับ
ปล. จริงๆแล้ว มีอีกตั้งหลายวงที่อยากยกตัวอย่าง แต่ขี้เกียจพิมพ์
1.2) แนวเพลงที่แฟตเป็นในตอนนี้
ตอนนี้ ลอง fast forward มา ณ 2007 ผ่านไปห้าปีพอดี ซึ่งทุกอย่างก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลา แต่บางอย่างก็เร็วกว่าอย่างอื่น โดยเฉพาะความ "ตลาด" ของ FAT ซึ่งทำให้หลายคนมีอคติอย่างแรงกล้าจนเมื่อพูดถึงคลื่นนี้ทีไรจะมีความผะอืดผะอมกับคำว่าเด็กแนวอย่างแรง
แต่ถ้าหากทุกคน ลองฟังดูดีๆ ผมจะขอบอกเลยว่าอย่างน้อย 50% ของเพลงที่เปิดอยู่ในตอนนี้ ทุกเพลงคือ "เพลงแนว" หากคุณจะย้อนหลังไปห้าหกปี
แม้แต่เพลงที่โคดโหลเห่ยกระจายอย่างเหล่านักร้อง AF ก็ตาม หากลองวิเคราะห์ตามแนวทางดนตรี และเทียบดูกับดนตรี "ตลาด" และดนตรี "แนว" ในบริบทของปี 2000 จะเห็นได้ว่า AF นั้นเป็นเพลงแนวทั้งหมด
ที่ผมพูดหล่านี้ อ้างอิงกับทฤษฎีดนตรี ทั้งในแง่ของทำนอง ทางเดินคอร์ด การใช้เครื่องดนตรี (instrumentation) และอื่นๆ ลองคิดดู เพลงที่ใช้คอร์ดแนวแจ๊ซ โซล และอื่นๆ หากย้อนหลังไป 5 ปี ท่านจะไม่เคยได้ยินเลย
ในตรงนี้ เราขอมอบประโยชน์ให้แก่ Bakery ซึ่งจัดได้ว่าเป็นค่ายที่ให้กำเนิดเสียงแจ๊ซ โซล คอร์ด maj7 คอร์ด 7 ทั้งหลาย ให้แก่วงการดนตรีเมืองไทย ซึ่งในปัจจุบัน ทุกวงตลาด ได้เปิดรับที่จะใช้คอร์ดที่มีเสียงลึกซึ้งขึ้นมาในอีกระดับเหล่านี้ได้
ลองคิดถึงวงเช่น groove rider, jet setter, หรือ etc วงเหล่านี้ คือวงที่ได้ประโยชน์จากการที่ FAT ได้ยกระดับโสตประสาทของนักฟังเมืองไทย ให้สามารถฟังเพลงที่มีความซับซ้อนในภาษาดนตรีได้มากขึ้น
แต่เพลงเหล่านี้ เรียกได้ว่าเป็นเพลงแนวหรือไม่ในยุคปัจจุบัน? ไม่เลย เพลงเหล่านี้คือเพลงตลาดดีๆนี่เอง ตั้งแต่เด็กประถมถึงมหาลัย ต่างรัก Bakery ต่างรักเพลงของบอยด์ (ที่แต่ก่อนโดนด่าว่าฟังยาก)
ว่างๆค่อยมาเขียนเริ่มขี้เกียจ
2) ศิลปินที่เปิด
ว่างๆค่อยมาเขียนเริ่มขี้เกียจ
3) บทสรุป
อ่านตรงนี้แล้วกัน
เนื่องด้วยพัฒนาของวงการดนตรีของเมืองไทยนั้น ซึ่งในนัยหนึ่งนั้น ควรให้ประโยชน์แก่ FAT อย่างเต็มที่ แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดขึ้นมาจากสภาพการศึกษา และการเข้าถึงข้อมูลที่ดีขึ้นของประชาชนชาวไทย ทำให้เกิดการผนึกภาษาดนตรีจาก"แนวเพลง"ที่แตกต่างกัน รวมถึงแนวเพลงที่ได้หยิบยืมมาจากดนตรีนอกกระแสและดนตรีต่างประเทศ ทำให้ภาษาดนตรีและแนวเพลงตลาดของเมืองไทย ได้พัฒนาขึ้นถึงจุดที่การแบ่งแยกระหว่าง ดนตรี "แนว" และ "ตลาด" ของเมืองไทย ไร้ความหมาย
คลื่น FAT ไม่ได้เปลี่ยนไป เพียงแค่คนฟังมีความรู้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้"คนทำเพลง" ลำบากมากขึ้น เพราะสิ่งเดียวที่คนทำเพลง "แนว" สามารถที่จะทำได้ มีอยู่สองทางเลือก คือ 1) การทำเพลงแบบ "ฉันทำเอง" โดยไม่ยึดติดกับค่าย ที่คนหลายคนคิดว่านี่แหละคืออินดี๊อินดี้ไอเลิฟยู กับ 2) การทำเพลงที่เป็น"แนวเพลง" ที่แตกต่างไปอย่างแท้จริง ซึ่งโดยข้อจำกัดทางความรู้ ความสามารถ และที่สำคัญที่สุดคือข้อจำกัดทางพรสรวรรค์ ทำให้ในวงการมีศิลปินแบบ 1) มากกว่า 2) และโดยมากศิลปินแบบ 1) จะมีคุณภาพที่แย่ (ถึงแย่มาก) ทำให้คลื่น FAT ไม่สมควรเปิดน่ะแหละดีแล้ว และในเวลาเดียวกัน ศิลปินในข้อ 2) ในสภาวะของวงการดนตรีในปัจจุบัน การที่จะเป็นศิลปินในข้อ 2) ได้ จำเป็นต้องแหวกแนวเพลงตลาด (ซึ่งเป็นตลาดแบบที่มีภาษาเพลงของเด็กแนวแล้ว) ค่อนข้างมาก จนทำให้ผู้ฟังทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงได้ (e.g. so::on ที่จริงนะ เกี่ยวกับค่ายนี้ต้องมาเขียนยาวๆเลย เอาไว้ว่างๆก่อนนะ) ทำให้ดูเหมือนว่า วงการเพลงเด็กแนวนั้นได้มาถึงจุดตัน และเหมือนกับกลายเป็นตลาด
แต่ความจริงกลับตรงกันข้าม FAT ได้ทำสำเร็จแล้วด้วยปณิธานของมันเอง นั่นก็คือการยกระดับมาตรฐานการฟังเพลงของทั้งประเทศ ซึ่งในความจริงที่ทุกคนตรีตรามันว่ามัน "กลายเป็นตลาด" นั่นแหละ คือความสำเร็จทีสูงที่สุดของคลื่น FAT
ฉะนั้น ผมขอขอบคุณทุกคน ที่ด้วยอคติของคุณ ยิ่งจะตอกย้ำความสำเร็จของคลื่น FAT ครั้งหน้าที่คุณเปิดฟังคลื่น FAT (หรือคลื่นใดๆก็ตาม) ผมขอให้คุณฟังด้วยจิตใจที่เปิดกว้าง เพื่อที่คุณอาจจะสามารถซึมซับในพัฒนาการของวงการดนตรีไทย ว่าจากห้าปีที่แล้ว เราพัฒนามาไกลแค่ไหน
จากคุณ :
รำคาญ (! o_o !)
- [
19 พ.ย. 50 23:09:40
]
|
|
|