 |
ดอกไม้ในแสงแดด..เซ็กส์..พื้นที่...มิตรภาพ...กับภาพนำเสนอ (รอบอาทิตย์ที่ 20)
คุณเคยใช้ เซ็กส์ เพื่อยืนยันความรักไหม ? เพื่อพิสูจน์คุณค่าในตัวคุณ...หรือเพื่อใช้เป็นเครื่องมือผูกมัดใคร...?
เมื่อโดนถามคำถามตรง ๆ แรง ๆ แบบนี้...ฉันไม่รู้จะตอบยังไง พยายามจะทำเป็นรับได้กับคำถาม แต่ใบหน้ากลับร้อนผ่าวขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้.. คำตอบคือ ...เคย ๆๆๆๆ....(กรีดร้องแต่ไม่ให้ใครได้ยินเสียงจากตัวฉัน!!!!)
สองหนุ่มหนึ่งสาว เพื่อนรักที่อยู่ด้วยกัน...หนึ่งหนุ่มหล่อ ผู้พยายามแสดงว่าไม่เป็นไร เขารู้ทุกอย่าง เขาเลือกที่จะเก๋..เขาเที่ยว..เขาจีบหญิง....เขารักที่เป็นหว่อง กา ไว..เขารักที่จะเป็นนกไร้ขา
.และเขาหมกหมุ่นเกี่ยวกับเซ็กส์! อีกหนุ่ม..เขาเป็นเกย์....เขามีอาชีพเป็น ด๊อกเตอร์เลิฟ ในโลกไซเบอร์ มีผู้คนมากมายหลากหลายอีเมล์มาปรึกษาเขาเรื่องความรัก..ไม่ใช่สิ เรื่องเซ็กส์ต่างหาก..ไม่ใช่สิ มันพัน ๆ กันอยู่ระหว่างสองสิ่งนี้...เขาคิดว่าเขาอาจกำลังจะโดนแฟนที่เป็นหมอในชีวิตจริงทิ้ง...และเขากำลังต้องการเซ็กส์..เพื่อยืนยันสถานภาพแฟน
เขาพยายามจะไปแสดงสถานภาพจริงในโลกจริงกับแฟนของเขาที่โรงพยาบาล..แต่วิธีการของเขา...มันกลับทำให้เขาบาดเจ็บยิ่งกว่า หญิงสาว...ผู้มีความฝันและความอยาก แต่เธอซุก ความต้องการ เหล่านั้น ภายใต้ เมคอัฟ ร้องเท้าส้นสูง และการแสดงออกอย่างควบคุม..เธอแคร์กับสายตาของคนอื่นที่มีต่อเธอโดยเฉพาะผู้ชาย...เธอหลงรักเพื่อนร่วมงานรุ่นพี่ตากล้องที่มีครอบครัวแล้ว...และเธอใช้เซ็กส์เพื่อหวังว่าจะสามารถผูกมัดเขาให้รักเธอได้...
ฉันกำลังพูดถึงสามตัวละครสำคัญในละครเวทีเล็ก ๆ แต่งดงามเรื่องหนึ่ง...ดอกไม้ในแสดงแดด...เขีบนบทและกำกับการแสดงโดยนพพันธ์ บุญใหญ่ นำแสดงโดย นพพันธ์ เองในบทหนุ่มหล่อ...วรัญญู ในบทเกย์หนุ่ม และอรอนงค์ในบทหญิงสาว
ละครพาเราไปไปทำความรู้จักกับสามตัวละครนี้ในช่วงเวลาที่พวกเขากำลังเขาสู่ภาวะวิกฤติของแต่ละคน ผ่านการเล่าเรื่องที่ไม่ประติดประต่อกัน จะสลับระหว่าง เส้นเรื่อง กับ ห้วงจินตนาการของของตัวละครแต่ละตัว ผู้ชมต้องรวบรวมมาเรียงร้อยเข้ากันเอง.....
ละครเรื่องนี้สนุกในการเล่าเรื่อง..ถ้าเป็นละครเรื่องอื่นเล่าด้วยเทคนิคเดียวก็จบแล้ว...แต่เรื่องนี้ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องที่มากกว่า1 ในการเล่าเรื่อง 1 ประเด็น...อาจดูฟูมฟาย..หรือบางคนอาจคิดว่าเล่าเยอะแต่ได้น้อย แต่เรากลับคิดว่ามันทำให้เห็นภาวะของตัวละครที่มันไม่อยากจะพูดหรือรับความจริงออกมา ซึ่งสะท้อนภาวะทางอารมณ์ที่ไม่มั่นคงอย่างยิ่งของตัวละครแต่ละตัว
บางเทคนิคช่วยขับเน้น ความจริง ได้มากกว่าการเล่าอย่างสมจริงเสียอีก...เช่นฉากคุยกันฉันท์เพื่อนระหว่างเกย์หนุ่มกับหญิงสาว...พวกเขาพูดแบบตัดอารมณ์คือพูดแบบหุ่นยนต์ แต่พอเรื่องพีค ตัวละครหญิงสาวก็หลุดออกมา เล่นอารมณ์และพอ เย็นลงแล้ว ก็กลับไปพูดแบบตัดอารมณ์อีกครั้ง...
เธอไม่เคยเป็นเหรอ...เอาละครั้งนี้เราจะพูดกันแบบเปิดอกนะโว้ย แต่ก็ต้องทำใจ อย่าใช้อารมณ์นะโว้ย...แต่เอาเข้าจริง มันก็แบบ ใครจะไปทำได้ฟะ ก็มันอินนี่..ดีนะ ที่คู่สนทนาเรามันยังควบคุมอารมณ์ไว้ได้ ไม่งั้นมีเฮ...ฮือ!
จากคุณ :
โยคีรำพัน
- [
22 ม.ค. 51 09:26:31
]
|
|
|
|
|