Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    ทิศทางการพัฒนาดนตรีคลาสสิกในบ้านเรา ทั้งเรื่องราคาตั๋ว, คุณภาพและจำนวนผู้ชม

    จากกระทู้ Zubin Metha เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ทุกท่าน ของผม ความเห็นหลังๆของคุณ ถิระวัฒน์ (พลอยแพรว),Genzo, BlueWhiteRed เริ่มที่จะถกกันในเรื่องวงการเพลงคลาสสิกบ้านเราในหลายๆแง่ เลยขอแตกกระทู้ใหม่เพื่อให้เพื่อนสมาชิกห้องนี้ท่านอื่นได้ร่วมถกกันด้วยครับ

        ผมว่าเรื่องศิลปะไม่ว่าจะแขนงไหนก็ตามครับ สิ่งแรกที่จะทำให้คนส่วนใหญ่จะมาสนใจก็ต่อเมื่อคุณภาพชีวิตเขาดีแล้วครับ ประเทศที่คุณBlueWhiteRed ยกมานั้นจะเห็นได้ว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว รายได้ต่อหัวของเขาสูงมาก คุณภาพชีวิตและที่สำคัญคือการศึกษาเขาดีกว่าไทยไม่รู้กี่เท่าต่อกี่เท่าครับ บัตรหมื่นหนึ่งสำหรับประเทศเราถือว่าแพง ถ้าสมมุติเป็นที่สิงคโปร ญี่ปุ่นอย่างนี้ ถือว่าไม่แพงนักเมื่อเทียบกับค่าครองชีพของเขา เพราะรายได้ต่อเดือนเขาคิดเป็นเงินบาทก็หลักแสน ขณะที่รายได้ขั้นต่ำเรายังอยู่ที่หลักร้อย จะให้คนที่วันหนึ่งหาเงินได้สองร้อยกว่าบาทมาสนใจดนตรี ศิลปะก็เป็นเรื่องยากมากครับ เพราะแค่ให้เขาหาเช้ากินค่ำไปวันๆเอาชีวิตตัวเองและครอบครัวให้รอดก็แทบตายแล้ว ก็คงมีแต่คนกลุ่มน้อยๆที่พอมีความสามารถที่จะเสพงานเหล่านี้
       
        ผมเคยคุยกับเพื่อนสมาชิกท่านหนึ่งในห้องนี้ว่า ประเทศนี้ถ้าใครบ้านจนก็อย่าหวังว่าจะได้เรียนดนตรีเลย ทำไมนะหรอ ขอยกตัวอย่างจากประสบการณ์ส่วนตัวแล้วกันครับ ถ้าจะเริ่มเรียนไวโอลิน คุณจะเก่งได้ก็ต้องมีไวโอลินไว้ซ้อม ทีนี้ตัวที่ถูกๆจากจีนเอาเสียงพอใช้ก็ สองถึงสามพันแล้ว(แค่พอใช้) ยังไม่พอค่าเรียนดนตรีกับครูสอนดนตรีอีกเอาแบบถูกที่สุดที่เคยเห็นมา ก็ตกชั่วโมงละเกือบห้าร้อยจ่ายทีละสามเดือนขั้นต่ำ (กันเด็กหนีเพราะเล่นแล้วท้อ )รวมแล้วขั้นต่ำถ้าคุณคิดจะส่งตัวคุณหรือลูกคุณเรียนไวโอลินคุณต้องมีเงินติดกระเป๋าซักหมื่นหนึ่งครับสำหรับสามเดือนแรก (ถ้าต่อไปเกิดเก่งขึ้นมา ก็ต้องเสียมากกว่านี้อีกหลายเท่านัก)ดนตรีไทยก็อยู่ในอัตราราคานี้เหมือนกันครับ ทีนี้จะโทษว่าไม่สนับสนุนเด็กก็ไม่ได้ จะโทษครูดนตรีที่คิดราคาแพงก็ไม่ได้ เพราะครูเขากว่าจะมีวันนี้ได้เขาก็ต้องพยายามร่ำเรียนมาเหมือนกัน เช่นถ้าจะเรียนเป็นเรื่องเป็นราวในมหาลัยกว่าคุณจะเรียนจบที่บ้านไม่ได้จ่ายเงินค่าเรียนคุณแค่หลักหมื่นแน่ๆครับ ขณะที่การศึกษาบ้านเราก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับวิชาดนตรีซักเท่าไร ขณะที่เด็กญี่ปุ่นแค่ชั้นประภมเขารู้จักโมสาร์ท บีโทเฟ่น โชแปงกันเรียบร้อยแล้ว ขณะที่เมืองไทยถ้าลองถามว่าใครเป็นคนแต่งเพลงชาติไทยหลายคนก็คงไม่รู้ รวมถึงบรมครูของวงการดนตรีไทยหลายท่านด้วย อย่าว่าถึงศิลปินคลาสสิกเลยครับ ด้วยปัญหาเหล่านี้วงการเพลงคลาสสิกเราก็คงยังแคบต่อไป

        เช่นเดียวกับการฟังดนตรีประเภทนี้ ทุกท่านในห้องนี้คงยอมรับกันว่าถ้าต้องการเสพให้ถึงอรรถรสจริงๆก็ต้องมีเครื่องเสียงดีๆ แผ่นดีๆ ซึ่งก็ไม่ใช่ราคาถูกนัก นักเรียนหลายคนในประเทศนี้ได้ค่าขนมเดือนละสองพันบาท ซีดีแผ่นละห้าร้อยบาทจะให้เขาซื้อทุกเดือนก็คงไม่ไหว ก็คงได้แต่เสพสื่อสาธารณะเช่นฟรีคอนเสริต หรือโหลดเอาจากในเน็ต ไม่ต้องพูดถึงโอกาสการได้ฟังวงดีๆจากต่างประเทศ ขณะที่คนไปดูคอนเสริตบางตนก็ไปแค่เหมือนไปงานสังคม แสดงรสนิยมว่าตัวเองเลิศหรูเท่านั้น ทั้งๆที่อาจไม่สนุกเลยก็ได้ที่ไป(ผมเคยเห็นกับตาครั้งหนึ่งที่มีคนกลุ่มหนึ่งมานั่งแถวใกล้ๆผมประมาณห้าหกคนพูดคุยกันประมาณว่าได้บัตรฟรีมาเลยมาดู และก็มีการเอากล้องส่องทางไกลมาคอยสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันดูนักดนตรีเกือบตลอดงาน(สรุปมาแค่ดูจริงๆไม่ได้มาฟัง)แถมตอนหลังเริ่มเบื่อกันก็เลยออกก่อนที่วงจะเล่นช่วงสุดท้าย) และอย่างที่คุณGenzo ยกตัวอย่างมาว่ามีหลายคนบ่นเรื่องคอนเสริตของสุบินว่าบัตรแพง หาบัตรฟรีไม่ได้เลยไม่ไป ซึ่งแสดงให้เห็นถึงว่าการตีค่าดนตรีคลาสสิกในหมู่คนฟังบ้านเรายังมีค่าน้อยอยู่ (มีกระทู้หนึ่งในเฉลิมกรุง หลายความเห็นในนั้นถามว่าทำไมบัตรแพงจัง แล้วเอาไปเปรียบเทียบกับมาดอนน่าและซีลินดีออนว่า ถ้าเป็นศิลปินเหล่านี้คงว่าไปอย่าง ) ผมไม่ได้ต่อต้านเรื่องบัตรฟรีแต่งอย่างใด ตรงกันข้ามผมอยากให้เพิ่มจำนวนด้วยซ้ำแต่อยากให้บัตรเหล่านี้ตกถึงนักเรียน นักศึกษา หรือผู้ที่สนใจในงานประเภทนี้จริงๆมากกว่าครับ

        เรื่องการปรบมือผิดจังหวะนี่อย่างที่หลายๆท่านก็ทราบดีว่า ถ้างานไหนไม่มีก็คงแปลกแล้วสำหรับบ้านเรา ผมจะไม่ขอบ่นเรื่องนี้ แต่มีเรื่องหนึ่งที่ผมรับไม่ได้มากกว่าคือ โทรศัพท์มือถือ ไม่รู้ว่าจะเอาเหตุผลอะไรมาอ้างสำหรับมารยาทสังคมข้อนี้ที่ทำกันไม่ได้ แค่ใช้เวลาสามชั่วโมงในการที่ปิดโทรศัพท์มือถือ ไม่ทราบว่าธุรกิจจะเสียหายไปกี่พันล้านกัน ผมเห็นทุกงานเลยยิ่งล่าสุดในคอนเสริตสุบินที่จะเห็นได้ชัดมากว่ามีหลายคนในชั้นที่แพงที่สุดอย่างหมื่นบาทที่ละเมิดกฎข้อนี้ ขอให้นึกถึงสมัยก่อนที่ยังไม่มีโทรศัพท์มือถือเรายังอยู่กันได้ คงไม่ยากเกินไปที่จะปิดมันทิ้งซักสามชั่วโมง หลายคนอาจเถียงว่าแค่ปิดเสียงให้สั่นก็พอแล้ว แต่แค่นี้สำหรับผมคิดว่าเป็นการรบกวนและเสียมารยาทมากแล้วครับ ประเทศที่พัฒนาแล้วคงไม่ทำกัน ยังไม่รวมถึงเรื่องคลาสสิกจริงๆสำหรับบ้านเราคือการมาสาย ซึ่งเหมือนเป็นเรื่องปกติไปอีกเรื่องแล้ว
     
        สรุปที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นผมว่าขณะนี้ดนตรีคลาสสิกบ้านเราได้พัฒนาขึ้นแล้วหลายเรื่องโดยเฉพาะจำนวนผู้เล่นที่เด้กรุ่นใหม่สนใจเรียนเครื่องดนตรีของวงรวมทั้งเปียโนเยอะขึ้น จำนวนคนฟังก็ได้รับอานิสงส์ของการตูนเรื่องโนดาเมะ แต่ถ้าพึ่งแค่นี้อีกไม่นานคงจางหายไป ส่วนคุณภาพก็ยังคงพัฒนาช้าอยุ่ ซึ่งถ้าจะรอแต่รัฐบาลให้สนับสนุนมากขึ้นเหมือนหลายๆชาติก็คงเป็นไปไม่ได้ แต่ผมคิดว่าโดยส่วนตัวเราเองก็สามารถช่วยพัฒนาได้ อย่างที่คุณBlueWhiteRed กล่าวไว้ในกระทู้ก่อนว่า บ้านเราเน้นแต่ความบันเทิงหน้าจอทีวี เด็กๆโตมากับทีวีและเกมส์คอมฯ (ผมขอเพิ่มเติมว่า วันหยุดก็เดินแต่ห้าง เพราะไม่รู้จะไปที่ไหนในเมือง)ซึ่งไม่ใช่สิ่งยากเกินไปที่จะเปลี่ยนคนรอบตัวหรือลูกหลานเราให้หันมาเสพสิ่งดีๆแทนที่จะเป็นแค่สิ่งเหล่านี้

    จากคุณ : ErShiYi - [ 5 ส.ค. 51 22:57:26 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom