 |
ความคิดเห็นที่ 24 |
|
สรุปนักประวัติศาสตร์บางคนจึงสันนิษฐานว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นมองโกเลียแทนที่จะเป็นอารยัน เพราะมีผิวพระกายเหลืองอย่างชาวมองโกเลีย
แต่บางท่านเชื่อว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอารยัน ด้วยเหตุผลที่ว่าวงศ์ศากยะเป็นวงศ์ที่เคร่งครัดในเรื่องรักษาความบริสุทธิ์ของตนไว้ไม่ให้ปะปนกันกับชนเผ่าอื่น ตั้งแต่สมัยพระเจ้าโอกกากราช โดยไม่ยอมวิวาห์กับชนในวงศ์อื่น ๆ นอกจากวงศ์ของตน แม้ในเผ่าอารยันด้วยกัน ราชวงศ์ศากยะก็ยังไม่ไม่ยอม เพราะฉะนั้นพวกพราหมณ์จึงนับถือวงศ์ศากยะว่าเป็นวงศ์กษัตริย์บริสุทธิ์ไม่แปดเปื้อนด้วยมลทินใด ๆ
ส่วนสถานที่ประสูติของ พระพุทธเจ้า ได้มีนักประวัติศาสตร์หลายท่านพยายามค้นหาและพิสูจน์ทั้งฝรั่งและชาวอินเดียที่สนใจ และนับถือพระพุทธศาสนาว่าสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าแท้จริงอยู่ตรงไหนกันแน่ ดังเช่นในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้ขุดพบหลักศิลาหลักหนึ่งในที่ใกล้หมู่บ้านเล็กๆ ซึ่งเรียกว่า หมู่บ้านปาดาเรีย (Padaria) อยู่ในระยะทาง ๒๐ กิโลเมตรจากตำบล นิคลิวะ ( Nigliva) คำนวณว่าหลักศิลานี้จมดินอยู่กว่าพันปี แต่ตัวอักษรที่จารึกยังเรียบร้อย
นักโบราณคดีตรวจสอบได้ความชัดว่า เป็นตัวอักษรสมัยอโศกมหาราช บอกชัดว่าที่นั้นเป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ค้นพบหลักศิลาสำคัญยิ่งนี้ เป็นนักค้นคว้าชาวเยอรมัน ชื่อ ดอกเตอร์ วีเรอ (Dr. Fuhrer)
การค้นพบถิ่นที่ของสวนลุมพินีเป็นกุญแจสำคัญให้ค้นพบกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งได้พบเมื่อ ๒ ปีหลัง คือ ใน พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้พบที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งมีจารึกบอกชัดว่าเป็นพระบรมธาตุส่วนที่ศากยวงศ์ได้รับแบ่งมาบรรจุไว้ ตำบลซึ่งได้พบที่บรรจุพระบรมธาตุนี้เรียกว่า ปิปราวา ( Piprava)
ซึ่งเมื่อกลับไปตรวจสอบดูรายงานการเดินทางของพระสมณะฟาเหียน ก็ได้ความตรงกัน หลักศิลาที่ได้พบใหม่นี้ ลงพระนามกษัตริย์กบิลพัสดุ์ จึงทำให้หมดข้อสงสัย ว่าที่ที่พบหลักศิลานี้ต้องเป็นกรุงกบิลพัสดุ์แน่ ประวัติแว่นแคว้นต่าง ๆ ในเนปาลก่อนพุทธสมภพ เราพบได้น้อยมาก แต่ในระหว่างพุทธกาล เราอาจทราบได้จากการศึกษาในคัมภีร์ทางฝ่ายพระพุทธศาสนา และเรื่องราวการประดิษฐานศากยวงศ์ขึ้นในเนปาลอีกด้วย
.
เนปาลเป็นประเทศเล็ก ๆ แต่มีความเป็นมาที่น่าสนใจ และยิ่งเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าแล้วยิ่งมีความน่าสนใจมากขึ้น เนปาลประกอบด้วยชนหลายเผ่าที่ผสมผสานกัน แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็ยังมีนักประวัติศาสตร์หลายท่าน พยายามที่จะให้พระพุทธศาสนายังคงอยู่ในประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า
หนังสืออ้างอิง ๑. โกวิท ตั้งตรงจิตร : เนปาล สถานเทวาลัย, พิมพ์ครั้งแรก โรงพิมพ์อักษรพิทยา พ.ศ. ๒๕๔๔ ๒. เสถียร โพธินันทะ : เนปาล ชาติภูมิของพระพุทธเจ้า พิมพ์ครั้งที่ ๙ โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย ๓. หลวงวิจิตรวาทการ : ศาสนาสากล, พิมพ์ครั้งแรก โดย ส ธรรมภักดี พ.ศ. ๒๔๙๔ ๔. พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) : พระพุทธศาสนาในอาเซีย, พิมพ์ครั้งที่ ๒ โดยธรรมสภา
จากคุณ |
:
ลำดวนดอย
|
เขียนเมื่อ |
:
15 ส.ค. 52 14:22:25
|
|
|
|
 |