Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
บทวิจารณ์ เพลงฟักกลิ้ง ฮีโร่ กับคืนที่สังคมไทยนอนไม่หลับ จากสยามรัฐออนไลน์  

ที่มา http://www.siamrath.co.th/UIFont/ArticleDetail.aspx?acid=3956

อติภพ ภัทรเดชไพศาล14/8/2552

   ฟักกลิ้ง ฮีโร่ กับคืนที่สังคมไทยนอนไม่หลับ
   
   ถ้าใครได้ดูรายการของคุณสรยุทธ์ สุทัศนะจินดาเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา คงได้เห็นมิวสิควิดีโอของวงฟักกลิ้ง ฮีโร่ เพลง ราตรีสวัสดิ์ ที่ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการก่อการร้ายในภาคใต้ ภาพต่างๆ แสดงให้เห็นการต่อสู้ที่ต้องเสียสละชีวิตของทหารไทย รูปแบบเพลงสับเปลี่ยนกันไปมาระหว่างความเป็นแร็พกับโรแมนติคป๊อป โดยท่อนนำเสนอการต่อสู้นั้นร้องอย่างแร็พ นำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ที่เจ็บปวดและน่ายกย่อง เพลงขึ้นต้นว่า

   วันนี้ ฉันมีนิทาน อยากเล่าให้เธอฟัง นิทานเรื่อง ท ทหาร อดทน เวลาเค้ายืนเค้าแนบปืนกลไว้ข้างกาย ทั้งที่เค้าไม่เคยใจร้ายและไม่เคยคิดฆ่าคน แต่เป็นอีกคืนที่เค้าต้องออกลาดตระเวน เป็นหน้าที่ของกองพันทหารราบผู้รักตัวเอง น้อยกว่าชนในชาติไทย

   สำนึกรักชาติที่เปิดตัวขึ้นมาอย่างโจ่งแจ้งแสดงให้เห็นถึงความบิดเบี้ยวทางความคิดบางอย่าง ยิ่งฟังไปฟังมา มันถึงกับมีคำว่า เพราะรู้ว่าเลือดเนื้อเค้าจะสละไม่ให้เราเป็นทาสใคร ซึ่ง ประหลาดอย่างยิ่งที่ความเป็นทาสใครอะไรนั้นมายุ่งอะไรกับปัญหาชายแดนใต้ สำนึกถึงความเป็นอิสระไม่เป็นทาสนี้มันมากับอุดมการณ์ชาตินิยมแบบสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามต่างหาก การจับแพะชนแกะแบบนี้จึงฟังดูตลกและผิดที่ผิดทาง

   ยิ่งตอนที่เปลี่ยนนักร้องเป็นแนวโรแมนติคป๊อปตรงกลางเพลงนั้น เห็นได้ชัดถึงความพยายามที่จะทำให้เรื่องของ ชาติ กลายเป็นสิ่งโรแมนติค ด้วยเนื้อร้องที่ดูเหมือนเป็นเสียงของทหารพูดกับประชาชนคนไทยว่า หลับตาเถอะนะ ขอให้เธอหลับฝันดี คืนนี้ไม่ต้องห่วง ตรงนี้ฉันจะดูแลด้วยชีวิตของฉัน

   ชาติ นิยมนั้นไปด้วยกันได้ดีกับความโรเแมนติค เพราะชาตินิยมสร้างสำนึกของตัวมันเองเข้ากับการต่อสู้ การเสียสละ และอดีตอันรุ่งเรืองยิ่งใหญ่ของ ชาติ โบราณ วัตถุ อนุสาวรีย์ หรือกระทั่งธงชาติ จึงมีลักษณะบางอย่างที่สะท้อนถึงจินตนาการแบบโรแมนติคไปด้วยในตัว ส่วนในเพลงไทย (ป๊อป) นั้น ลักษณะแบบนี้เคยปรากฏอย่างชัดเจนในเพลงของหรั่ง ร็อคเคสตร้า ที่ชื่อว่า รักเธอประเทศไทย เมื่อร่วมสิบปีมาแล้ว

   ยิ่ง คุณหรั่งนั้นเป็นที่รู้ๆ กันอยู่ว่าเป็นนักร้องเพลงร็อค จึงเป็นเรื่องน่าประหลาดที่เพลงร็อค หรือป๊อป-ร็อคเพลงนี้ของคุณหรั่งกลับมีเนื้อหาไปในทางชาตินิยม เพราะต้นกำเนิดและจุดมุ่งหมายของดนตรีร็อคมันมาจากการต่อต้านรัฐ มันมาจากการประท้วงของคนหนุ่มสาวต่อการครอบงำของรัฐ มันบอกคนทั้งโลกผ่านวู๊ดสต็อกว่าโลกทั้งหมดเป็นหนึ่งเดียว อย่าฆ่ากันด้วยความคิดคลั่งชาติ ดังนั้นโดยตัวมันเองดนตรีร็อคจึงไปกันไม่ได้กับอุดมการณ์ชาตินิยมโดยสิ้น เชิง และมันยิ่งไปกันไม่ได้กับสถาบัน ตัวอย่างที่ชัดๆ ก็คือวงอย่างวง Sex pistols ของอังกฤษเป็นต้น

   กลับ มาที่เพลงของเราอีกครั้ง ผมพบว่าเนื้อร้องหลายที่ๆ โดยเฉพาะท่อนหลังมีเนื้อหาที่สะเปะสะปะ มีการใส่เรื่องเดือนตุลาแทรกเข้ามาเฉยๆ โดยไม่ได้มีบริบทที่เกี่ยวข้องกันเลย

   ใน คืนที่ผมกินเหล้าอยู่นั่งเล่น ในคืนที่ป้าข้างห้องยังตั้งวงป๊อกเด้ง คืนที่เด็กมัธยมนั่งท่องตำราเอนท์จุฬา คืนที่ใครหลายคนลืมชื่อคนเดือนตุลา...

   ยิ่งในวรรคต่อมา ผู้แต่งยังเรียกขบวนการนี้ว่า ข.จ.ก. โดยคงจะไม่ได้รู้เบื้องหน้าเบื้องหลังเลยว่าแนวคิดเรียกผู้ก่อการว่าขบวนการ โจร ก่อการร้ายแบบนี้ มันมาในแบบเดียวกับความคิดของคุณทักษิณ ที่ไปปรามาสเขาเป็น โจรกระจอก นั่น แหละ มันคือการพยายามดิสเครดิตเขา และกดทับปัญหาต่างๆ ที่ซับซ้อนยิ่งกว่านั้นหลายเท่า เพราะเขาเองก็ไม่ได้เรียกตัวเองด้วยชื่อนี้ แต่เขาเรียกตัวเองว่า B.R.N. อันย่อมาจาก Barisan Rivolusi Nasional Melayu Pattani แปล ว่ากองทัพปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานีต่างหาก ซึ่งมันแสดงให้เห็นถึงโยงใยอันซับซ้อนของปัญหาต่างๆ มากมายถึงความเป็นอิสลามและสำนึกเรื่องชาติพันธุ์

   ที่ จริงเป็นเรื่องน่าแปลกใจที่นักร้องวัยรุ่นจะหันมาเขียนเพลงยกย่องทหาร และก็เป็นเรื่องแปลกใหม่ (สำหรับในประเทศไทย) ที่เพลงแนวนี้หันมาจับเรื่องการบ้านการเมือง เพียงแต่การนำเสนอนั้นกลับแสดงให้เห็นถึงพิษภัยของระบบการศึกษาไทยได้เป็น อย่างดี ว่ามันเอาความเป็นชาตินิยมฝังลงไปในหัวคนรุ่นใหม่ได้ขนาดไหน และการยกย่องสดุดีทหารในเวลาและสถานการณ์แบบนี้ก็ดูเหมือนจะผิดกาละเทศะ

   ความ เป็นชาตินิยมนั้นนำไปใช้ในการแก้ปัญหาชายแดนใต้ไม่ได้ อย่างในบทความของคุณรุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช ในมติชน ฉบับวันที่ 27 ก.ค. 2552 ที่เขียนไว้อย่างสมเหตุสมผลว่า “การ ครอบงำชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูด้วยอุดมการณ์ชาตินิยมตามแบบที่รัฐไทยได้ทำมา ตลอดนั้น ไม่อาจจะทำให้การต่อต้านรัฐนั้นฝ่อลงไปได้... สิ่งที่ทำให้พวกเขาต่อต้านรัฐด้วยความรุนแรงไม่ใช่เรื่องความภูมิใจในอดีต ที่รุ่งเรืองของรัฐปัตตานีเท่านั้น แต่ภาพความทรงจำที่ยังสดใหม่ของการปราบปรามโดยรัฐเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ผลัก ให้คนหนุ่งสาวเข้าไปสู่ขบวนการการต่อสู้ สอดคล้อง กับการที่รองแม่ทัพภาคที่ 4 คนหนึ่งเคยกล่าวว่า 80% ของผู้ก่อการที่ถูกจับได้ ล้วนให้การว่าที่เข้าร่วมขบวนการก็เพราะกรณีปราบปรามที่กรือเซะและตากใบ

   บทสรุปจึงอยู่ที่ข้อเขียนของ อ. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในมติชน ฉบับวันที่ 3 ส.ค. 2552 ที่ว่า การ ต่อสู้กับขบวนการก่อการร้ายที่ได้ผลในทุกที่ของโลกที่ผ่านมา ก็คือมาตรฐานทางกฎหมายที่สุจริต เที่ยงธรรม และเคร่งครัด... ฉะนั้น ตำรวจ-ไม่ใช่ทหาร- จึงเป็นกำลังหลักในการปราบปรามการก่อการร้าย ต้องลงทุนทุ่มลบประมาณให้ตำรวจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ อย่า เอางบลับไปให้ทหารซึ่งไม่รู้วิธีปราบการก่อการร้าย นอกจากแปรสภาพให้กลายเป็นสงครามเต็มรูปแบบซึ่งจะสร้างศัตรูในพื้นที่ขึ้นอีก มากมาย

   บทสดุดีทหารฉบับนี้ของฟักกลิ้ง ฮีโร่ จึงดูเหมือนจะเป็นการสร้างปัญหามากกว่าที่จะแก้ปัญหาชายแดนใต้


นำมาให้อ่านกันครับ

จากคุณ : เธอหมุนรอบฉัน..ฉันหมุนรอบเธอ
เขียนเมื่อ : 16 ก.ย. 52 11:22:33




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com