 |
ความคิดเห็นที่ 19 |
จากคำถามของท่าน St@rGazer ในความเห็นที่ 4 บังเอิญผมอ่านแล้วงงๆ แยกไม่ึค่อยออกเท่าไหร่ว่าทั้ง 3 แบบของท่านต่างกันยังไง โดยเฉพาะแบบที่ 3
เอาเป็นว่าขออนุญาตตีความการจัดจำแนกของท่านเป็น
1. โดดเด่นในการตีความอันลึกซึ้ง โดยการโชว์เทคนิคอาจจะไม่มากแม้จะทำได้ก็ตาม แนวนี้ที่ชัดๆน่าจะเป็น Joseph Szigeti, Mischa Elman, David Oistrakh, Hilary Hahn, A S Mutter
2. โดดเด่นในการโชว์เทคนิค แต่ไม่เด่นในการตีความอันลึกซึ้ง เช่น Ruggiero Ricci, Salvatore Accardo(Paganini Expert), Alexander Markov, แนวนี้นึกออกไม่ค่อยเยอะครับ
3. แม้ไม่ค่อยเข้าใจที่ท่านเขียนมา แต่รู้สึกเหมิือนๆว่าเป็นแนวที่สนุกกับดนตรี เล่นเพื่อความสุขตามธรรมชาติ ตามสัญชาติญาณดนตรีของตัวเอง มากกว่าที่จะแสดงตัวเป็นยอดฝีมือ ในลักษณะนี้ผมนึกออกคนแรกคือ Fritz Kreisler ครับ ซึ่งเป็นแนวที่ผมชื่นชมยิ่งกว่าแนวใดๆ ต้องยกคำของพี่แอ๊ด "อันดนตรีไ่ม่มีการแข่งขัน มีความจริงความฝันในดนตรี"
และขอเพิ่มแบบที่ 4 ครับ นั่นคือมีทุกอย่างที่กล่าวมาข้างต้น ในตัวเอง แต่อาจจะมากน้อยเทียบกับผู้อื่นต่างๆกันไป
ยกตัวอย่างเช่น Jascha Heifetz, Nathan Milstein, Zino Francescatti, Yehudi Menuhin, Leonid Kogan, Itzhak Perlman, Maxim Vengerov
ดังนั้นสำหรับคำถามของท่าน St@r ผมยังนึกว่าไม่ออกว่า สมควรจัดชางเข้าไว้พวกไหนดี เท่าที่ตามฟังศิษย์สำนัก Galamian-Delay มา ไม่ว่า Micheal Rabin(G), Itzhak Perlman(GD), Pinchas Zukerman(GD), Kyung Wha Chung(GD), Gil Shaham(D), Midori Goto(D), Cho Liang Lin(D), Scholo Mintz(D), Akiko Suwannai(D) และ Sarah Chang(D) ของเรานั่นเอง
ทั้งหมดนี้จะมีพื้นฐานทางเทคนิคที่สูงส่งมาก ทุกคนเล่น Paganini ได้หมดหลายคนออก Album Paganini 24 Caprices ซึ่งเป็นจุดสูงสุดด้านเทคนิคสำหรับไวโอลิน แต่ในขณะเดียวกัน ทุกคนก็มีชื่อเสียงในการเล่นงานหลักๆของดนตรีคลาสสิคไม่ว่ายุคสมัยใด สำนักนี้เลยมีอิืทธิพลครอบงำวงการไวโอลินโลกในทุกวันนี้ไงครับ
(หมายเหตุ - วงเล็บด้านหลังชื่อ G คือศิษย์ Ivan Galamian ซึ่งเป็นปรมาจารย์ที่ีรวมวิทยายุทธ์ของ สำนัก Franco Belgian และสำนัก Russian Virtuoso School เข้าด้วยกัน D คือ เรียนกับ Dorothey Delay ซึ่งตอนแรกเป็นผุ้ช่วยของ Galamian และเป็นผู้สืบต่อวิชาของ Galamian หลังจากปรมาจารย์ล่วงลับไปแล้ว GD คือได้เรียนกับทั้ง 2 คน)
(หมายเหตุ 2 - Ivan Galamian เรียนกับ Konstantin Mostras ศิษย Leopold Auer สำนักรัสเซีย แล้วก็ไปเรียนกับ Lucien Capet สำนัก Franco Belgian และเป็นคนที่หลอมรวมวิชาทั้งสองสำนักที่โดดเด่นใน ศตวรรษที่ 19-20 เข้าด้วยกัน )
แก้ไขเมื่อ 04 เม.ย. 53 08:37:26
จากคุณ |
:
davebartus
|
เขียนเมื่อ |
:
4 เม.ย. 53 08:07:13
|
|
|
|
 |