Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
### === > รหัสมอร์สใน Beethoven: Symphony No. 9 -- ความบังเอิญหรือการจับแพะชนแกะ < === ### ติดต่อทีมงาน

ผู้เขียนอยู่ต่างจังหวัด ไม่มีอะไรในทางดนตรีคลาสสิคฟังแก้เหงา (นอกเสียแต่เพลงลูกทุ่งของทูล ทองใจ) ก็เลยมาตั้งกระทู้ชวนหวัวไปอย่างนั้นเอง...ไม่มีอะไร...

คุณผู้อ่านหลายท่านที่เป็นแฟนๆ ของเบโธเฟน น่าจะต้องนึกสงสัยและหัวเราะคิกคักในความไม่ประสีประสาของผู้เขียนอย่างแน่นอนเมื่อเห็นหัวข้อกระทู้นี้ แลอาจจะคิดว่า ผู้เขียนพิมพ์ผิดหรือเข้าใจผิดว่า รหัสมอร์สมีนัยสำคัญกับซิมโฟนีหมายเลข 9 แทนที่จะเป็นหมายเลข 5!

(HA HA)

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และเกร็ดความรู้ชวนจำว่าด้วยนามกรของการเรียกขานซิมโฟนีนั้น การใช้รหัสมอร์ส (Morse code) อันเกี่ยวพันกับเรื่องราวของดนตรีคลาสสิคนั้น เห็นจะมีก็แต่ซิมโฟนีหมายเลขห้าของเบโธเฟน เท่านั้น ที่ชัดเจนแจ่มชัดในความทรงจำและชวนทึ่งๆไปในความพ้องอันลงตัว...

เราต่างทราบกันเป็นอย่างดีแล้วว่า ซิมโฟนีหมายเลขห้าของเบโธเฟน มีความเป็นตำนานอยู่มาก เท่าที่ผู้เขียนทราบ (เหมือนคุณผู้อ่าน) ก็คือ เป็นซิมโฟนีที่เริ่มต้นกระบวนแรกจากความมืดอันลึกลับน่าพิศวงแลน่ากลัว แล้วคลี่คลายสู่กระบวนสุดท้ายที่องอาจผึ่งผายประหนึ่งการได้ชัยชนะเหนือโชคชะตาและความดำมืดที่ครืนข่มมาแต่กระบวนแรกนั้น และแน่นอนว่า แกนหลักของซิมโฟนีชิ้นนี้ ก็คือ สี่โน้ตแรกอันมีชื่อเสียงซึ่งคุกคามพวกเรามาตั้งแต่แรกพบในจังหวะ สั้น-สั้น-สั้น-ยาว ( .  .  .  _ )และ ( .  .  .  _ ) ดังกล่าว ก็แปรทำนองไปในแต่ละกระบวนอย่างแยบยลด้วยอัจฉริยภาพของดุริยางคศิลปินตราบจนสิ้นกระบวนสุดท้าย...

เราจึงได้ยินการเรียกขานซิมโฟนีชิ้นนี้จากผู้ที่มีชื่อเสียงได้จดจารเอาไว้และเป็นที่นิยมตราบจนกระทั่งปัจจุบันในหลากหลายความคิดเห็น ในความเห็นหนึ่ง (ผู้เขียนขี้เกียจจะไปค้นหาว่าเป็นของใคร) บอกว่า เป็นซิมโฟนีแห่งโชคชะตา (Fate Symphony) ด้วยการเปรียบเปรยสี่โน้ตแรกของซิมโฟนีว่า ประหนึ่งโชคเคราะห์มาเคาะเรียกที่ประตู...

แต่ที่เป็นสิ่งที่ผู้เขียนจะชวนคุณผู้อ่านย้อนรอยประวัติศาสตร์ในวันนี้สักเล็กน้อยก็คือ ความเกี่ยวโยงกันระหว่าง หมายเลขของซิมโฟนี กับ การเรียกขานสี่โน้ตแรกในรหัสมอร์ส ซึ่งทั้งสองสิ่งสัมพันธ์กัน (ผู้เขียนต้องเน้นไว้ด้วยว่า แฟนๆ ของเบโธเฟน ล้วนแล้วแต่ทราบถึงเรื่องราวเหล่านั้นเป็นอย่างดี!)

หมายเลข 5 ของซิมโฟนีชิ้นนี้ซึ่งเบโธเฟนประพันธ์เสร็จในปี 1808 สามารถถูกแทนด้วยตัวเลขแบบโรมัน V และเรื่องน่าทึ่งก็คือ Samuel Morse จิตรกรชาวอเมริกัน ผู้คิดค้นระบบโทรเลขสายเดี่ยวและผู้ร่วมประดิษฐ์รหัสมอร์สได้ใช้รหัสมอร์สที่มีลักษณะการเคาะในแบบ “สั้น สั้น สั้น ยาว” หรือ ( .  .  .  _ ) สำหรับแทนความหมายของตัวอักษร “V” ซึ่งแน่นอนว่า ตรงกันกับสี่โน้ตแรกของซิมโฟนีของมหาบุรุษเบโธเฟน จนกระทั่งต่อมา ซิมโฟนีชิ้นดังกล่าวได้ถูกเรียกไว้ในอีกชื่อนึงว่า “ซิมโฟนีแห่งชัยชนะ (Victory symphony)” ด้วย แน่ละ กระบวนสุดท้ายของซิมฯ ชิ้นนี้ ก็แสดง Triumphal peak ชัดแจ้งอยู่อย่างนั้นด้วยนี่นา ซึ่งห้วงสงคราม ความหมายของ V สำหรับรหัสมอร์สได้ถูกแทนความหมายว่าด้วยชัยชนะ…

เรื่องบังเอิญ (หรือไม่?) ดังกล่าว ส่งผลให้พวกมายาคตินิยม-จอมจับแพะชนแกะทั้งหลาย ต่างทึ่งกับสิ่งอันสอดคล้องดังกล่าว ไม่ว่ามอร์สจะรู้จักซิมโฟนีของเบโธเฟนหรือไม่ก็ตามที และเราควรต้องไม่ลืมว่า มอร์สได้คิดค้นรหัสมอร์สหลังจากซิมโฟนีชิ้นนั้นล่วงเลยเวลาไปได้ถึง 1836-1808 = 28 ปี แล้วก็ตาม...

ผู้เขียนก็เป็นพวกมายาคตินิยมที่ชอบจับแพะชนแกะกะเขาด้วยเหมือนกัน (HA HA) แน่นอน ผู้เขียนกำลังคิดถึงรหัสมอร์สกับซิมโฟนีหมายเลข 9 ของเบโธเฟนคนเดิม และเรื่องที่ชวนทึ่งก็คือ ตรงกันในแบบไม่ได้คาดคิดมาก่อนเสียด้วย!!!!


^____________^

 
 

จากคุณ : St@rGazer
เขียนเมื่อ : 25 ก.พ. 54 22:52:36




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com