 |
ลองวิเคราะห์เอาจากลิสต์เดบิวต์ก็ได้ค่ะ ดูจากช่อง Acency/Entertainment http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_South_Korean_idol_groups จะเห็นว่าช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานี้มีไอดอลจากค่ายเล็ก และค่ายใหม่เดบิวต์เป็นจำนวนมาก แต่ไอดอลยุคแรกๆ จะมาจากค่ายใหญ่ หรือค่ายขนาดกลางที่มีการดำเนินการมานาน (สังเกตว่าเป็นค่ายที่มีแถบสี) ยิ่งยุคที่เป็นผลพวงเศรษฐกิจฟุบจาก IMF อย่างเช่นปี 2002 มีแต่ค่ายใหญ่อย่าง SM ที่ทุ่มเดบิวต์ถึง 3 วง (และก็แป้กทุกวง) ปี 2003 เดบิวต์ทงบัง ก็ไม่ต้องแข่งกับศลป.ร่วมรุ่นวงไหน เพราะศลป.เดบิวต์ใหม่ปีนั้นเป็นแนวอื่นอย่าง Epik High (แต่เอาจริงๆก็เหมือนทงบังเดบิวต์ปี 2004 แหละค่ะ เพราะออกมาเดือนธค. เลยต้องฟาดฟันกับ SS501 ที่เดบิวต์กลางปี 2005) แม้แต่ปี 2008 ที่็ KPOP เฟื่องฟูสุดๆ ก็ยังมองออกว่า คู่แข่งสาย Rookie มีแค่ SHINee 2PM A'st1 และคู่แข่งสายเกิร์ลกรุ๊ปก็มีแค่ SNSD WG KARA มีกันอยู่แค่นี้จริงๆ
สาเหตุที่ทำให้ "นูกูแบนด์" (คนเกาหลีใช้เรียกว่าที่เห็นแล้วต้องอุทานว่า วงอะไรฟะ?) มีเยอะขึ้น ก็น่าจะมาจาก 1. K-POP ขายได้ในท้องตลาดทั้งในและต่างประเทศ 2. มีแอร์ไทม์ให้ไอดอลได้ออกสื่อมากขึ้น เช่น วาไรตี้โชว์ รายการเพลง ร้องเพลงประกอบละคร ฯลฯ 3. มีศลป.ที่ประสบความสำเร็จให้เห็น เป็นแรงบันดาลใจให้เด็กๆอยากออดิชั่นเป็นนักร้อง 4. มีนักร้องจากค่ายขนาดกลางและเล็กประสบความสำเร็จให้เห็น อาทิ U-KISS , Secret , Infinite ทำให้ค่ายเล็กค่ายน้อยมั่นใจที่จะกล้าเสี่ยงลงทุนในยุคนี้ 5. วัฒนธรรมแฟนคลับเข้มแข็ง แม้บางค่ายจะรู้ว่าศิลปินไม่อาจมีศักยภาพชนะวงอื่นได้ แต่ได้ได้ฐานแฟนคลับที่เหนียวแน่นสักกลุ่ม มีอีเว้นท์เล็กๆน้อยๆ ก็สามารถประคองตัวไปในสายอาชีพได้ (จุดนี้มองในฐานะค่ายเพลงคือธุรกิจหนึ่ง ที่ต้องหารายได้ประทังชีวิต) 6. มีตลาดต่างประเทศรองรับ ล่อใจให้อยากไปขุดทอง ศลป.บางวงดังที่ญี่ปุ่นมากกว่าในเกาหลีเสียอีก เช่น Supernova , The Boss , ZE:A , KARA แล้วก็ยังมีตลาดจีน , ไทย , ยุโรป , อเมริกา ฯลฯ
น่าจะประมาณนี้แหละ ^^
จากคุณ |
:
bluesherbet
|
เขียนเมื่อ |
:
12 พ.ย. 54 11:56:41
|
|
|
|
 |