อะไรที่ทำให้คนในบ้านเรามองว่าศิลปะเป็นสิ่งไร้ค่าหรือเป็นส่วนเกินของสังคมไทย(เครียด)
|
 |
วันนี้ไปนั่งรอ คิวตรวจที่โรงพยาบาล ข้างๆมีคุณน้าที่เหมือนกำลังตัดสินใจคุยกันว่า ด้วยเรื่องลูกจะไปเรียนอะไรดี และก็พูดถึงคณะศิลปะ ที่ผมเคยเรียน(แอบดีใจ ปลื้ม) แล้วเเกก็มาสะดุดกับคำถามว่า เรียนไปแล้วจะทำอะไรกิน(เอ่อ)
ก็อย่างที่บอกไป ศิลปะวิจิตรที่ไม่แอพไพลด์นั้น จบออกมาเยอะมากในแต่ละปี แค่รุ่นสมัยผมรุ่นเดียวก็เกือบ60กว่าคนแล้ว แต่คนที่จะได้ทำงานที่ตรงกับสาขาที่เรียนนั้นแทบจะไม่มีเลย เอาที่ใกล้เคียงที่สุดก็คือครู กับพวกกราฟฟิกดีไซน์(ซึ่งต้องไปเรียนเพิ่มเติมทั้งคู่ แข่งกับพวกนิเทศศิลป์อีกต่างหาก) นอกนั้นก็ตามมีตามเกิด อาจจะไปวาดรูปเหมือนข้างถนนบ้าง รับจ๊อบบ้าง ซึ่งภาควิชาวิจิตรศิลป์เป็นเอกเดียวใน5สาขา ที่ในหนังสือของคณะจะไม่บอกอัตราของเด็กภาคนี้ที่จบออกไปเเล้วได้งาน นอกนั้น4ภาค มีข้อมูลหมด จบแล้วไปไหน ได้งานกี่คน อยู่ที่ไหนบ้าง
แล้วศิลปินแท้ๆหละ ที่วาดรูปขายอ่ะ เค้าไปไหนกันหมด รุ่นๆนึง60คน จบออกมาจะเป็นศิลปินกันได้ซักกี่คน ถึง10คนรึเปล่าก็ไม่รู้ นอกนั้นต้องทำงานเสริมหมด
คำถามก็คือ อะไรที่ทำให้สังคมไทยยังมองงานศิลปะเป็นของที่ฟุ่มเฟือยเกินตัว ทั้งๆที่ผมคิดว่ากำลังทรัพย์ของคนไทยเดี๋ยวนี้น่าจะมีมากขึ้น(ขนาดเด็กม.ต้นยังใช้ไอโฟนเครื่องเป็นหมื่นกันแล้ว) คนไม่นิยมเข้าไปดูงานแกลเลอรี่(ขนาดเด็กศิลปะเองยังไม่ดู) ศิลปินที่ยืนหยัดทำงานด้วยตนเองมีแค่หยิบมือ เพราะอะไร เพราะอะไร เพราะราคางานของศิลปินไทยเราแพงไปเหรอ หรือคนคิดว่างานศิลปะมันสูงเกินเข้าใจ หรือเพราะตัวศิลปินเองที่พยายามยกระดับงานของตัวเองให้ดูสูงค่าจนคนธรรมดาไม่เข้าใจ
ผมว่านี่น่าจะเป็นวาระแห่งชาติได้เลยทีเดียว เพราะญี่ปุ่น หรือจีนเอง รัฐบาลเค้ายังสนับสนุนศิลปินของเค้าเลย เพราะงั้นรัฐบาลไทยก็น่าจะส่งเสริมบ้างเช่นกัน เช่น ออกมาตรการจำนำราคาภาพ(เขียน) เพื่อกรรมกรศิลปะจะได้มีทุนไว้ทำงานต่อ หรือจัดไปเลย ให้ศิลปินสอบแข่งขันคัดเลือกจากรัฐบาล เพื่อให้รัฐเป็นผู้สนับสนุนศิลปินในการทำงานไปเลย ยิ่งพิมพ์ยิ่งเพ้อเจ้อ...
จากคุณ |
:
ตั้งขึ้นมางั้นๆ
|
เขียนเมื่อ |
:
28 ธ.ค. 54 22:53:42
A:223.204.106.235 X: TicketID:139200
|
|
|
|