A life behind Indie rock


    หลังจากผ่าน ยุคอัลเตอร์ (Nirvana - 1990),ยุค Korn(1994) , ยุค Limp bizkit(1997) , ยุค Linkin park (2000) ช่วงนี้อาจยังถือได้ว่าเป็นช่วงปลายยุคของ Linkin park แล้วก็ว่าได้ สาเหตุ ที่เรียกยุคเวลาเหล่านี้ตามชื่อวงดนตรีก็เพราะ ช่วงเวลาขนาดนั้น วงเหล่านี้คือผู้กำหนดกระแสหลักทางดนตรี ง่ายๆก็คือวงเหล่านี้มีอิทธิพลต่อวงดนตรีในช่วงเวลานั้นอย่างมาก เพราะทุกวันนี้ โลกเราเชื่อมต่อ แทบจะถึงกันแล้ว การเปลี่ยนในที่หนึ่งแม้จะห่างไกลกันแต่มันก็ส่งผลกระทบไปได้ทั่วทั้งอณุพื้นผิวโลก 7 คีย์ดนตรีได้ง่ายดายเสียเหลือเกิน

    แล้วทำไมเริ่มที่ ยุค 90 …ก็เพราะคำว่าอินดี้ จะเด่นชัดและมีบทบาทอย่างมากในยุคนี้นี่เอง..จริงๆคำว่าอินดี้เกิดมานานแล้วล่ะ มันคงยากที่จะสืบส่อว่าเริ่มต้นจากที่ใด

    ช่วง 3 –4 ปีที่แล้วรายการ Fat เริ่มก่อตั้งและจุดเด่นคือ เป็นทางเลือกของกลุ่มคนฟังกลุ่มหนึ่ง ที่เรียกตัวเอง/หรือไม่เรียกก็แล้วแต่ แต่พวกเขาเหล่านั้น ถูกนิยามรสนิยมในการฟังว่า เด็กอินดี้ /เด็กอาร์ท ชอบฟังเพลงและสนับสนุนเพลงไทยที่มาจากค่ายเล็กและมีความสามารถ ที่เห็นชัดเจนก็หนีไม่พ้น Bakery music ค่ายนี้เป็นอีกค่ายที่รอดพ้นมาจากยุคล้มสลายของ ยุคอัลเตอร์ นี่รวมทั้งศิลปินในค่ายด้วย และแน่นอนหัวหอกในนั้นก็คือ modern dog ดังนั้น ยุคแรกของ Fat เราจะได้ยินเพลงอย่าง MD พรู (วงลูกหม้อของค่ายขนมปังกับการทำงานแบบอินดี้) ,วิเศษนิยม ,Street funk roller, โยคีเพลย์บอย , Day triper, rik , The photo stricker machine, paradox, smallroom001(อัลบั้ม), บัวหิมะ , Death of the saleman ,Panda records

    เรียกได้ว่าช่วงนี้ คือช่วงค้นหาตัวตนของ คำว่า อินดี้ พอสมควร งานเพลงที่ออกมาให้เราฟัง มันไม่มากมาย มันมีการคัดสรรในตัว

    กลุ่มที่ 1 อีเล็กทริคซาวด์น – ดนตรีสังเคราห์ ดนตรีประเภทนี้ในหมู่บ้านเรา ก็มีกันมานานแล้วล่ะ แต่เท่าที่จับตามอง ยังไม่เห็นมีใครพอที่จะสร้างความโดดเด่น หรือแหกกฎแหกค่ายให้เห็นเพราะส่วนใหญ่งานที่ทำออกมายังเรียได้ว่า ตามกระแสหรืออิงกับดนตรีของเมืองนอกอยู่ เรียกง่ายๆคือเรายังเก็บเกี่ยวประสบการณ์ดนตรีและการค้นคว้าของวงเขามาใช้สะส่วนใหญ่ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีอัลบั้มที่ไม่เข้าตาเอาเสียเลย งานหัวหอกนายหมู่เป็นที่กล่าวขวัญในหมู่คนฟัง ที่ติดตามจริงๆ คงหนีไม่พ้น Kidnappers ,สี่เต่าเธอ,Smallroom001 ,Suharit ,Futon(น้องใหม่มาแรง)
    โดยส่วนตัวยังเข้าไม่ถึง งานประเภทนี้เท่าไหร่ แต่อยากบอกเหลือเกินว่า ยังมีอัลบั้มที่โดดเด่นเอามากๆ ก็คืองานอัลบั้ม อีเคล็คติก สุนทราภรณ์ แม้จะออกมานานแล้ว แต่ยังไม่มีใครเกินอัลบั้มนี้ไปได้ งานนี้ไม่ได้เด่นดีอะไรมากมาย แต่ที่ต้องยกให้คือความสร้างสรร ที่เอางานเพลงซึ่งเป็นงานคลาสสิคของไทยอย่าง บรมครูสุนทราภรณ์มาแต่งตัวเสียใหม่ ได้อย่างลงตัวและดีมากเลยน่าฟังน่าเก็บไปศึกษามาก งานนี้เป็นการครีเอทของ นรเศรษฐ หมัดคง และไบรอัน ยมจินดา ในนาม ECLEXTIC

    ปัจจุบันงานประเภทนี้ ก็ยังมีความพยายามหาทางออกและการเผยแพร่อยู่ โดยการทำสนับสนุนของ Fat ผ่านรายการของ Dj. Suharit นั่นเองก็ไปลองทดสอบประสบการณ์กับพี่เขาได้...

    กลุ่มที่ 2 - Indie rock ขอยกตัวอย่างวง Death of the saleman เพราะมีความชัดเจนถึงความแปลกแยกและแนวทางวงที่โดดเด่นในเรื่องซาวด์น วงนี้ ได้รับอิทธิพลจากวงฝั่งอังกฤษอย่าง Radiohead สูงมากทีเดียว เพราะโดยรวมของตัวอัลบั้มเองไม่หนีห่างจาก OK Computer เลยเรียกว่าเดินแนวทางเดียวกัน แต่ Death of the saleman ก็สามารถหาแนวทางของตัวเองเจอ ถึงแม้อัลบั้มนี้จะไม่จัดจ้านถึงกับยกขึ้นหิ้งเทียบชั้น OK Computer แต่ อวสานเซลล์เมน ถือเป็นงานเกินมาตรฐานของเด็กไทยแบบก้าวกระโดดและน่าสนับสนุน ภายในตัวงานมีเพลงเด่นๆ จริงๆไม่อยากคัดออกเป็นเพลงเดียวเพราะงานเพลงในลักษณะนี้ความภูมิใจ มันอยู่ที่เพลงทุกเพลงต่างส่งเสริมให้เป็นอัลบั้มที่ดีออกมา เรือชูชีพ,สปิน ,ไปในดาว,วันใหม่ คือแนวทางดนตรีที่ไม่ซ้ำซากทั้งเนื้อหาและภาคดนตรี เป็นอีกงานเพลงที่รวมเอาเพลงร็อคผนวกเข้ากับซาวดน์ดนตรีล้ำยุคได้อย่างดี
    จุดที่สะดุดใจและน่าถามถึงคือ ทำไมเขาทำซาวด์นออกมาแบบแป่งๆ คือซาวด์นที่มิคออกมาทุกเพลงจะมีความพีคของระดับย่านความถี่สูงผิดปกติมาก ไม่ทราบว่าพวกเขาตั้งใจ หรือว่าเผลอให้หลุดออกมากันแน่ เพราะมันจะทำให้เพลงดูบางๆ ซึ่งสวนทางกับสไตล์เพลงโดยสิ้นเชิง...

    “ทำไมหมวดนี้ไม่ยกตัวอย่างงานของ MD มาทดสอบ”
    “จริงๆ MD ตอนนี้ไม่ถือว่าเป็นงานนอกกระแส หรืองานที่จะส่งเสริมประสบการณ์เท่าไร เพราะแนวทางของทางวงเอง ถ้าจะเปรียบกับยา น่าจะเป็นตัวยาที่ อย. ต้องยกให้เป็นยาสามัญประจำบ้านไปแล้ว เพราะทางวงได้ทำเพลงอิงกับตลาดเพลงร็อคและก็ค่อนมาทางอินดี้บางแต่ไม่ถึงกลับจะหลุดวงโคจรมาในทางอินดี้แล้ว และแน่นอนพวกเขายังมีมาตรฐานของพวกเขาอยู่ แต่ก็ไม่แน่ ถ้าอัลบั้มใหม่ของพวกเขาสามารถฉีกตัวเองออกจากแนวทางเดิมๆได้ อย่างที่ Radiohead เดินจาก Ok computer มาหา Kid A หรือ Amnesiac ตรงนั้นค่อยมาพิจารณากันใหม่”…
    “เวตาล ไม่ถือว่างานแหกค่ายแหกกฏเหรอ”
    “เปล่าเลย…ผมไม่อยากพูดถึงเพลงนี้นะเดี๋ยวเขาหาว่าจับผิดเกินไป”

    ในหมวดนี้ยังมีกลุ่มดนตรีน่าสนใจมากก็คืองาน Treborikki เป็นงานดนตรีในสไตล์ บริท-ป็อปเทียบชั้นกับ Daytriper ได้สบายๆถึงแม้จะออกงานมาไม่เท่าไร โดยตัวงานแล้วเข้าขั้นมากและงานจากค่าย Panda record มีวงที่น่าจับตามองอย่าง Red Twenty,Damnwrong,



    กลุ่มที่ 3 New age ,Ambent pop
    กลุ่มดนตรีประเภทนี้เป็นอะไรที่ท้าทายความสามารถในการฟังและท้าทายความเปิดกว้างของต้อมการฟังมาก เพราะงานในลักษณะนี้นอกจากจะเป็นงานนอกกระแสในตัวมันเองแล้ว (ด้วยเหตุมันไม่มีความป็อปในตัวงาน)แล้วยังได้รับความนิยมเฉพาะหมู่เท่านั้น ด้วยเป็นงานที่เข้าถึงลำบากหน่อย ด้วยต้องอาศัยประสบการณ์และจิตนาการเอามากๆ ในบ้านเราก็พอจะมีให้เลือกอยู่ไม่กี่วงที่พอจะทำออกมาเป็นอัลบั้มได้

    Rik, The photo stricker machine และ เคหะสถาน น่าจะเป็น 3 วงที่พอจะยอมรับในฝีมือได้ว่า การครีเอทของพวกเขาทำได้ไม่อายเลย งานเด่นๆ ที่จะพูดถึงและลองๆ ทดสอบไปด้วยกันคงหนีไม่พ้นงานของ หนุ่มผู้มากมายจิตนการทางดนตรี ต้น - วลิส สุระเวช (อาจจะเป็นงานที่เข้าถึงได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับ Rik และ TPSM ผมว่างั้นนะ) ผมไม่รู้จะเรียกเขาในนามวงไหนดี ลองๆดูผลงานเขาเองนะครับ
    http://www.thaigurunetwork.net/content/article_detail.php?p=lifestyle&content_id=64

    งานของเขามันจะไม่ธรรมดา เป็นงานทดลอง(เจ้าตัวก็บอกเอง) ที่ไม่ถึงกับหลุดโลก ความโดดเด่นของเขาน่าจะอยู่ในงาน 2 ชุด แรกคือ เคหะสถาน (2544)และ Travel-Agency (2545)

    เคหะสถาน เป็นงานที่เราฟังแล้วรู้สึกเหมือนได้หลงเขาไปในอาณาจักรส่วนตัวของใครบางคน ที่ดูก้าวล้ำมาก
    คุณจะได้เคลิ้บเคลิ้ม ก็เมืองมายาที่หาทางออกไปเจอ
    Travel-Agency จะมาในแนวซาวด์นสเปสเอามากๆ เพลงเร้าจิตนาการอย่าง Subconscious ถือว่าเทียบชั้นงานของ massive attack และงานของ Black box recorder ได้อย่างสบายๆไม่อายเลย ความไพเราะที่ซ้อนอยู่ในงานทดลองนี้จะทำให้คุณลืมเพลงที่เพราะที่สุดในดวงใจคุณเลย

    “ผ่านกี่วงเหรอ ไม่อยากบอกเลย แบบทดสอบนี้ผม ผ่านแค่ กลุ่มที่ 2 เอง Indie rock ส่วน อีเล็กโทร ซาวดน์ new age ,Ambent pop อะไรพวกนี้สงสัยคงต้องพัฒนาการฟังอีกเยอะ”

    มันก็คงขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัวด้วยมั่ง เป็นไปไม่ได้ คนเราจะชอบอะไรไปทุกอย่าง แต่ถ้าคิดว่าจะศึกษามันก็คงต้องปรับปรุงประสบการณ์ฟังและ ลดอีโก้ตัวเองลงอีกเยอะ เพราะดนตรีบางแนวที่เรารับไม่ได้ อาจจะไม่ใช่หูไม่ถึงหรือดนตรี มันขึ้นหิ้งไป แต่จริงๆมันก็อยู่กับอคติในตัว หรืออีโก้ของตัวเองนี่เอง ที่ไม่ยอมเปิดรับสิ่งใหม่ๆเขามา

    เชื่อว่าหลายคนคงแบบนี้

    นี่ยังเป็นทางเลือกเลือกที่เป็นของไทยๆนะ ถ้ารวมดนตรีของฝั่งอังกฤษและอเมริกาที่เป็นทางเลือกแล้ว นับว่าเรายังต้องพัฒนาการฟังไปอีกไกล…

    ดนตรีจะพัฒนาคนฟังก็ต้องพัฒนาการฟังไปด้วย ไม่งั้นไปทันกัน

    พัฒนาการทางดนตรีคุณถึงไหน...?

    จากคุณ : อยากเป็นอินดี้ - [ 11 ธ.ค. 46 15:31:27 A:203.149.45.24 X:unknown ]