Let’s me down again.

    ยุคตกต่ำของคำว่า อินดี้ ก็มาถึง หลายคงรู้สึกแย่กับคำๆนี้มากเลย ถึงแม้ตอนนี้ผมก็เชื่ออย่างนั้น เชื่อว่ามันผอึดผอมมากเมื่อได้ยินคำนี้ หลังจากที่ความเป็นอินดี้ มันถูกกระทำให้มันเข้าถึงง่าย ด้วยความเข้าใจผิดๆ หรือด้วยตั้งใจให้มันเข้าใจผิดหรือเปล่าตรงนี้ยังไม่มีคำตอบ

    หลายคนมองว่าเสื้อมือ 2 คืออินดี้ ใส่ converse คืออินดี้ ฟังเพลงแปลกๆคืออินดี้ ในเมื่อการรับรู้และรู้สึกกับอินดี้มันเป็นอย่างนั้น มันก็เป็นการง่ายที่จะมีจุดอ่อน


    ตรงนี้เราคงต้องโฟกัสไปที่ Fat ช่วงปีที่ 2 (เราจะไม่พูดถึงยุค 90 หรือในช่วงที่รายการ prirate rock กำลังบูม เพราะช่วงนั้น อินดี้ก็ตายมาแล้ว พร้อมๆกับการเบื่อหน่ายกระแสอินดี้ที่มันมากไป) เพราะคำว่าอินดี้ มันถูกยัดเยียดผ่านสื่อ จะด้วยความจงใจหรือเปล่าตรงนี้ก็ตอบไม่ได้เช่นกัน แต่แน่นอนความเข้าใจผิดๆ มันเกิดขึ้นแล้วในเมื่อสังคมเล็กๆของ Fat ถูกมองว่าทำอะไรก็คืออินดี้ แม้แต่การเปิดเพลง คือเปิดเพลงอะไรก็ได้ ขอให้ Fat เปิดมันจะถูกมองว่าอินดี้ จริงๆไม่ขอยกตัวอย่างเพลงนะ เพื่อหลีกเลี่ยงถึงการถกเถียงกันที่ไม่รู้จบ

    แต่สิ่งที่เราจับประเด็นกันได้ คือยุคตกต่ำของ คำว่าอินดี้ (อีกครั้ง)มันมาพร้อมกับความผอึมผอม ของการฟังเพลงจาก Fat นั่นแหละ และแน่นอนส่วนหนึ่งก็เป็นที่ตัวงานที่มีน้อยเพื่อให้ Fat เลือกเปิดเราคงจะสรุปโดยรวมว่าโทษสื่ออย่างเดียวไม่ได้ คงต้องโทษทั้งคนรับสื่อ คนผลิตงานดนตรี และสื่อด้วย

    ทั้ง 3 อย่างนี้มันมีส่วนผลักดันให้ คำว่า อินดี้ ตกต่ำมาก
    และที่แย่คือการกำเนิดของ นิตยสารทางเลือกอย่าง a day ถูกนำไปผูกติดกับความว่า อินดี้ ไปด้วยนั่นยิ่งทำให้เราได้เห็นถึงความหายนะของคำนี้ง่ายขึ้น

    ฟัง Fat อ่าน a day = อินดี้
    การกำเนิดของนิตยสารทางเลือกอย่าง a day เป็นอะไรที่น่าจะถูกบันทึกไว้มาก
    a day เล่มแรกวางแผง กันยายน 2543 โดยอดีตบรรณาธิการ มากประสบการณ์นาม วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ซึ่งผิดหวังจากกลุ่มทุน เขาจึงสักชวน แฟนหนังสือเก่าๆ ของเขารวมกัน ’ลงขัน’ หาทุนทำหนังสือที่เขามั่นใจนักหนาว่า มันต้องดีแน่ๆและ ก็เป็นทางเลือกอีกทาง อย่างที่เขาต้องการ และเงินจำนวน 1 ล้านบาทคือจุดเริ่มต้นของ a day

    และหลังจากการเกิดของ a day ก็มีการเข้าใจผิดว่า การถือ a day อ่านคือการจับความเป็นอินดี้ใส่ตัว ซึ่งมันเป็นอะไรที่แย่มากๆ ปรากฎการณ์เหล่านี้มีการวิพากษ์ วิจารณ์กันมากในหมู่ แฟนๆ a day และกระแสสังคม คงโทษ ตัวหนังสือเองไม่ได้นอกจาก ตัวคนรับสื่อเอง ที่ตีความไปต่างๆนาน

    แต่จุดเด่นของ a day ยังคงเหมือนเดิมคือ มีความหลากหลายและมาด้วยความคิดสร้างสรรในการนำเสนอและมีความเข้าใจต่อความต้องการของคนผู้อ่าน เนื้อหาส่วนใหญ่ยังเป็นการเรียกร้อง หาอดีต ‘วันวานยังหวานอยู่’ นั่นคือเสน่ห์ที่จับต้องได้

    จาก 2 ปรากฎการณ์มีจุดร่วมเดียวกันคือ การจุดกระแสด้วย “ความเป็นอินดี้”

    “อินดี้คืออะไร”
    “ผมว่าคุณก็รู้อยู่แล้วนะ เพียงเราจะเข้าถึงมันมากแค่ไหน”

    มาถึงตรงนี้ เราก็คงพับคำว่าอินดี้เก็บไว้ก่อน มันถูกตีความไปต่างๆนานจนยากจะหาความหมายที่ถูกต้องได้แล้ว

    มาว่ากันที่แวดวงเพลงนอกกระแสของเมืองนอกกันดีกว่า
    เพลงทางเลือกมันมีเยอะให้เราเลือก แต่แน่นอนก่อนที่เราจะฟังเพลงทางเลือกได้ ก็คงต้องถามตัวเองก่อนแล้วล่ะ ว่าพอใจกับดนตรีที่ตัวเองฟังๆกันอยู่หรือเปล่า

    ถ้าคำตอบว่าพอใจแล้ว ไม่อยากแสวงหาสิ่งใหม่ๆ นอนรอรับจาก rs แกรมมี่ bakery blacksheep หรือแม้แต่เพลง POP จาก MTV ฟัง Fat แค่นี้ก็รับไม่ไหวแล้ว ถ้าพอใจตรงนี้คงไม่ว่ากัน นั่นคือทางเลือก

    แต่เดียวก่อน ถ้าคุณยังไม่พอใจวงการดนตรีตรงนี้…

    มันยังมีขอบเขตของดนตรีที่ไม่ใหญ่ไม่เล็ก หรือแม้แต่ไม่มีคนรู้จักรอให้คุณได้ค้นหาและทดสอบประสบการณ์อีกมากมายรอคุณอยู่…

    วงอย่าง oasis,radiohead,blur,greenday,weezer,travis ฯลฯ วงเหล่านี้คือผลพวงที่ได้จากการที่กระแส อินดี้ บูมในช่วงยุค 90 แน่นอนวงที่จุดกระแสนั้นก็คือ nirvana มาถึงวันนี้เราคงจะสับสนของคำว่า อินดี้ พอสมควร

    อินดี้คือ ความอิสระ แต่ความอิสระของค่ายเพลงฝั่งอังกฤษฝั่งอเมริกา มันต่างกันมากกับค่ายเพลงบ้านเราอย่าง RS, แกรมมี่ อย่างลืมนะครับว่าค่ายเพลงอย่าง Creation,Sub pop,Genffen คือค่ายเพลงที่ถูกจัดว่าทำงานในลักษณะอินดี้

    ดังนั้นเราจะตีความ มาตรฐานค่ายเพลงเมืองนอกกับเมืองไทยไม่ได้หรอก
    “แต่ โอเคเราไม่ได้มาถกเถียงกันหรอกว่าวงเหล่านี้คืออินดี้หรือไม่”
    “รู้ๆกันอยู่แล้วว่าพวกเขาต่างผลักดันแนวทางนี้มาแล้วทั้งนั้น”
    “เราจะไม่พูดถึงเขา หรือแม้แต่ Strokes และ Coldplay เอง
    เราจะไม่เอามาพูดให้สับสนกันเปล่าๆ”
    “โอเค ทดคำว่า อินดี้ ไว้ในใจ อย่าเอ่ยมันออกมาอีก เราจะไม่พูดถึง Beck หรือแม้แต่ Bjork”

    ตอนนี้เราจะกำหนดขอบเขตในแวดวงของความ “นอกกระแส” ความนิยม
    ส่วนจะนอกกระแสความนิยมใครหรือไม่คงไม่ต้องตีความกันให้สับสนเปล่าๆ เราเชื่อว่าการตัดสินได้หรือไม่ นั้นอยู่ในทุกความเป็นบุคคลอยู่แล้ว

    จริงๆ กลุ่มเพลงนอกกระแส ถ้าดูโดยรวมจริงๆ ออกจะแคบเสียด้วยซ้ำ มันก็มีศิลปินไม่กี่กลุ่มที่ฟังๆและติดตามกัน แต่พื้นๆ เราควรจะมีแหล่งเริ่มต้น หรือจุดเริ่มต้น ถ้าคิดจะเดินทางส่วนเป้าหมายมันจะค่อยๆกว้างออกไป มันก็ขึ้นอยู่กับความสามารถและการค้นคว้าของเราเอง

    ค่ายเพลงหลักๆ ที่มีการผลิตงานแบบนี้ออกมาก็มี 4AD มีศิลปินหลักๆ อย่าง Breeders , Mojave 3,Tanya Donelly ฯลฯ - Sarah record ค่ายนี้มีศิลปินเยอะมาก วงหลักๆที่ควรจะเริ่มทำความรู้จัก ก็ Trembling blue stars, Blueboy, The Field Mice, The Orchids ,Ivy, Fosca, Cody ส่วนใหญ่งานในค่ายนี้จะเป็น Indie pop สวยๆ เพราะๆ และมีความเก๋ไก๋ในตัว - jeepster record (http://www.jeepster.co.uk/)มีศิลปินหัวหอกอย่าง Belle and sebastian (แนวเพลงเท่ๆพาฝันไว้ไปกับ pop rock บางๆฟังสบาย) The Gentle Waves, Looper, Salako ,Snow Patrol ค่ายนี้น่าสนใจมากๆ รายละเอียดจะพูดต่อไป ต่อมาก็ค่าอย่าง Elephant six record มีศิลปินน่าสนวจอย่าง Beulah ที่เล่นซาวด์นออกย้อนยุค แต่มีความเป้นเอกลักษณ์ในตัว และ กลุ่มดนตรีที่เรียกว่า Shibuya-Kei (ดนตรีกลุ่มมีความนิยมไม่มากเท่าไร ยังไม่มีใครให้คำจำกัดความของ Shibuya-Kei เท่าไร ลองไปศึกษาดูละกันถ้าสนใจ http://www.indyideal.net/ โดยส่วนตัวก็ยังไม่รู้จักดนตรีแนวนี้ดี เลยไม่กล้าให้คำกำจัดความ – คงต้องศึกษากันต่อไป)

    “โอเค เรามาตามรอยดนตรีอีกกระแสหนึ่งกัน”
    “ดนตรีนอกกระแส มันก็มีขบวนการของมัน…”
    “คุณมี Queens of the stone age ฟังมั้ย เปิดเลยครับ บิลอารมณ์ก่อน”

    จากคุณ : my december - [ 15 ธ.ค. 46 11:43:54 A:203.149.45.24 X:unknown ]