CafeTech-ExchangePantip MarketChatTrendyMobilePantown


    ++ท่ามกลางกระทู้ AF ยังมีเรื่องราวหุ่นละครเล็ก ที่อยากให้ทุกคนได้ลองอ่านดูนะครับ++

    ที่มาของ โจหลุยส์เธียเตอร์

    สาคร ยังเขียวสด "โจหลุยส์" ครูผู้ให้ชีวิต

    เพื่อนๆ ทราบไหมครับว่า ก่อนยุคของเราๆ เนี้ย หุ่นละครเล็กเคยถูกลืมเลือนมาแล้วครั้งหนึ่ง หลังจากมีการแสดงขึ้นมาครั้งแรก และถูกลืมนานเสียด้วยสิ ตั้ง 50 ปี แต่แล้วนายสาคร ยังเขียวสดบุตรศิลปินโขนละครผู้มีชื่อเสียงเมื่อปี 2528 คือ นายคุ่ยและนางเชื่อม ยังเขียวสด ก็ได้เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์และปรับประยุกต์หุ่นละครเล็ก เพื่อถ่ายทอดศาสตร์และศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็กแก่คนรุ่นหลัง

    เราคงไม่อยากให้หุ่นละครเล็กเหล่านี้ ต้องสูญหายไปอีก 50 ปีหรอก ใช่ไหม?

    ..อันเป็นที่มาของชื่อโรงละคร โจหลุยส์เธียเตอร์
    นายสาคร ยังเขียวสด มีชื่อเล่นเมื่อครั้งยังเด็ก ว่า "หลิว" แต่ครั้นโตขึ้นได้เข้าสู่วงการแสดง ได้เป็นเจ้าของคณะลิเก และชอบแสดงเป็นตัวตลกประจำคณะ จึงมีผู้เรียกชื่อเล่นเพี้ยนจากหลิวเป็น หลุยส์ และภายหลังมีผู้เติมสมญานามว่า โจ ให้อีก จึงกลายเป็น โจหลุยส์ ซึ่งเป็นชื่อที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในวงการแสดง และปัจจุบันได้นำชื่อ โจหลุยส์ มาตั้งเป็นชื่อของ โรงละครโดยใช้ชื่อว่า "โจหลุยส์เธียเตอร์"

    ฟื้นลมหายใจของหุ่นละครเล็ก
    หุ่นละครเล็กกลับมาโลดเต้นบนเวทีการแสดงเป็นครั้งแรกหลังจากหายไปนานกว่า ๕๐ ปีในงาน เทศกาลเที่ยวเมืองไทยปี พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ขอร้องให้ครูโจหลุยส์ จัดการแสดงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ครูโจหลุยส์จึงตัดสินใจทำพิธีบูชาพ่อครูแกรเจ้าของหุ่นเพื่อขออนุญาตจัดทำหุ่นเพิ่มเติม ในงานนี้ครูโจหลุยส์ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณแสดงหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย ณ สวนอัมพรและแสดงสาธิตหุ่นละครเล็กที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐

    ในขณะนั้นครูโจหลุยส์ได้ตั้งชื่อคณะหุ่นละครเล็กของท่านว่า "หุ่นละครเล็กคณะสาครนาฏศิลป์ละครเล็กหลานครูแกร" หุ่นละครเล็กของครูโจหลุยส์เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมเป็นอันมาก ด้วยลักษณะพิเศษของหุ่นละครเล็กที่เคลื่อนไหวได้ทุกส่วนคล้ายคนจริงและความสวยงามของเครื่องแต่งกายแบบโขนละครจริง รวมทั้งศิลปะการเชิดที่แตกต่างจากการเชิดหุ่นกระบอกที่คุ้นเคย

     
     

    จากคุณ : ++peter++ - [ 8 ส.ค. 47 03:18:08 ]