ความคิดเห็นที่ 1
ลองไปเรียนดิคับ คอร์สสั้นก็มี ลองอ่านความรู้คร่าว ๆ ของ หนังสือ ของ น ณ ปากน้ำ ชื่อ หลักการวาด ดังนี้ คับ สีน้ำมันเกิดขึ้นมาจากการเขียนสีฝุ่น กล่าวคือ ในสมัยเรอนาซองส์ (คริสต์ศตวรรษที่ 14-16) ส่วนใหญ่จิตรกรสมัยนั้นมักจะเขียนภาพลงบนแผ่นไม้ แผ่นหนังสัตว์ ผนังอาคารโบสถ์วิหาร หรือบนผ้าใบ โดยมักจะเขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาว
สีฝุ่นผสมกาวนี้เป็นกรรมวิธีเขียนภาพที่เก่าแก่ที่สุดในโลก การผสมกาวนั้นก็ยังมีเทคนิคแตกต่างกัน แล้วแต่ว่าที่ใดมีความนิยมอย่างไร เช่น ของไทยเรานิยมใช้สีฝุ่นผสมกาวทำจากยางไม้ เช่น ยางกระถิน ยางมะขวิด ยางมะเดื่อ ยางบง หรือยางจากเมล็ดมะขามต้มจนเหนียว แล้วแต่กรรมวิธีของแต่ละสำนัก
วิธีของอินเดียวบางสำนักใช้ไข่แดงเอามาผสมกับน้ำส้มกันบูด บางทีก็ใช้ยางอื่น ๆ
สมัยยุโรปโบราณนั้น นอกจากจะใช้ยางไม้ผสมเขียนสีฝุ่นแล้ว ยังปรากฏภาพเขียนในถ้ำ ว่ามีการเอาไขสัตว์หรือน้ำมันสัตว์มาผสมสีฝุ่นเขียนรูป ซึ่งวิธีนี้อาจจะเป็นปฐมเหตุของสีน้ำมันก็ได้
อย่างไรก็ดี สีน้ำมันถูกประดิษฐ์ขึ้นใช้ในยุโรปสมัยเรอนาซองส์นี่เอง มีผู้ประดิษฐ์ขึ้นหลายกรรมวิธี อย่างเช่น เลียวนาโด ดาวินชี ก็ประดิษฐ์สีน้ำมัน คือ เอาสีฝุ่นผสมในน้ำมันและเขียนรูป The Last Supper ซึ่งเป็นรูปชิ้นเยี่ยมของเขาที่เมืองมิลาน ภาพนี้มีชีวิตชีวา เป็นที่ร่ำลือกันนานข้ามศตวรรษ แต่เพราะว่าการผสมสีของเขายังไม่ดีพอ ดังนี้ต่อมาถึงสมัยปัจจุบันภาพจึงล่อนและกะเทาะเสียหายมาก แม้จะมีการอนุรักษ์อย่างเต็มสติกำลังของผู้ชำนาญงานก็ไม่อาจแก้ไขภาพเขียนที่สีเสื่อมอายุ ต้องปล่อยเลยตามเลย และช่วยชะลออายุไว้มิให้เสียหายมากไปกว่านั้น
สมัยต่อมาการใช้สูตรผสมน้ำมันกับสีดีขึ้นตามลำดับ จึงมีผู้นิยมเขียนสีน้ำมันมากขึ้น และเขียนกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 ดังเช่นภาพเขียนของ เวลาสเควซ ช่างเขียนเอกชาวสเปน ภาพเขียนของเฟอร์เมียร์ ของเรมบรังค์ แห่งฮอลแลนด์ ภาพเขียนของฟราโกนาร์ด แห่งฝรั่งเศส รวมทั้งภาพเขียนของเรย์โนลด์ เกนสเบอเรอห์ ชาวอังกฤษ ฯลฯ สมัยหลังนี้เป็นยุคของสีน้ำมันโดยแท้
การผสมน้ำมัน
ส่วนใหญ่การใช้น้ำมันผสมสีที่เตรียมไว้ มักจะใช้น้ำมันลินซีด (Linseed Oil) บางคนก็ใช้น้ำมันสนโดยตรง (Turpentine) ในการใช้น้ำมันผสมสี (Painting Medium) โดยปกติมีส่วนผสมดังนี้
ใช้น้ำมันลินซีด 3 หยด ฟสมน้ำมันสน 1 ช้อนชา
น้ำมันลินซีด 3 หยด และน้ำมัน Dammar Varnish
น้ำมัน Dammar Varnish ผสมกับน้ำมันสน 1 ช้อนชา
อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาเรื่องน้ำมันผสมกับสี และทำได้ดีที่สุดตามลำดับมาก็ตาม แต่ก็ไม่วาย ด้วยสมัยหลังไม่นานนักปรากฎว่าสีน้ำมันยังคงแตกร้าวอยู่เช่นเดิม
กรรมวิธีในการเขียนสีน้ำมันก็ยังเหมือนกับการเขียนสีฝุ่นแบบเดิมกล่าวคือ สีฝุ่นใช้น้ำกาวกับน้ำผสมสี ส่วนสีน้ำมันนั้นจะใช้น้ำมันลินซีด หรือ น้ำมันสน(Linseed and Turpentine Oil) มาผสมกัน ใช้แปรงหรือพู่กันจุ่มน้ำมันมาผสมกับสีหลอดเขียนเลยทีเดียว
ระบบการเขียนก็คล้ายกับการเขียนสีฝุ่น คือ จะต้องใช้สีขาวผสมลงไปด้วยทุกครั้งเพื่อให้เกิดความแน่นในเนื้อสี เพื่อจะได้ระบายทับ ๆ กันได้ อีกประการหนึ่ง การใช้สีขาวผสมเพื่อให้เกิดน้ำหนักแก่อ่อน เช่น สีแดงถ้าจะให้เป็นสีแดงอ่อนเช่นสีดอกกุหลาบ ก็ให้ใช้สีแดงที่บีบจากหลอดผสมกับสีขาวและน้ำมัน และถ้าต้องการสีแดงอ่อนมากก็ใช้สีขาวมากขึ้นตามส่วนสัดโดยอัตโนมัติ เครื่องมือที่ใช่ในการเขียนสีน้ำมัน
แปรงสีเป็นพู่กันแบบหน้าตัดกับพูกันอย่างกลม โดยใช้ขนาดเบอร์ 1-12 บางคนชอบใช้เฉพาะเบอร์ 4, 6, 8, 10, 12 เบอร์ไหนชอบมากที่สุดก็จะซื้อแบบนั้นหลาย ๆ อัน เพื่อใช้ในการระบายสีได้ทันท่วงที เพราะว่าบางทีต้องการจะระบายในที่บางแห่งอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องใช้พู่กันใหม่อย่างเร็ว จะไปรอล้างอาจไม่ทันการ
การล้างแปรง
ถ้าระบายด้วยสีอะคริลิค (Acrylic) ซึ่งเป็นลักษณะแบบเดียวกับสีพลาสติก เมื่อระบายแล้วปล่อยแปรงทิ้งไว้ชั่วครู่เดียว แปรงหรือพู่กันที่ติดสีจะแห้งทันที ไม่สามารถล้างออกได้
วิธีที่ถูก เมื่อระบายแล้วจะต้องแช่แปรงลงในน้ำ แล้วจึงหยิบแปรงอื่นมาใช้ต่อไป
เช่นสีน้ำมันเมื่อแห้งแล้วจะล้างด้วยน้ำมันเบนซิน หรือน้ำมันซักแห้ง คือ เทอเพนไตน์ หรือน้ำมันทินเนอร์ก็ได้ จากนั้นจึงล้างด้วยผงซักฟอกละลายน้ำอย่างข้น แล้วล้างน้ำ แปรงจะสะอาด ถ้าระบายสีอะคริลิคไม่ต้องใช้ผงซักฟอก ให้แช่ลงไปในน้ำได้เลย
ในการเขียนสีน้ำมันที่ใช้พู่กันมาก ถ้าไม่มีลูกมือล้างแปรง ก็มีวิธีการคือให้หากระป๋องหูหิ้วขนาดย่อม ใส่น้ำผสมผงซักดฟอกพอเหนียว ๆ มือ เมื่อแต่งรูปเสร็จไม่มีเวลาล้างแปรงต้องทำธุระอย่างอื่นอีก ก็ให้ใช้แปรงหรือพู่กันที่เปื้อนสีน้ำมันนั้นแช่ไว้ในน้ำผงซักฟอกเลยทีเดียว ท่านอาจจะมีธุระร้อนไปที่ไหน ๆ สัก 3-4 วัน กลับมาล้างก็ยังได้ ในการล้าง ถ้ามีไใเปื้อนมากก็อาจล้างด้วยน้ำผงซักฟอกออกหมดเลย ไม่ต้องล้างน้ำมันอีก
ถ้าพูกั่นถูกนำไประบายชาแลคก็ให้ไปแช่แอลกอฮอล์เสียก่อนจนแปรงนิ่ม ล้างหมดแล้วจึงนำมาล้างน้ำผงซักฟอกอีกต่อหนึ่ง
การวางแปรงสีหรือพู่กัน
ไม่ควรวางบนพื้น อาจถูกหนูแทะกัด หรืออาจติดกับพื้น ควรหากระบอกกระเบื้องเคลือบทรงสูง ๆ หรือกระบอกไม้ก็ได้ วางเอาด้ามแปรงลงชูส่วนขนแปรงขึ้น ถ้าเอาขนแปรงลงเมื่อนำมาใช้ขนแปรงจะงอเสียรูปไป
เครื่องช่วยควรมีไม้ยาวขนาดไม้เท่าที่ทำด้วยไม้ไผ่ หรือจะเอาไม้อย่างดีมาเหลาก็ได้ ปลายไม้ควรเอาสำลีหุ้มเป็นตุ่มขนาดลูกมะนาวเล็ก ๆ แล้วเอาผ้าหุ้มมัดให้แน่น ไม้นี้ควรยาวสัก 1 เมตร หรือสั้นกว่าเล็กน้อย เมื่อเราจะตกแต่งส่วนละเอียดบนกลางแผ่นผ้าใบ ไม่ว่าจะเป็นสีฝุ่น สีโปสเตอร์ หรือสีน้ำมันรวมทั้งสีอะคริลิค ให้วางปุ่มทุ้มสำลีลงบนขอบผ้าใบ หรือจะบนผ้าใบตรงส่วนที่สีแห้งแล้ว มือซ้ายจับด้ามไว้ มือขวาที่ถือพู่กันหรือแปรงให้เอาข้อมือหรือโคนฝ่ามือวางบนไม้นั้น วางให้เกือบขนานกับภาพ ก็อาจจะแต่งภาพได้ละเอียดกว่าใช้มือล้วน ๆ เมื่อเขียนตกแต่งส่วนละเอียดของภาพ เช่น รูปปาก จมูก ลูกตา หรือส่วนละเอียดอื่น ๆ ก็จะทำได้ประณีตยิ่งขึ้น
ต้องการให้สีน้ำมันแห้งเร็ว
ให้เอาน้ำมันสน (Turpentine Oil) ผสมลงไปในน้ำมันลินซีดครึ่งต่อครึ่งสีจะแห้งเร็วขึ้น แต่ถ้าต้องการให้เขียนภาพแห้งช้าก็ไม่ควรใส่น้ำมันสน
น้ำมันลินซีด (Linseed) ที่มีขาย่ตามร้านอย่างชนิดผสมสีทาบ้านเขาขายเป็นฃวด น้ำมันชนิดนี้เป็นอย่างเลว เมื่อสีแห้งจะทำให้สีคล้ำลงไปเล็กน้อย ยิ่งเขียนด้วยสีอย่างดีก็พลอยทำให้สีเสื่อมคุณภาพด้วย ทางที่ดีควรใช้นำมันอย่างที่เขาบรรจุขวดเล็ก ๆ ขายตามร้านเครื่องเขียน มีทั้งน้ำมันลินซีดและน้ำมันสน จะถูกต้องมากกว่า
สีขาวที่เขาใช้ทาบ้านเรียกว่า สีปอนด์ อยู่ในถัง เขาจะตักขายเป็นกิโลกรัม สีชนิดนี้ใช้ทาบ้าน ไม่ควรเอามาเขียนรูป เมื่อแห้งแล้วจะออกสีเหลือง เพราะเป็นสีที่ผสมด้วยน้ำมันลินซีดชนิดเลว ถ้าจะให้รูปมีคุณภาพคงทนตลอดกาลก็ห้ามขาด อย่านำมาใช้
สีอีกชนิดหนึ่ง คือ สีทาบ้านที่เขาใส่กระป๋องขาย อย่าได้นำมาผสมระบายสีบนภาพเขียน เพราะเป็นสีที่มีคุณภาพเลว เมื่อแห้งแล้วสีจะแตกง่าย เราจะต้องนำมาผสมน้ำมันอีกต่อหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ความข้มของสีไม่ดีพอ เครื่องมือที่ใช่ในการเขียนสีน้ำมัน
แปรงสีเป็นพู่กันแบบหน้าตัดกับพูกันอย่างกลม โดยใช้ขนาดเบอร์ 1-12 บางคนชอบใช้เฉพาะเบอร์ 4, 6, 8, 10, 12 เบอร์ไหนชอบมากที่สุดก็จะซื้อแบบนั้นหลาย ๆ อัน เพื่อใช้ในการระบายสีได้ทันท่วงที เพราะว่าบางทีต้องการจะระบายในที่บางแห่งอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องใช้พู่กันใหม่อย่างเร็ว จะไปรอล้างอาจไม่ทันการ
จากคุณ :
kangfoo2003
- [
15 ธ.ค. 47 12:57:39
]
|
|
|