ขวางทางแบบเดิมที่แจ๊ซเล่นกันมา
ภาคจังหวะและเครื่องเป่าที่ไม่เหมือนเดิม คนเล่นเปียโนเสนอรูปแบบคอร์ดโปรเกสชั่นที่ข้ามไปข้ามมาเพราะต้องการนำเสนอความเป็นอิสระไม่ยึดกับองค์ประกอปใดๆทั้งสิ้น เพราะฉนั้นไม่ต้องคิดถึงความไพเราะหรือทางเดินคอร์ดสวยๆ
เนื้อหนังของมันและหลักการ
- อิสระจากรูปแบบ
- อิสระจากการเล่นแบบไหวพิบปฎิญาณ
ขยายความความอีกนิดความรุ่มรวยและความหลากหลายของสุ่มเสียง
คือเนื้อแท้ที่เป็นอิทธิพลมากที่สุดที่เกาะกุมหัวใจการโซโล้ อิมโพไวซ์เซชั่น มีการพัฒนาของเนื้อหาบางอย่างที่ให้ความสำคัญมากกว่าทำนองของบทเพลง
ภาคแนวจังหวะ
เพราะว่ากลุ่มก้อนของการอิมโพไวซ์เซชั่น เป็นอิสระจากกันแล้วคนเล่นภาคจังหวะริธิ่มก็สามารถที่จะเล่นนอกเหนือจากรูปแบบของแพทเทิ้นที่เคยเล่นกันอยู่หรืออาจจะใช้แพทเทิ้นที่เขาคุ้นเคยก็ได้
ภาคแนวทำนอง
คิดถึงเพลงที่เล่นกันมาในแบบดนตรีสไตล์บ๊อบ แพทเทิ้นคอร์ดที่เขียนเอาไว้ในแต่ละห้องทำให้ผู้ที่เล่นโซโล้แนวทำนองสามารถเลือกเล่นเมโลดี้โน้ตในคอร์ดที่ทำให้เกิดความสวยงามเข้ากับคอร์ดหรือเล่นนอกคอร์ดแต่ไม่ต้องคิดถึงการเล่นแบบฟรีที่เป็นอิสระเพราะคอร์ดอาจจะเขียนเอาไว้เพียงให้ดูเท่านั้น
ลักษณะของเสียง
1. คนเล่นอาจจะใช้เสียงหนักๆเพื่อไปกระตุ้นให้เกิดการแปรผกผันกับเสียงที่อยู่ในกลุ่มเหมือนมีการโจมตีหรือประทะกัน
2. ถ้าร้องด้วยเสียงต้องกรี๊ดร้อง ตะโกน คราง คร่ำคราญ โหยหวน ฯลฯ
วลีของเสียง
1. วลีของเสียงไม่ประติดประต่อ ขาดๆวิ่นๆ ทำไปเรื่อยๆ ไม่ลดละ หรืออาจจะทำสลับสับกันของตัวโน้ตกับการสั่นหรือแบบคร่ำครวญหรือเหม่นๆหมองไม่เป็นเสียงที่ฟังชัดเจน
ตัวอย่างต่อไปนี้เราจะมาเล่นดนตรีที่เรียกว่าฟรีแจ๊ซกัน
ผู้เล่น
1. นายสามัญฯ หัวหน้าวงควบคุม
2. คุณเชอร์ ณ สยาม ให้เสียงลำดับที่ 1
3. คุณอาร์ม 71 ให้เสียงลำดับที่ 2
4. คุณสนธยา ให้เสียงลำดับที่ 3
5. คุณยักษ์มาเนีย ให้เสียงลำดับที่ 4
6. เพ็ทน้อย ให้เสียงลำดับที่ 5
7. เดอร์ ดุ๊ก ให้เสียงลำดับที่ 6
8. น้องพิมพ์ ให้เสียงลำดับที่ 7
บทเพลงคือ ลาวดวงเดือน
เนื้อเพลง
โอ้ละหน้อดวงเดือนเอ่ย พี่มะวาวรักเจ้าสาวลำดวน
อกพี่เป็นห่วง เพราะรักเจ้าสาวดวงเดือน
...................... ......................................
ฯลฯ
วิธีการเล่นดังนี้
1. นายสามัญฯซึ่งเป็นหัวหน้าวงนำเสนอการเล่นสองเวอร์ชั่น
อย่างแรกคือ free from อย่างที่สองคือ free Improvisation
เริ่มเล่นอย่างแรกคือ free from
โดยนายสามัญฯจะความคุมให้แต่ละคนเล่นเสียงในระดับที่ตกลงกันไว้แล้ว โดยจะเป็นคนให้จังหวะว่าใครขึ้นก่อนใครตามใครหลังสุด เมื่อมาถึงจุดๆหนึ่งหรือระยะเวลาหนึ่ง นายสามัญฯก็ให้สัญญาณทำการอิมโฟไวซ์เซชั่นทีละคน (หรืออาจจะให้เล่นพร้อมๆกันทีเดียวเลย) จนได้เวลาหรือนายสามัญฯเห็นว่าเพียงพอแล้วก็ให้สัญญาณจบการอิมโฟไวซ์เซชั่น มาเข้าสู่บทเพลงอีกครั้งหนึ่งโดยนายสามัญฯจะวางลำดับของเสียงของคนเล่นเอาไว้แล้ว จนจบเพลง.....
อย่างที่สองคือ free Improvisation
นายสามัญฯจะเป็นคนนับให้สัญญาณให้ทุกๆคนเล่นอิมโพไวซ์พร้อมๆกันเลย....
จนมาถึงช่วงที่นายสามัญฯอยากให้หยุดก็ให้สัญญาณอีกครับเพื่อให้หยุดอิมโพไวซ์เล่นเข้าเล่นเพลงที่กำหนดเอาไว้แล้วโดยนายสามัญฯจะกำหนดให้เสียงแต่ละเสียงเล่นบทเพลงจนจบ
จากคุณ :
jazzez
- [
27 ส.ค. 48 19:22:44
]