ความคิดเห็นที่ 1
ดนตรีแจ๊ส เป็นดนตรีรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยกลุ่มอเมริกัน ผิวดำเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้น อเมริกันผิวดำกลุ่มนี้เชื่อว่าเป็นกลุ่มที่มีชาติพันธุ์อัฟริกันจึงเรียกขานว่า Afro American หมายถึง อเมริกันที่มีปู่ ย่า ตา ทวดมาจากทวีปอัฟริกา
อัฟริกาเป็นทวีปที่มีความเก่าแก่มากมีวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและหลากหลายโดยเฉพาะ วัฒนธรรมด้านดนตรี มีข้อมูลสนับสนุนมากมายที่อาจกล่าวได้ว่า ดนตรีเป็นชีวิตจิตใจของชาว อัฟริกันทั้งปวง เช่น การใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือสื่อสารถึงพระเจ้า ใช้ดนตรีประกอบการทำงานที่ เรียกขานกันว่า Work Song อันจะทำให้บรรยากาศในการทำงานดีขึ้น ลดความตึงเครียด เพิ่ม ความพร้อมเพรียง ตลอดจนการใช้ดนตรีในงานเทศกาลประเพณี งานรื่นเริงทั้งหลายที่พิเศษกว่า แหล่งอื่น ๆ ก็คือการใช้ดนตรีเป็นภาษาที่สื่อสารกันได้ในชีวิตประจำวัน วัฒนธรรมดนตรีจึงฝังตรึง อยู่ในจิตวิญญาณของชาวอัฟริกาอย่างแนบแน่น (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 : 187)
ดนตรีของอัฟริกาแถบตะวันตกที่เป็นต้นกำเนิดของดนตรีแจ๊สมีลักษณะการสร้างสรรค์ แบบการด้นสดหรืออิมโพรไวเซชั่น (Improvisation) การเน้นที่จังหวะกลองและจังหวะที่ซับซ้อน นอกจากนี้ลักษณะที่เรียกว่า การโต้ตอบหรือ Call and respond เป็นลักษณะของเพลงแถบอัฟริกา ตะวันตก ซึ่งพบได้ในเพลงแจ๊สคือการร้องโต้ตอบของนักร้องเดี่ยวกับกลุ่มนักร้องประสานเสียง
ดนตรีแจ๊สเกิดจากพวกทาสนิโกรที่นิวออร์ลีนหลังจากที่นโปเลียนขายนิวออร์ลีนให้ อเมริกาก็มีการอพยพเข้าเมืองจึงทำให้เมืองนี้ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ รวมถึงสเปน ฝรั่งเศส และอังกฤษด้วย พวกนิโกรดังกล่าวพอว่างจากงานก็มาชุมนุมร้องรำทำเพลงกันโดย ใช้เครื่อง ดนตรีที่ทำเป็นกลองตี พวกที่คิดแจ๊สขึ้นสันนิษฐานว่า เป็นพวกกองโก (Gongoes) พวกนี้บูชา งูใหญ่เป็นพวกที่มีจิตใจเมตตากรุณาและสุภาพที่สุดโดยได้รากฐานจากเพลงสวดของพวกนิโกร (Negrospiritual) ซึ่งแต่งขึ้นก่อนพวกทาสได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ
เพลงพื้นเมืองของคนผิวดำ เป็นเพลงที่แสดงอารมณ์ลึกซึ้งได้อย่างชัดเจน มีลีลาที่ พัฒนามาจากเพลงประกอบพิธีทางศาสนาของคนผิวดำและเพลงลูกทุ่งตะวันตก เพลงพื้นเมืองของ คนผิวดำนี้เรียกว่า เพลงบูลส์ (Blues) เพลงบลูส์เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนา เพลงแจ๊ส
ดนตรีอีกรูปแบบหนึ่งที่มีอิทธิพลและมีความสัมพันธ์กับดนตรีแจ๊สอย่างมากคือ วงดนตรีแบบอเมริกัน (American band tradition) และแรกไทม์ (Ragtime) ซึ่งได้รับความนิยม ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 มีอิทธิพลต่อรูปแบบและจังหวะของดนตรีแจ๊ส ในยุคแรก ซึ่งในช่วงนี้แจ๊สเริ่มพัฒนารูปแบบขึ้นมาจากวงดนตรีแบบอเมริกัน แรกไทม์ และบลูส์ ศูนย์กลางดนตรีแจ๊สในช่วงแรกนี้อยู่ ณ เมืองนิวออร์ลีน (ประสิทธ์ เลียวสิริพงศ์, 2533 :30) Back to the top
พัฒนาการของดนตรีแจ๊ส นักดนตรีแจ๊สในยุคแรก ๆ มักเล่นโดยอาศัยหูและสัญชาติญาณเพราะน้อยคนที่จะอ่าน โน้ตได้ แต่พวกเขามีความสามารถในการเล่นแบบด้นสด (Improvisation) โดยมีทำนองหลักของ เพลงเป็นหลักอยู่ในใจ การเล่นด้นสดนี้นับเป็นหัวใจของดนตรีแจ๊สทีเดียว เป็นองค์ประกอบให้ ดนตรีเกิดความสดมีชีวิตชีวาและทำให้บรรเลงเพลงเดียวกันแตกต่างกันไปทุกครั้งที่บรรเลง
ระหว่าง ปี 1930 ถึง 1940 นับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ดนตรีแจ๊ส เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าง เห็นได้ชัด กลุ่มศิลปินต่างพยายามที่จะผลักดันแนวดนตรีในรูปแบบใหม่ ๆ เข้ามาผสมผสานกับ ดนตรีแจ๊ส Back to the top
แรกไทม์ (Ragtime) เป็นดนตรีที่นิยมกันในช่วงระหว่าง 1890-1915 ลักษณะของแรกไทม์คือดนตรีสำหรับ เปียโนที่ใช้จังหวะขัดเป็นหลัก เป็นเพลงในอัตราจังหวะ2/4 หรือจังหวะมาร์ช ในขณะที่การบรรเลง เปียโนโดยมือขวาเป็นแนวทำนองที่ใช้จังหวะขัดมือซ้ายจะรักษาจังหวะตบในลักษณะของเพลง มาร์ชผู้ที่จัดเป็นราชาเพลงแรกไทม์ คือ สกอต จ๊อปลิน (Scott Joplin) เพลงที่ได้รับความนิยม เช่น เพลง Maple Leaf Rag Back to the top
บลูส์ (Blues) คำว่า บลูส์ มีหลายความหมาย ดังนี้ 1. ความเศร้า ความเหงา หรือเพลงที่มีจุดประสงค์เพื่อให้ฟังแล้วมีความรู้สึกเศร้า 2. เป็นลำนำแห่งบทกวี 3. เป็นเพลงที่มีจังหวะช้า ฟังแล้วหดหู่ เพลงแบบหยาบ ๆ 4. มีรูปแบบเฉพาะของทางคอร์ดมักดำเนินไปรวม 12 ห้อง ซึ่งเดาทางคอร์ดล่วงหน้าได้ ที่ห้องที่ห้า ห้องที่เจ็ด ห้องที่เก้า และห้องที่สิบเอ็ด (ประทักษ์ ใฝ่ศุภการ, 2537 : 56)
บลูส์เป็นดนตรีที่เริ่มรู้จักกันในราว 1890 ลักษณะสำคัญคือการใช้เสียงร้องหรือเสียงของ เครื่องดนตรีที่เพี้ยนจากเสียงในบันไดเสียงซึ่งเรียกว่า เบนท์ หรือ บลูโน้ต และการสไลด์เสียง ปกติ เพลงบลูส์เป็นเพลงในอัตราจังหวะ 4/4 ใน 1 วรรคจะมี 12 ห้องเพลง การร้องแต่ละวรรคจะมีแบบ อิมโพรไวเซชั่นไปจากทำนองเดิม เช่นเดียวกับการบรรเลงโดยเครื่องดนตรี แบสซี สมิธ (Bessie Smith) เป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจากการร้องเพลงบลูส์ โดยเฉพาะเพลง Lost Your Head Blues และ Put it Right There Back to the top ในช่วงเวลาปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ดนตรีแจ๊ส เริ่มพัฒนารูปแบบขึ้นมาจากดนตรีของอัฟริกา วงดนตรีแบบอเมริกัน แรกไทม์และบลูส์ดังกล่าวแล้ว ศูนย์กลางดนตรีแจ๊สในช่วงแรกนี้อยู่ ณ เมืองนิวออร์ลีน ซึ่งเป็นช่วงเวลาประมาณ 1900 ถึง 1917
ดนตรีแจ๊สที่เมืองนิวออร์ลีนที่รู้จักในนามของดิกซีแลนด์ ลักษณะดนตรีแจ๊สแบบดิกซีแลนด์ประกอบด้วยผู้เล่นประมาณ 5-8 คน เครื่องดนตรีที่เล่นทำนอง ได้แก่ คอร์เนต หรือทรัมเปต โดยมีคลาริเนตและ ทรอมโบนเล่นประกอบในลักษณะของการสอดประสานทำนอง ในระยะต่อมามีการเพิ่มแซกโซโฟน เข้าไปในวงด้วย ส่วนเครื่องประกอบทำนองให้น่าสนใจได้แก่ กลองชุด เปียโน แบนโจ กีตาร์ หรือ ทูบา การบรรเลงใช้แบบอิมโพรไวเซชั่นโดยตลอด โดยทำแนวทำนองมาจากเพลงมาร์ช เพลง สวด แรกไทม์ หรือเพลงป๊อป นักดนตรีเด่น ๆ ของดนตรีแจ๊สประเภทนี้ประกอบด้วย Jelly Roll Morton, Joseph King Oliver และLouisArmstrong เพลงเด่นเช่น Dippermouth Blues, When the Saint Go Marching In เป็นต้น Back to the top สวิงเป็นแจ๊สที่พัฒนาในช่วงระหว่างทศวรรษที่ 30 หรือประมาณ ค.ศ. 1920 เป็นที่นิยม อย่างมากในช่วง 1935-1945 ซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นยุคสวิง คำว่าสวิงในที่นี้เป็นประเภทของดนตรีแจ๊ส เป็นดนตรีประเภททั้งฟังก็ได้ใช้ประกอบการเต้นก็ได้ ผสมผสานกันระหว่างความร้อนแรงกับความ นุ่มนวลอ่อนหวานเป็นการนำเอาดนตรีที่มีพื้นฐานจากแจ๊สมาบวกเข้ากับดนตรีประเภท ป๊อป
สวิงบรรเลงโดยวงขนาดใหญ่กว่าดิกซีแลนด์ เรียกว่า บิกแบนด์ (Big Band)กล่าวคือ ใช้ผู้บรรเลงประมาณ 14-20 คน แบ่งผู้บรรเลงออกเป็น 3 ส่วนคือ แซกโซโฟน และคลาริเนต ปกติ แซกโซโฟนจะมีจำนวนมากกว่าคลาริเนต กลุ่มนี้มีผู้บรรเลงประมาณ 3-5 คน กลุ่มเครื่องลมทอง เหลือง ประกอบด้วยผู้บรรเลงทรัมเปตและทรอมโบนกลุ่มละ 3-4 คน และ กลุ่มเครื่องประกอบ จังหวะ ได้แก่ เปียโน กีตาร์ เบส และกลองชุด เนื่องจากมีผู้บรรเลงหลายคน อิมโพรไวเซชั่นบาง ครั้งปฏิบัติได้ยาก จึงมีวงดนตรีบางวงเขียนโน้ตให้นักดนตรีบรรเลงโดยตลอด ในขณะที่บางวงเว้น บางช่วงให้นักดนตรีอิมโพรไวเซชั่นได้บ้างมากน้อยตามความต้องการของ ผู้ประพันธ์เพลงหรือ หัวหน้าวงดนตรีซึ่งมักเป็นนักดนตรีชั้นเยี่ยม
การบรรเลงดนตรีสวิงมักเน้นที่แนวทำนองโดยใส่เสียงประสานให้ทำนองเด่นขึ้นมา ซึ่งผู้บรรเลงเป็นกลุ่มเครื่องดนตรีทั้งกลุ่ม ส่วนเครื่องดนตรีเดี่ยวจะบรรเลงเป็นช่วง ๆ โดยบรรเลง ตามโน้ตหรือแบบอิมโพรไวเซชั่นลักษณะการบรรเลงประกอบทำนอง โดยเป็นแนวประสานซ้ำ ๆ กันเป็นช่วง ๆ เป็นลักษณะเด่นของสวิงซึ่งเรียกว่า ริฟฟส์ (Riffs) การประสานเสียงของสวิงมี กฎเกณฑ์และหลากหลายมากกว่าแจ๊สในยุคแรก (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :190)
นักดนตรีที่มีชื่อเสียงมักเป็นเจ้าของวงดนตรีด้วย ได้แก่ Duke Ellington, Count Basic, Glenn Miller, Jimmy Dorsey และ Benny Goodman ซึ่งได้รับสมญาว่า ราชาเพลงสวิง นักร้องที่มีชื่อเสียงเช่น Doris Day, Frank Sinata, Billy Holiday , Ella Fitzgerald ในต้นทศวรรษ 1940 ดนตรีแจ๊ส ประเภทใหม่พัฒนาขึ้นมา คือ บีบอป (Be-bop) เป็น ดนตรีที่ต่อต้านดนตรีประเภทสวิงซึ่งเป็นดนตรีสำหรับการเต้นรำ เน้นไปทางด้านการโฆษณาหรือ การค้าจนเกินไป และเป็นดนตรีที่มีการเรียบเรียงเสียงประสานไว้ ไม่ค่อยใช้การอิมโพรไวเซชั่น บีบอปจึงเป็นดนตรีที่มีลักษณะของโครงสร้างซับซ้อนทั้งทางด้านทำนองการประสานเสียง จังหวะ ที่แปลก ๆ ไม่เป็นไปตามปกติ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ฟังตั้งใจฟังเพลงอย่างจริงจังมากกว่าการใช้เพลง เป็นการประกอบการเต้นรำ
บีบอป อาจเป็นชื่อที่ได้มาจากการร้องโน้ตสองตัวเร็ว ๆ ซึ่งมักอยู่ช่วงจบของวรรค ว่า บีบอป ผู้เดี่ยวดนตรีมักจะเป็นผู้เป่าแซกโซโฟนหรือทรัมเปต โดยมีกลุ่มให้จังหวะ คือ เปียโน เบส กลองและเครื่องตีอื่น ๆ ซึ่งเป็นวงไม่ใหญ่โตมากนัก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีเดี่ยวที่บรรเลงทำนอง หรือกลุ่มเครื่องทำจังหวะ จะเน้นจังหวะในที่ต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ใด ๆ ทั้งสิ้น เรียกว่า บอมบ์ ทำให้กลุ่มเครื่องทำจังหวะมีบทบาทมากขึ้นกว่าดนตรีแจ๊สประเภทแรก ๆ ที่ทำหน้าที่เป็น เพียงการบรรเลงจังหวะที่เป็นรูปแบบตามอัตราจังหวะเท่านั้น
การประสานเสียงเพลงประเภทบีบอปมักเริ่มต้นและจบด้วยทำนองหลักซึ่งบรรเลงโดย เครื่องดนตรีเดี่ยวหนึ่งหรือสองชิ้น ส่วนที่เหลือในช่วงกลางทั้งหมด จะเป็นการบรรเลงของเครื่อง ดนตรีเดี่ยวชนิดต่าง ๆ โดยการอิมโพรไวเซชั่นจากโครงสร้างของทำนองหรือการประสานเสียง บทเพลงที่บรรเลงมีทั้งการนำทำนองจากเพลงที่มีอยู่แล้วมาบรรเลง และการประพันธ์ขึ้นมาใหม่ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงประกอบด้วย Charlie Bird Parker (Saxophone), Dizzy Gillespie (Trumpet), และ Thelonious Monk (piano) ในช่วงปลายของทศวรรษ 1940 และต้นทศวรรษ 1950 แจ๊สอีกประเภทหนึ่งพัฒนาตาม บีบอปขึ้นมา คือ คูลแจ๊ส (Cool jazz) แต่มีความนุ่มนวลอัตราช้ากว่าบีบอป ท่วงทำนองจังหวะ ตลอดจนการบรรเลงของคูลแจ๊สฟังดูสบายเรียบ ๆ และเป็นเพลงที่มีความยาวกว่าบีบอป เป็นเพลง ที่มีการเรียบเรียงเสียงประสานไว้ก่อนการบรรเลงและมักใช้เครื่องดนตรีที่แตกต่างไปจากแจ๊สยุค ก่อน ๆ เช่น ฮอร์น ฟลูต และเชลโล นักดนตรีที่มีชื่อเสียงประกอบด้วย ซอนนี โรลลินส์ (Sonny Rollins) จอห์น โคลเทรน (John Coltrane) ไมลส์ เดวิส (Miles Davis) บีบี คิงส์ (B.B.King) เลสเตอร์ ยัง (lesterYoung) และสแตน เกตซ์ (Stan Getz)
จากคุณ :
neoheart
- [
28 ส.ค. 48 12:01:09
]
|
|
|