CafeTech-ExchangePantip MarketChatPantownBlogGangTorakhongGameRoom


    เรื่องว่าด้วยอภิมหาปรัชญาเกี่ยวกับความสุนทรียะทางอารมณ์

    ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า สุนทรียะกันก่อน   คำๆนี่ได้มาจากคำภาษาอังกฤษที่ยืมมาจาก กรีก-โรมมัน คือ (Aesthetic)  แปลเป็นภาษาไทยโดยนักปราชญ์คือท่านเจ้าคุณ อนุมานราชธน บัญญัติเอาไว้คือคำว่า (สุนทรียศาสตร์)  และเมื่อทำความเข้าใจกันสุนทรียะโดยวิสัยทางธรรมชาติว่าเป็นอะไรคืออะไร
    ธรรมชาติได้สร้างสรรพสิ่งต่างๆเอาไว้อย่างน่าอัศจรร อยู่ในตัวของมันเองเช่นสร้างนกตัวผู้บางชนิดให้มีสีสรรฉูดฉาด สวยสดเพื่อล่อตาล่อใจนกกลุ่มเดียวกัน    ธรรมชาติก็สร้างให้สัตว์บางชนิดมีเสียงร้องที่ ช่างไพเราะเพราะพริ้ง เพื่อเรียกความสนใจเมื่อได้ยินได้ฟัง   ธรรมชาติก็สร้างให้สัตว์บางชนิดให้มีรูปร่างกล้ามเนื้อ
    ที่สวยงาม ปราดเปรียว ว่องไว กำยำมีเสน่ห์เมื่อมองเห็น  และธรรมชาติก็ได้สร้างให้สัตว์บางชนิดสามารถรับรู้รสกลิ่นได้อย่างแม่นยำเช่น สุนัข     นั้นคือธรรมชาติได้สร้างหนักที่เป็นศาสตร์แห่งความสุนทรียะที่ว่าด้วยปราสาทสัมผัส  รูป-รส-กลิ่น-เสียง   ตามวิสัยของธรรมชาติแต่นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างเอาไว้ เมื่อเราจะนำมาเปรียบเทียบกับสัตว์โลกอีกชนิดที่เรียกว่าสัตว์ประเสริฐ ที่สามารถสร้างสุนทรียะ ได้เองทั้ง รูป-รส-กลิ่น-เสียง
    เราจะเห็นความแตกต่างระหว่างสัตว์เดรัชฉานกับสัตว์ประเสริฐได้อย่างชัดเจน  ก็คือสัตว์ประเสริฐอย่างมนุษย์นั้น มีความสามารถที่ไต่ระดับอารมณ์แห่งสุนทรี อย่าง รูป-รส-กลิ่น-เสียง   ให้มีระดับที่สูงขึ้นไป เรียกภาษาของการไต่ระดับ หรือการปรับปรุงระดับนี้ว่า “รสนิยม”   มนุษย์เราสามารถยกระดับของอารมณ์ที่สัมผัส โดยการฝึกฝนให้มีรสนิยมที่สูงขึ้นไป เป็นความงดงามที่สัมผัสจับต้องได้ ซึ่งความงดงามที่สัมผัสจับต้องได้นี้ แปรรูปมาอยู่ในงานเกือบทุกๆแขนง ทุกประเภทในงานศิลป  งานดนตรี  งานเขียนหนังสือและวรรณกรรม หรืองานทางด้านศาสนาฯลฯ และเรียกสิ่งเหล่านั้นว่ามันคือ -   “พื้นฐานของความเจริญของมวลมนุษย์”

    จะเห็นว่านักปราชญ์แห่งหลักสุนทรียศาสตร์ บางท่านกล่าวฟันธงเอาไว้อย่างน่าตกใจเลยทีเดียว เราอาจจะกล่าวอย่างง่ายๆว่ามันคือ ศาสตร์อันลึกซึ้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนาการทางจิตใจของมนุษย์เราๆที่จะต้องศึกษาหาวิธีทางในการปรับปรุงระดับหรือยกระดับให้เป็นคนที่มีรสนิยมเข้าไว้  และจะต้องมีการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ  ทั้งนี้เพื่ออะไรรู้หรือไม่    เพื่อประโยชน์แห่งความผาสุขทางด้านจิตวิญญาณของตัวเราเองไงละ  ซึ่งตัวเราเองเท่านั้นที่สัมผัสได้รับเองไม่สามารถแบ่งปันให้กับคนอื่นๆได้   อย่างที่กล่าวในหัวข้อเบื้องต้นในเรื่อง อภิมหาปรัชญาอารมณ์แห่งสุนทรีย์ มันเป็นศาสตร์ที่เป็นไปได้ทั้งง่ายและยากในตัวของมัน  และยากลำบากยิ่งไม่มีจุดหมายปลายทางว่าจะสิ้นสุดลงง่ายๆตราบเท่าที่เรายังปรับปรุงยังพัฒนายังเปลี่ยนแปลง ระดับของความสุนทรียศาสตร์ตัวนี้เพื่อความสุขทางจิตวิญญาณของเราเอง

    เอาละเราลองมาเข้าเรื่องเฉพาะที่จะคุย เพราะเราจะคุยหลักรสนิยมไปเสียทุกๆตัวลงไม่สนุกเพราะเยอะแยะไปหมด ผมจะคุยเรื่องรสนิยมในทางดนตรี ซึ่งจะรวบรวมทั้งรสนิยมของผู้เล่น ผู้ฟัง  เมื่อกล่าวถึงสุนทรียะทางดนตรีนั้นมนุษย์เรามีการพัฒนาปรับปรุงการไต่ระดับของศาสตร์แขนงนี้มาตลอด นั้นเป็นเหตุให้มีการวิวัฒนาการทางด้านดนตรีในทุกๆยุคทุกๆสมัย  ทั้งผู้ฟังและผู้เล่นทั้งคู่จะต้องมีการปฎิรูปอารมณ์ในเรื่องสุนทรียศาสตร์เพราะหลักง่ายๆเมื่อมีคนเล่นก็ต้องมีคนฟัง   มีคนฟังก็ต้องมีการเล่น ปรับให้ทั้งคู่อยู่ในระดับเดียวกัน  เมื่อรสนิยมทั้งผู้เล่นและผู้ฟังเหมือนกันก็จะแก้ปัญหา ของคำสบประมาทต่างๆ ดังเช่น  หูไม่ถึง
    ต้องปีนกำแพง   ทำเป็นรสนิยมสูง-ต่ำ  ฯลฯ      เพราะฉนั้นการฝึกฝนในเรื่องการยกระดับของรสนิยมทาง จึงมิได้เป็นเรื่องที่ทำกันได้ง่ายๆนัก   เพราะบางครั้งเราเองไม่อาจจะตอบคำถามของความชอบ ว่าทำไมต้องทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้   ทำไมดีใจ    ทำไมเสียใจ    หรือเกิดความกลัว   ได้เป็นต้น เพราะว่ามันเป็นเรื่องทางใจล้วนๆมันก็คือความแตกต่างในรสนิยมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน    

           ถ้าไม่เชื่อก็ตอบคำถามนี้    ทำไมคุณถึงชอบเพลงนั้น     ทำไมคุณถึงเลือกเล่นแต่เพลงแบบนี้  ----- ?

    ........................จบตอนแรกแบบห้วนๆกันก่อนนะครับ ถ้ามีเวลาจะมาเขียนต่อเน้อ.............
    นายสามัญฯ

    จากคุณ : jazzez - [ 21 ต.ค. 48 22:23:27 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป