...ช่วงชีวิตที่่เติบโตมาในจังหวัดที่มีคำขวัญว่าเมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม... ภาษาถิ่นที่คุ้นเคยได้ยินมาแต่เกิดคือภาษาเขมร...เป็นภาษาที่ใช้พูดคุยกันโดยทั่วไป ผู้เฒ่าผู้แก่ลูกเล็กเด็กแดงพูดภาษาเดียวกัน...
เมื่อเจริญวัยขึ้น..เริ่มสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่คืบคลานเข้ามาอย่างเงียบๆ...มาพร้อมกับสิ่งที่เรียกว่า "ความเจริญและการศึกษา"...เด็กรุ่นหลังไม่พูดภาษาเขมรอีกต่อไป ถึงแม้ว่าจะฟังออก..พ่อแม่ที่บ้านก็พูดภาษาไทยกลางกับลูก...การพูดภาษาถิ่นดั้งเดิมในที่ชุมนุมชนกลายเป็นเรื่องน่าอับอาย...ถึงจะพูดไทย " ไม่แข็งแรง" ก็พยายามพูดกันสุดฤทธิ์...ไม้เอก ไ้ม้โท ต้องคอนกระจาดคาดกระบุงตามเก็บกันไม่หวาดไม่ไหวเพราะการออกเสียงสูง ต่ำในภาษาไทยกลางนั้น เป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อคนที่คุ้นชินกับการพูดเขมร....
การจะสังเกตว่าใครมาจากแถบถิ่นแถวนั้น ..ไ่ม่ยาก...พูดเหน่อเสียงแข็งๆ ออกตัว " ร" ชัดเจน แจ่มแจ๋วละก็ให้หมายหัวไว้ก่อนเลย...แกล้งให้ตกใจแล้วอุทานออกมาว่า " อะโย๊ย"..นั่นแหละ เขมรทั้งขี้เลยแหละท่าน...
ถ้าเป็นคนลาว เวลาตกใจ ต่อให้เว้าไทยได้แข็งแรงขนาดไหน ที่เห็นบ่อยนี่จะหลุดคำว่า " เอ๊อะ" ออกมา...สมมุติฐานอันนี้ได้มาจากการชอบแกล้งเพื่อนสมัยเรียน....พูดถึงภาษาลาวแล้วนึกถึงช่วงที่ทำงานกับเอ็นจีโอในไทย ..เคยถูกส่งตัวไปประชุมสัมมนาเรื่องสันติภาพในประเทศลาว....วันสุดท้ายก่อนกลับ ก็มีการเชิญชวนให้ถ่ายรูปร่วมกันไว้เป็นที่ระลึกตามธรรมเนียม...
ขณะที่กำลังสัปปะหงกด้วยความเหนื่อยจากการนั่งประชุมมาทั้งวันอยู่นั้น....ก็สะดุ้งตาเหลือกกับประกาศเชิญชวนเสียงเจื้อยแจ้วของท่านท้าวจากฝั่งลาว..."..ขอเซิ่น อ้ายน่อง(น้อง) จากฝั่งไทย มาแหกตาสามัคคีนำกัน".....ขำกลิ้งแทบตกเก้าอี้...แหกตาก็คือถ่ายรูปนั่นเอง...
ที่เด็ดกว่านั้นเมื่อไปเยี่ยมชมโรงพยาบาล หนึ่งในสถานที่ๆได้แวะด้วยก็คือ "ห้องปาด"...หรือห้องผ่าตัดตามภาษาไทยนั่นแหละ....ไม่ทราบว่าท่านที่ผ่านเข้ามาอ่านมีเรื่องเกี่ยวกับภาษาถิ่นที่ขำๆมาแลกเปลี่ยนกันไหมคะ?
จากคุณ :
แม่ของจิตร
- [
3 พ.ย. 48 05:00:05
]