ความคิดเห็นที่ 18
เราลองมาดูเหตุการณ์สำคัญที่บ่งบอกถึงทิศทาง ตำแหน่งและลักษณะภูมิประเทศ ตามบทประพันธ์ ตอนแงซายจอมจักรา เล่มที่ 21 ณ สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม พอจะสรุปได้ดังนี้ - จุดที่เห็นเนินพระจันทร์เป็นครั้งแรก ถ้ามองย้อนกลับไปทางเก่าจะต้องเห็นเขาครุฑไม่เปลี่ยนลักษณะไปจากเดิม (หน้า 8477) ซึ่งถ้าหันกลับไปดูจะอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้(หน้า 8497) - เทือกเขาพระศิวะ สูงใหญ่เยี่ยมฟ้าเหนือกว่ายอดใดๆทุกยอด เหมือนกำแพงมหายักษ์กั้นขอบจักรวาล แลเห็นขาวมัวระคนเขียวครึ้มอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ มองดูทะมึนค้ำอยู่เหนือหัวศีรษะไม่ห่างไกลออกไปนัก โดยมีบริวารแซมสลับลดหลั่นลงมานับยอดไม่ถ้วน - เนินพระจันทร์จะอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของยอดใจกลางเขาพระศิวะ (หน้า 8478) เมื่อเดินลงมาลักษณะภูมิประเทศจะเป็นเนินสูงต่ำสลับกัน จะมองไม่เห็นภาพ นางนอน (หน้า 8512) - ทางด้านศีรษะของเนินนางนอนจะอยู่ทางด้านทิศเหนือ ส่วนด้านทิศใต้จะเป็นลำขาและปลายเท้า (หน้า 8514,8585) - ทางด้านศีรษะของเนินนางนอนกับทรวงอก จะอยู่ห่างกันไม่เกิน 2 กิโลเมตร (หน้า 8526) - ทีนี้มาดูที่จุดเนินพระจันทร์ เมื่อมองไปทางทิศตะวันตก มีภูเขาเล็กๆแยกตัวออกจากทิวเขาใหญ่อยู่ลูกหนึ่ง ยืนอยู่โดดเดี่ยว ลักษณะสูงชะลูดปลายเรียว อยู่ไม่ห่างออกไปนัก โผล่งอกเด่นตระหง่านอยู่กลางพื้นที่ราบโล่ง ในแผนที่ตั้งชื่อไว้ว่า ศิวะเทพ(หน้า 8585-8586) มีข้อความประกอบว่า ศิวะเทพผู้ประทับพระเนตรนางนิทราอย่างไม่รู้ตื่น - ลักษณะของเขาศิวะเทพ ตามคำพูดของบุญคำ ซึ่งพูดหยอกล้อกับรพินทร์ ว่า ไม่ว่าจะย้ายไปดูทางทิศไหน นายก็เห็นอยู่แล้วว่าเขาหินโด่ ตั้งยอดขึ้นไปข้างบนตรงเผ็งแบบนี้ ถ้าเป็นอวัยวะอย่างอื่นของเทวดาองค์นั้นล่ะก็ไม่แน่ เหมือนเปี๊ยบเลย ฮิ!ฮิ!(ลักษณะจะเหมือนกับศิวลึงค์ นั่นเอง) (หน้า 8633) - บริเวณที่พักของพรานชดกับหนานอิน ตามที่แงซายบอกจะอยู่ไม่เกิน 1 กิโลเมตร ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ จากตำแหน่งเนินพระจันทร์(หน้า 8695) - เมื่อปรากฏการณ์พระศิวะฉายแสงเรืองรองขึ้น ก็พลันปรากฏภูเขาหิมะทลายอยู่ด้านหลัง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ปรากฏเป็นแสงนวลตาเป็น ถันพระอุมาเทวี เพื่อเปิดทางให้กับคณะได้เดินทาง (หน้า 8822) - ระหว่างร่องถันพระอุมาเทวี ในถ้ำเล็กๆแห่งหนึ่ง จะเป็นจุดที่มังมหานรธาได้นอนตายอยู่ที่นี่ เมื่อ 400 ปีก่อน (หน้า 8845)
จากคุณ :
โอจิ (Oji_yoyo)
- [
9 เม.ย. 49 00:34:30
]
|
|
|